เมนู

ได้การทำการวิจารณ์ไว้โดยละเอียดแจ่มแจ้งแล้ว ในที่นี้การแสดงนั้น พึง
ทราบตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในที่นี้ทุก ๆ วาระเทอญ. เพราะว่าต่อแต่นี้
ไป ข้าพเจ้าจักทำเพียงการขยายความเฉพาะบทที่ยาก ที่ยังไม่ได้ ( อธิบาย)
เท่านั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในการแสดงโดยพิสดาร ซึ่งปฐมวารในจำนวน
วาระเหล่านั้นก่อน.
ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ปาณาติบาตนั้นแหละคุณ เป็นอกุศล. อกุศล
พึงทราบได้จากความเป็นไปโดยความไม่ฉลาด. อกุศลนั้นพึงทราบโดย
(เป็นธรรม) ทรงกันข้ามกับกุศลที่จะต้องกล่าวข้างหน้า หรือโดยลักษณะ
พึงทราบ (ว่าเป็น) สิ่งที่มีโทษและมีวิบากเป็นทุกข์ เป็นสิ่งที่เศร้าหมอง.
นี้เป็นการขยายบททั่วไปในอกุศลวาระนี้ก่อน.

แก้ปาณาติบาต


ส่วนในบทเฉพาะ (ไม่ทั่วไป) พึงทราบวินิจฉัย

ว่า การยังสัตว์.
ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป ชื่อว่า ปาณาติบาต ได้แก่ การฆ่าสัตว์ที่มีชีวิต
อธิบายว่า การทำลายสัตว์ที่มีชีวิต. ก็คำว่า ปาณะ ในคำว่า ปาณาติปาโต
นี้ โดยโวหาร ได้แก่สัตว์ แต่โดยปรมัตถ์ ได้แก่ชีวิตินทรีย์
ส่วนเจตนาที่จะฆ่าของผู้มีความสำคัญในสัตว์มีชีวิตนั้นว่า เป็นสัตว์
มีชีวิต อันเป็นสมุฏฐานแห่งความพยายามที่จะเข้าไปตัดชีวิตินทรีย์ ที่เป็น
ไปทางกายทวาร หรือวจีทวาร ทวารใดทวารหนึ่ง ชื่อว่า ปาณาติบาต.
ปาณาติบาตนั้น พึงทราบว่า มีโทษน้อย ในเพราะสัตว์มีชีวิต

ตัวเล็ก ในจำนวนสัตว์มีชีวิตทั้งหลาย มีเดียรัจฉานเป็นต้นที่ปราศจากคุณ
แต่พึงทราบว่ามีโทษมาก ในเพราะสัตว์มีชีวิตตัวใหญ่.
เพราะเหตุไร ?
เพราะมีประโยคใหญ่ (มีวิธีการมาก).
แม้เมื่อมีประโยคเสมอกัน ปาณาติบาตพึงทราบว่ามีโทษมาก เพราะ
วัตถุใหญ่ (ตัวใหญ่). ในจำพวกสัตว์ที่มีคุณมีมนุษย์เป็นต้น ในเพราะ.
สัตว์มีคุณน้อย ปาณาติบาตก็พึงทราบว่ามีโทษน้อย ในเพราะสัตว์มีคุณ
มาก ก็พึงทราบว่ามีโทษมาก. แต่เมื่อสรีระและคุณมีความเสมอกัน
ปาณาติบาตพึงทราบว่ามีโทษน้อย เพราะกิเลสและความพยายามอ่อน พึง
ทราบว่ามีโทษมาก เพราะกิเลสและความพยายามแรงกล้า.
ปาณาติบาตนั้นมีองค์ประกอบ 5 คือ สัตว์มีชีวิต 1 ความรู้ว่า
สัตว์มีชีวิต 1 จิตคิดจะฆ่า 1 ความพยายาม (ฆ่า) 1 สัตว์ตายเพราะ
ความพยายามนั้น 1.
ประโยคแห่งการฆ่า มี 6 คือ สาหัตถิกประโยค (ฆ่าด้วยมือของ
ตนเอง ) 1 อาณัตติกประโยค ( ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า) 1 นิสสัคคิยประโยค
(ฆ่าด้วยสาตราวุธที่พุ่งหรือปล่อยออกไป) 1 ถาวรประโยค (ฆ่าด้วย
เครื่องมือดักอยู่กับที่) 1 วิชชามยประโยค (ฆ่าด้วยอำนาจวิชา) 1
อิทธิมยประโยค (ฆ่าด้วยฤทธิ์) 1.
แต่ครั้นจะอธิบายประโยคนี้ให้พิสดารในปฐมวาระนี้ ก็จะยืดยาวไป
มาก เพราะฉะนั้น จะไม่ขออธิบายประโยคนั้นและอย่างอื่นที่เป็นแบบนี้
ให้พิสดาร ส่วนผู้มีความต้องการ พึงตรวจดูสมันตปสาทิกาอรรถกถา
พระวินัยเอาเถิด.

แก้อทินนาทาน


การถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ ชื่อว่าอทินนาทาน การลักของ ๆ
ผู้อื่น ชื่อว่าเถยยะ อธิบายว่า เป็นกิริยาของโจร.
บทว่า อทินฺนํ ได้แก่ของที่ผู้อื่นหวงแหนซึ่งคนอื่น (เจ้าของ )
เมื่อใช้ตามที่ต้องการ ก็ไม่ควรได้รับทัณฑ์และไม่ควรถูกตำหนิ.
ส่วนเจตนาที่จะลักของผู้มีความสำคัญในของที่ผู้อื่นหวงแหนนั้นว่า
เป็นของที่เขาหวงแหน อันเป็นสมุฏฐานแห่งความพยายามที่จะถือเอาสิ่ง
ของที่เจ้าของไม่ได้ให้นั้น ชื่อว่า อทินนาทาน.
อทินนาทานนั้น มีโทษน้อย ในเพราะสิ่งของ ๆ ผู้อื่นที่เลว ชื่อว่า
มีโทษมาก ในเพราะสิ่งของของผู้อื่นประณีต.
เพราะเหตุไร ?
เพราะว่าเป็นสิ่งของประณีต.
เมื่อมีความเสมอกันแห่งวัตถุ ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะสิ่งของ
ที่มีอยู่ของผู้มีคุณยิ่ง. อทินนาทานนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะสิ่งของ
ที่มีอยู่ของผู้มีคุณต่ำกว่านั้น เพราะเปรียบเทียบกับผู้มีคุณยิ่งนั้น.
อทินนาทานนั้น มีองค์ประกอบ 5 ประการ คือของที่คนอื่นหวง
แหน 1 ความรู้ว่าเป็นของที่คนอื่นหวงแหน 1 จิตคิดจะลัก 1 ความ
พยายาม (จะลัก) 1 ลักของได้มาด้วยความพยายามนั้น 1.
ก็ประโยค ( การประกอบอทินนาทาน) มี 6 อย่าง มีสาหัตถิก-
ประโยค เป็นต้น. ก็ประโยคเหล่านั้นแลเป็นไปแล้ว ด้วยสามารถแห่ง
อวหาร ( การลัก ) เหล่านี้ คือ เถยยาวหาร ( ลักโดยการขโมย ) 1