เมนู

สูงส่งแห่งบุคคลผู้มีวิหิงสา. ในเรื่องนั้น มีการเปรียบเทียบระหว่างอุปมา
กับอุปไมย ดังต่อไปนี้. อกุศลธรรมทั้งหมดนั้นเป็นธรรมให้ถึงความต่ำ
ทรามฉันใด แม้วิหิงสาอย่างเดียวที่เป็นธรรมให้ถึงความต่ำทราม สำหรับ
ผู้มีวิหิงสาก็ฉันนั้น. ส่วนกุศลธรรมทั้งหมด เป็นธรรมให้ถึงความสูงส่ง
ฉันใด แม้อวิหิงสาอย่างเดียวที่เป็นธรรมให้ถึงความสูงส่งสำหรับผู้ไม่มี
วิหิงสาก็ฉันนั้น. ควรเปรียบเทียบอกุศลกับอกุศล และกุศลกับกุศล โดย
อุบายนี้นั้นแหละ. ได้ทราบว่า ในเรื่องนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ :-

เบญจกามคุณคือปลัก


[ 108 ] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงสัลเลขธรรมว่าเป็น
ธรรมให้ถึงความสูงส่งอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงว่า สัลเลข-
ธรรมเป็นธรรมสามารถในการยังกิเลสของเขาให้ดับรอบ (ให้ถึงนิพพาน)
จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า โส วต จุนฺท (ดูก่อนจุนทะ นั้นหนอ).
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส (นั้น) แสดงถึงบุคคลชนิดที่
กล่าวมาแล้ว.
ควรทราบถึงการนำเอาคำอุทเทศนี้ว่า โย ของบทว่า โส นั้น
มาเชื่อนี้กันในทุกบทอย่างนี้ว่า ผู้ใดตนเองจมอยู่ในปลัก ผู้นั้นละหนอ
จุนทะ จักถอนผู้อื่นที่จมปลัก ผู้จนอยู่ในโคลนตมลึก พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า ปลิปปลิปนฺโน (ผู้จมปลัก) แต่ไม่ใช่เรียกในอริยวินัยเลย.
ส่วนในอริยวินัย พระองค์ทรงเรียกเบญจกามคุณว่า ปลิป (ปลัก).
พาลปุถุชน จมลงในเบญจกามคุณนั้น ชื่อว่า ปลิปันนะ (ผู้จมลงใน
เบญจกามคุณ).

เพราะฉะนั้น ควรทราบการประกอบเนื้อความในคำนี้ว่า โส วต
จุนฺท
เป็นต้นนี้ (ต่อไป) ดูก่อนจุนทะ คนลางคน จมลงในโคลนตม(ปลัก) ลึก จนถึงปลายจมูก จักจับมือหรือศีรษะอีกคนหนึ่งที่จมลงใน
โคลนตมนั้นด้วยกันแล้วฉุดขึ้นมา ข้อนี้เป็นเหตุที่เป็นไปไม่ได้ อธิบายว่า
เหตุที่เขาจะช่วยฉุดบุคคลนั้นให้ขึ้นไปยืนอยู่บนบกได้ฉันใด. ผู้ที่จมปลัก
คือเบญจกามคุณด้วยตนเอง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักยกคนอื่นที่จมปลัก
ณ ที่นั้นเหมือนกันขั้นมา เหตุนั้น ข้อนี้ จึงเป็นเหตุที่เป็นไปไม่ได้.
ในเรื่องนั้น พึงมีคำทักท้วงว่า พระพุทธดำรัสนั้นคงไม่ถูกต้อง
เพราะว่าชนทั้งหลาย ได้ฟังธรรมเทศนาของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และ
อุบาสิกาทั้งหลาย ที่ยังเป็นปุถุชนอยู่แล้วได้บรรลุธรรม มีอยู่ทีเดียว
เพราะฉะนั้น ผู้จมปลัก จึงชื่อว่า ยก (ผู้อื่นที่จมปลักด้วยกัน) ขึ้นได้.
ควรวิสัชนาว่า คำนั้น ไม่ควรเห็นอย่างนั้น. ความจริงพระผู้มี -
พระภาคเจ้า
เท่านั้น ทรงยกขึ้นได้ในเรื่องที่ว่านั้น. ส่วนพระธรรมกถึก
ทั้งหลายจะได้รับก็เพียงคำสรรเสริญเท่านั้น เหมือนกับผู้อ่านพระราชหัตถ-
เลขาที่พระราชาทรงส่งไปฉะนั้น. จริงอยู่ พระราชหัตถเลขาที่พระราชา
ทรงส่งไปที่ชนบทชายแดน คนที่นั้นอ่านพระราชหัตถเลขาไม่ออก ก็จะ
ให้คนที่อ่านออกอ่านแล้วพากันฟังเนื้อความพระราชหัตถเลขานั้น น้อม
รับโดยเคารพว่า เป็นพระบรมราชโองการ และเขาเหล่านั้นไม่ได้มีความ
คิดว่า นี้เป็นคำสั่งของผู้อ่าน ส่วนผู้อ่านพระราชหัตถเลขาก็จะได้รับเพียง
คำสรรเสริญเท่านั้นว่า อ่านด้วยถ้อยคำฉาดฉาน ไม่ตะกุกตะกัก ฉันใด.
พระธรรมกถึกทั้งหลาย เริ่มต้นแต่พระสารีบุตร แสดงธรรมได้
ก็จริง ถึงกระนั้น ท่านเหล่านั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือเป็นเหมือนกับ

