เมนู

ในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้.
(114) ภิกษุเหล่านั้นพากันชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านพระ
สารีบุตร
ว่าดีแล้ว ใต้เท้า ดังนี้แล้ว ได้กราบเรียนถามปัญหากะท่าน
พระสารีบุตร
สูงขึ้นไปว่า ยังมีอยู่หรือไม่ ใต้เท้า ฯลฯ

สัจจวาระ


(115) ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังมี คุณ แล้วได้กล่าวคำนี้
ว่า คุณ เพราะเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับ
แห่งทุกข์ และรู้ชัดปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์ เพียงเท่านี้แหละ คุณ
อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วย
ความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว
ก็อะไรเล่า คุณ เป็นทุกข์ ? ความเกิดบ้าง เป็นทุกข์ ความแก่บ้าง
เป็นทุกข์ ความตายบ้าง เป็นทุกข์ ความเศร้าโศก คร่ำครวญ ความ
ทุกข์กาย ความเสียใจ ความคับแค้นใจบ้าง เป็นทุกข์ การประจวบกับ
คนหรือสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ การพลัดพลากจากคนหรือสิ่งที่รัก ก็
เป็นทุกข์ แม้ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สมหวัง การไม่ได้สิ่งนั้นสมหวัง ก็เป็น
ทุกข์ โดยย่อ ขันธ์เป็นที่ตั้งอุปาทาน ( ความยึดมั่น) ทั้ง 5 เป็นทุกข์
นี้เรียกว่า ทุกข์ ละ คุณ.
เหตุให้เกิดทุกข์คืออะไรเล่า คุณ ? คือ ตัณหานี้ให้เกิดในภพใหม่
ไปด้วยกันกับความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลิดเพลินยิ่งนัก
ในภพนั้น ๆ คือ กามตัณหา (ความอยากในอารมณ์ที่น่าใคร่) 1

ภวตัณหา (ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ) 1 วิภวตัณหา ( ความอยากไม่
เป็นโน่นเป็นนี่) 1 นี้เรียกว่าเหตุให้เกิดทุกข์ (ทุกขสมุทัย) ละ คุณ.
ความดับทุกข์คืออะไรเล่า คุณ ? คือ ความดับตัณหาทั้ง 3 นั่น
แหละ. เพราะคลายกำหนัดไม่มีเหลือ ความสลัด ความสละคืน ความ
ปล่อย ความไม่มีอาลัยไยดีซึ่งตัณหาทั้ง 3 นั้น นี้เรียกว่า ความดับทุกข์
(ทุกขนิโรธ) ละ คุณ.
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์คืออะไรเล่า คุณ ? คือ อริยาษฎาง-
คิกมรรคนี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ข้อ
ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. ) ละ คุณ.
คุณ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับแห่งทุกข์
และรู้ชัดปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์อย่างนี้ เมื่อนั้นเธอจะละราคานุสัย
บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐิและมานะว่า เรามีอยู่ออกได้ ละอวิชชาได้
โดยประการทั้งปวง ยังวิชชาให้เกิดแล้ว เป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ ใน
ปัจจุบันทีเดียว ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่า มีความเห็น
ถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอน
แคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้ ดังนี้.
(116) ภิกษุเหล่านั้นพากันชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่าน
พระสารีบุตร
ว่า ดีแล้ว ใต้เท้าครับ ดังนี้แล้ว ได้กราบเรียนถามปัญหา
สูงขึ้นไปกะท่านสารีบุตรว่า ใต้เท้าครับ ยังมีอีกหรือไม่ ? เหตุ (ปริยาย)
แม้อย่างอื่นที่จะให้อริยสาวกมีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบ
ด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ชรามรณวาระ


( 117 ) ท่านพระสารีบุตร ได้ตอบว่า ยังมี คุณ แล้วได้กล่าว
คำนี้ ว่า คุณ เพราะเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดชราและมรณะ เหตุเกิดแห่ง
ชราและมรณะ ความดับแห่งชราและมรณะ และรู้ชัดข้อปฏิบัติที่จะให้ถึง
ความดับแห่งชราและมรณะ แม้เพียงเท่านั้นแหละคุณ อริยสาวกชื่อว่า
มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรม
ไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.
ถามว่า ชราและมรณะคืออะไรเล่า คุณ ? เหตุเกิดแห่งชราและ
มรณะ ความดับแห่งชราและมรณะ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชรา
และมรณะคืออะไร ?
ตอบว่า ความแก่แห่งสัตว์เหล่านั้น ๆ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ความ
คร่ำคร่า ฟันหัก ผมหงอก หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ ความ
หง่อมแห่งอินทรีย์ทั้งหลายของสัตว์เหล่านั้น ๆ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ นี้เรียก
ว่า ชรา ( ความแก่ ).
การเคลื่อนที่ การย้ายที่ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ
การแตกทำลาย การสูญหาย การม้วยมรณ์1 การถึงแก่กรรม การแตก
แห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งซากศพ การขาดแห่งชีวิตอินทรีย์ จาก
หมู่สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ (ความตาย).
เพราะชาติเกิด ชราและมรณะจึงเกิด เพราะชาติดับ ชราและมรณะ
จึงดับ.
1. มจฺจุ มรณํ มติของอรรถกถาเห็นว่าเป็นศัพท์ติดกัน จึงแปลโดยไม่แยกกัน.