เมนู

แก้อทินนาทาน


การถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ ชื่อว่าอทินนาทาน การลักของ ๆ
ผู้อื่น ชื่อว่าเถยยะ อธิบายว่า เป็นกิริยาของโจร.
บทว่า อทินฺนํ ได้แก่ของที่ผู้อื่นหวงแหนซึ่งคนอื่น (เจ้าของ )
เมื่อใช้ตามที่ต้องการ ก็ไม่ควรได้รับทัณฑ์และไม่ควรถูกตำหนิ.
ส่วนเจตนาที่จะลักของผู้มีความสำคัญในของที่ผู้อื่นหวงแหนนั้นว่า
เป็นของที่เขาหวงแหน อันเป็นสมุฏฐานแห่งความพยายามที่จะถือเอาสิ่ง
ของที่เจ้าของไม่ได้ให้นั้น ชื่อว่า อทินนาทาน.
อทินนาทานนั้น มีโทษน้อย ในเพราะสิ่งของ ๆ ผู้อื่นที่เลว ชื่อว่า
มีโทษมาก ในเพราะสิ่งของของผู้อื่นประณีต.
เพราะเหตุไร ?
เพราะว่าเป็นสิ่งของประณีต.
เมื่อมีความเสมอกันแห่งวัตถุ ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะสิ่งของ
ที่มีอยู่ของผู้มีคุณยิ่ง. อทินนาทานนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะสิ่งของ
ที่มีอยู่ของผู้มีคุณต่ำกว่านั้น เพราะเปรียบเทียบกับผู้มีคุณยิ่งนั้น.
อทินนาทานนั้น มีองค์ประกอบ 5 ประการ คือของที่คนอื่นหวง
แหน 1 ความรู้ว่าเป็นของที่คนอื่นหวงแหน 1 จิตคิดจะลัก 1 ความ
พยายาม (จะลัก) 1 ลักของได้มาด้วยความพยายามนั้น 1.
ก็ประโยค ( การประกอบอทินนาทาน) มี 6 อย่าง มีสาหัตถิก-
ประโยค เป็นต้น. ก็ประโยคเหล่านั้นแลเป็นไปแล้ว ด้วยสามารถแห่ง
อวหาร ( การลัก ) เหล่านี้ คือ เถยยาวหาร ( ลักโดยการขโมย ) 1

ปสัยหาวหาร (ลักโดยการกรรโชก) 1 ปฏิจฉันนาวหาร (ลักโดยการ
ปิดช่องสิ่งของ) 1 ปริกัปปาวหาร (ลักโดยการกำหนดสิ่งของหรือเวลา)
1 กุสาวหาร (ลักโดยการสับเปลี่ยน) 1 ข้อความดังที่กล่าวมาแล้วนี้
เป็นข้อความสังเขปในอวหารนี้. ส่วนความพิสดารได้กล่าวไว้แล้วใน
อรรถกถาชื่อสมันตปาสาทิกา.

แก้กาเมสุมิจฉาจาร


ก็บทว่า กาเมสุ ในข้อว่า กาเมสุมิจฺฉาจาโร นี้ ได้แก่ เมถุน-
สมาจาร. ความประพฤติลามกที่บัณฑิตตำหนิโดยส่วนเดียว ชื่อว่า
มิจฉาจาร.
แต่โดยลักษณะเจตนาที่ล่วงเกินอคมนียฐาน (คนที่ต้องห้าม) ที่เป็น
ไปทางกายทวาร ด้วยความประสงค์ต่ออสัทธรรม ชื่อว่า กาเมสุมิจฉาจาร.
ก่อนอื่น (หญิง) ที่ชื่อว่าเป็นอคมนียฐาน (หญิงที่ต้องห้าม)
สำหรับผู้ชายในกาเมสุมิจฉาจารนี้ ได้แก่หญิง 2. จำพวก คือ หญิงที่มี
มารดารักษาเป็นต้น.
หญิง 10 จำพวก คือ หญิงที่มารดารักษา 1 ที่บิดารักษา 1 ที่ตั้ง
มารดาและบิดารักษา 1 ที่พี่ชายน้องชายรักษา 1 ที่ญาติรักษา 1 ที่
โคตรรักษา 1 ที่ธรรมรักษา 1 ที่มีการอารักขา 1 ที่มีอาชญารอบด้าน
(อยู่ในกฎมณเฑียรบาล) 1.
และหญิงอีก 10 จำพวก มีหญิงที่ไถ่มาด้วยทรัพย์เป็นต้นเหล่านี้
คือ ภรรยาที่ซื้อมาด้วยทรัพย์ ( ภรรยาสินไถ่) 1 ที่อยู่ด้วยกันเพราะความ