เมนู

พอใจ 1 ที่อยู่ด้วยก้นเพราะโภคะ 1 ที่อยู่ด้วยกันเพราะเครื่องนุ่งห่ม 1
ที่ผู้ปกครองเต็มใจยกให้ 1 ที่ชายยกเทริดลงจากศีรษะ 1 ที่เป็นทั้งภรรยา
เป็นทั้งทาส 1 ที่เป็นทั้งภรรยาเป็นทั้งลูกจ้าง 1 ที่เป็นเชลยศึก 1 ที่อยู่
ด้วยกันเพียงครู่เดียว 1.
ส่วนชายอื่น นอกจากสามีของคน ชื่อว่าเป็นอคมนียฐาน (ชาย
ต้องห้าม) สำหรับหญิง 12 จำพวก คือ 2 จำพวกสำหรับหญิงมีอารักขา
และหญิงมีอาชญารอบด้าน และ 10 จำพวกสำหรับภรรยาที่ไถ่มาด้วย
ทรัพย์เป็นต้น ในจำนวนหญิงทั้งหลาย ( 10 จำพวก) สำหรับภรรยา.
อนึ่ง มิจฉาจารนี้นั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะอคมนียฐาน
(ผู้ต้องห้าม) ปราศจากคุณธรรม มีศีลเป็นต้น ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะ
ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม มีศีลธรรมเป็นต้น.
กาเมสุมิจฉาจารนั้น มีองค์ประกอบ 4 อย่าง คือ เป็นบุคคลต้อง
ห้าม 1 จิตคิดจะเสพในบุคคลต้องห้ามนั้น 1 การประกอบการเสพ 1
การยังมรรคให้ดำเนินไปในมรรคหรือหยุดอยู่ 1 ประโยคมีอย่างเดียว คือ
สาหัตถิกประโยคเท่านั้น.

แก้มุสาวาท


กายประโยคหรือวจีประโยค ที่หักรานประโยชน์ (ผู้อื่น) ของผู้
มุ่งจะพูดให้ผิด ชื่อว่า มุสา. เจตนาของผู้พูดให้ผิดต่อผู้อื่น ด้วยประสงค์
จะให้เข้าใจผิด มีกายประโยคและวจีประโยคเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่า มุสาวาท.
อีกนัยหนึ่ง เรื่องไม่จริง ไม่แท้ ชื่อว่า มุสา (เรื่องเท็จ ). การ

ให้ (ผู้อื่น) เข้าใจเรื่องเท็จนั้น ว่าเป็นเรื่องจริง เรื่องแท้ ชื่อว่า วาทะ
(การพูด) แต่โดยลักษณะ เจตนาของผู้ประสงค์จะให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องที่
ไม่จริงว่าเป็นเรื่องจริง อันเป็นสมุฏฐานแห่งวิญญัติ (การเคลื่อนไหว)
อย่างนั้น ชื่อว่า มุสาวาท (การพูดเท็จ ).
มุสาวาทนั้น ชื่อว่า มีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่คนหักรานมี
จำนวนน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะประโยชน์ที่ตนหักรานมีจำนวน
มาก.
อีกอย่างหนึ่ง สำหรับคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปแล้ว โดยนัยมี
อาทิว่า ไม่มีเพราะไม่ประสงค์จะให้ของ ๆ ตน (แก่คนอื่น) มีโทษน้อย
ที่กล่าวเบิกพยานเพื่อหักล้างประโยชน์ (ของคู่ความ) มีโทษมาก, สำหรับ
บรรพชิต มุสาวาทที่เป็นไปแล้ว โดยนัยแห่งบูรณากถา (พูดให้เต็ม
ความหรือเล่นสำนวน) ว่าวันนี้ น้ำมันในบ้านเห็นจะไหลเป็นแม่น้ำนะ
ด้วยความประสงค์จะให้หัวเราะ เพราะได้น้ำมันหรือเนยใสน้อยไป มีโทษ
น้อย แต่ของผู้พูดโดยนัยมีอาทิว่า สิ่งที่ไม่ได้เห็นเลย ว่าได้เห็น มีโทษ
มาก.
มุสาวาทนั้น มีองค์ประกอบ 4 อย่าง คือเรื่องไม่จริง 1 ตั้งใจ
พูดให้ผิด 1 พยายามพูด 1 ผู้อื่นเข้าใจเนื้อความนั้น 1. ประโยคมี
ประโยคเดียว คือสาหัตถิกประโยคเท่านั้น. ประโยคนั้นพึงเห็นว่า ได้แก่
การแสดงกิริยาของผู้จะพูดให้ผิดต่อผู้อื่นด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกาย
หรือด้วยวาจา. ถ้าหากผู้อื่นเข้าใจเนื้อความนั้นด้วยกิริยานั้น กิริยานี้ชื่อว่า
เนื่องด้วยมุสาวาทกรรม ในขณะแห่งเจตนาที่มีกิริยาเป็นสมุฏฐานนั้นเอง.

แก้ปิสุณาวาจา


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปิสุณาวาจา เป็นต้น. วาจาที่เป็นเหตุให้
หัวใจของบุคคลผู้ที่คนพูดด้วย เกิดความรักตนและเกลียดชังคนอื่น ชื่อว่า
ปิสุณาวาจา.
ส่วนวาจาที่เป็นเหตุทำให้ตนเองบ้าง ผู้อื่นบ้าง หยาบคายและวาจา
ที่หยาบคายเอง คือไม่ไพเราะโสต หรือไม่ชื่นใจ (ผู้ฟัง) นี้ชื่อว่า
ผรุสวาจา.
วาทะที่เป็นเหตุให้เจรจาเพ้อเจ้อ คือไร้ประโยชน์ ชื่อว่าสัมผัป-
ปลาป ถึงเจตนาที่เป็นมูลฐานของการกล่าวคำหยาบและคำเพ้อเจ้อเหล่า
นั้น ก็ได้นามว่า ปิสุณาวาจา เป็นต้นอยู่นั่นเอง. และในที่นี้ก็ประสงค์
เอาเจตนานั้นแล.
เจตนาของผู้มีจิตเศร้าหมอง ที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจี-
ประโยค เพื่อทำลายชนเหล่าอื่นหรือเพื่อประสงค์จะทำคนให้เป็นที่รักของ
ผู้อื่น ชื่อว่าปิสุณาวาจาในวจีกรรมนั้น. ปิสุณาวาจานั้น ชื่อว่ามีโทษ
น้อย เพราะผู้ถูกทำให้แตกกันนั้น มีคุณธรรมน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก
เพราะมีคุณธรรมมาก.
ปิสุณาวาจานั้น มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ ผู้ต้องถูกทำลาย
เป็นคนอื่น 1 ความมุ่งหน้าจะทำลายด้วยประสงค์ว่า คนเหล่านี้จักเป็น
ผู้แตกแยกจากกัน ด้วยอุบายอย่างนี้ หรือความประสงค์ว่าเราจักเป็นที่รัก
เป็นที่คุ้นเคย (ของเขา) ด้วยอุบายอย่างนี้ (รวมเป็นองค์) 1 ความ
พยายามที่เกิดจากความตั้งใจนั้น 1 การที่เขาเข้าใจเนื้อความนั้น 1.