เมนู

ความยึดมั่นด้วยอำนาจวาทะว่าตน 1. เพราะตัณหาเกิด อุปาทานจึงเกิด
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ อริยาษฎางคิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อ
ปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอุปทาน คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
คุณ เมื่อใดแลอริยสาวกรู้ชัดอุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับ
แห่งอุปาทาน และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน เมื่อนั้น
เธอจะละราคานุสัยได้ โดยประการทั้งปวง ฯ ลฯ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบ
ด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ตัณหาวาระ


(121) ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ
(ปริยาย) อย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ ? ฯล ฯ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
ยังคงมีอยู่ คุณ แล้วได้กล่าวไว้ว่า คุณ ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดตัณหา
เหตุเกิดตัณหา ความดับตัณหา และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับตัณหา
เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็น
ตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.
ถามว่า ตัณหาคืออะไรเล่าคุณ ? เหตุให้เกิดตัณหา, ความดับตัณหา,
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับตัณหา คืออะไร ?
ตอบว่า คุณ ตัณหามี 6 หมู่อย่างนี้คือ รูปตัณหา ความทะยาน
อยากในรูป 1 สัททตัณหา ความทะยานอยากในเสียง 1 คันธตัณหา
ความทะยานอยากในกลิ่น 1 รสตัณหา ความทะยานอยากในรส 1

โผฏฐัพพตัณหา ความทะยานอยากในโผฎฐัพพะ 1 ธรรมตัณหา ความ
ทะยานอยากในธรรม 1. เพราะเวทนาเกิด ตัณหาจึงเกิด. เพราะเวทนาดับ
ตัณหาจึงดับ อริยาษฎางคิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ
แห่งตัณหา คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.
คุณ ในกาลใดแล อริยสาวกรู้ชัดตัณหาอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเกิดตัณหา
ความดับตัณหา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งตัณหาอย่างนี้ เมื่อนั้นเธอ
จะละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง ฯล ฯ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ
อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วย
ความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

เวทนาวาระ


( 122) ภิกษุเหล่านั้นกราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ
(ปริยาย ) อย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ ? ฯลฯ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
ยังคงมีอยู่ คุณ แล้วได้กล่าวว่า ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดเวทนา เหตุ
เกิดเวทนา ความดับเวทนา และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับเวทนา
เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง
ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.
ถามว่า เวทนาคืออะไรเล่า คุณ ? เหตุเกิดเวทหา ความดับเวทนา
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับเวทนา คืออะไร ?
ตอบว่า คุณ เวทนามี 6 หมู่ ดังนี้คือ เวทนาเกิดแต่สัมผัสทาง
ตา 1 เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางหู 1 เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางจมูก 1