ผู้อ่านพระราชหัตถเลขา ส่วนพระธรรมเทศนานั้นก็เป็นพระธรรมเทศนา
ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเอง เหมือนกับพระบรมราชโองการ. อนึ่ง
ชนเหล่าใดฟังธรรมเทศนาแล้ว ได้บรรลุธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
เองพึงทราบว่า ทรงยกคนเหล่านั้นขึ้น (ให้พ้นปลัก). ส่วนพระธรรม-
กถึกจะได้ก็เพียงคำสรรเสริญเท่านั้นว่า แสดงธรรมด้วยถ้อยคำฉาดฉาน
ไม่ตะกุกตะกัก เพราะฉะนั้น พระพุทธดำรัสนี้ จึงถูกต้องโดยแท้. ส่วน
ธรรมะที่เป็นฝ่ายขาว พึงทราบโดยบรรยายที่ตรงกันข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว.
อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในคำนี้ว่า อทนฺโต (ผู้ไม่ได้รับฝึก)
อวินีโต (ผู้ไม่ได้รับแนะนำ) อปรินิพฺพุโต (ผู้ดับกิเลสยังไม่ได้) ว่า
ผู้ชื่อว่าไม่ได้รับการฝึก เพราะเป็นผู้ยังไม่หมดพยศ. ผู้ชื่อว่าไม่ได้รับ
แนะนำ เพราะยังไม่ได้ศึกษาวินัย ผู้ชื่อว่าดับกิเลสยังไม่ได้ เพราะยังมี
กิเลสที่ยังดับไม่ได้ คนชนิดนั้น ๆ จักฝึกผู้อื่น คือจักทำให้เขาหมดพยศ
จักแนะนำเขา คือจักให้เขาศึกษาไตรสิกขา หรือจักให้ผู้อื่นดับกิเลส คือ
จักให้กิเลสทั้งหลายของเขาดับไป ข้อที่ว่ามานี้เป็นเหตุที่เป็นไปไม่ได้ แต่
ธรรมะที่เป็นฝ่ายขาว พึงทราบโดยบรรยายที่ตรงกันข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว.
ส่วนอรรถาธิบายในคำนี้ว่า ดูก่อนจุนทะ อวิหิงสามีไว้เพื่อความ
ดับกิเลสของบุรุษ บุคคลผู้มีวิหิงสาก็ฉันนั้นเหมือนกัน พึงทราบอย่างนี้.
เหมือนอย่างว่า ผู้ไม่จมปลัก จักยกผู้อื่นที่ไม่จมปลักขึ้นได้ ผู้ฝึก
แล้วจักฝึกผู้อื่นได้ ผู้ได้รับแนะนำแล้ว จักแนะนำผู้อื่นได้ ผู้ดับกิเลสได้
แล้ว จักดับกิเลสของผู้อื่นได้ ข้อที่ว่ามานี้ จึงเป็นเหตุที่เป็นไปได้.
ถามว่า ก็เหตุนั้นคืออะไร ?
ตอบว่า คือการไม่จมปลัก การฝึกฝนแล้ว การได้รับคำแนะนำ

แล้ว และการดับกิเลสได้แล้วฉันใด ดูก่อนจุนทะ อวิหิงสามีไว้เพื่อดับ
กิเลสของบุรุษบุคคลผู้มีวิหิงสา ฉันนั้นเหมือนกัน.
มีคำอธิบายไว้อย่างไร ?
(มีไว้ว่า) อวิหิงสาของผู้ไม่เบียดเบียนด้วยตน มีไว้เพื่อดับการ
เบียดเบียนผู้อื่น ของผู้ที่มีวิหิงสา เพราะว่าผู้ไม่เบียดเบียนด้วยตนเอง
จักดับเจตนาเครื่องเบียดเบียนของผู้อื่นได้ เพราะฉะนั้น ข้อนั้น จึงเป็น
เหตุที่เป็นไปได้.
ถามว่า เหตุนั้นคืออะไร ?
แก้ว่า เหตุนั้น คือความเป็นผู้ไม่เบียดเบียนนั่นเอง. ด้วยว่า
ผู้ที่บรรลุความไม่เบียดเบียนด้วยตนเอง จึงจะสามารถชักชวนคนอื่นให้
เป็นอย่างนั้นได้.
อีกอย่างหนึ่ง ผู้ไม่จมปลัก ฝึกฝนแล้ว ได้รับแนะนำแล้ว ดับกิเลส
ได้แล้วด้วยตนเอง จักยกผู้อื่นที่จมปลักขึ้นได้ จักฝึกตนที่ยังไม่ได้ฝึก
จักแนะนำคนที่ยังไม่ได้รับแนะนำ และจักยกผู้ดับกิเลสยังไม่ได้ให้ดับกิเลส
ได้ ฉะนั้น ข้อนี้ จึงเป็นเหตุที่เป็นไปได้ ฉันใด อวิหิงสาที่เกิดขึ้นแก่
ผู้เจริญมรรค เพื่อละวิหิงสาก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีไว้เพื่อดับ (วิหิงสา)
ของบุรุษ บุคคลผู้มีวิหิงสา อธิบายว่า อวิหิงสาเจตนา (เจตนาที่ไม่
เบียดเบียน ) จะสามารถดับวิหิงสาเจตนา ( เจตนาคิดเบียดเบียน) ได้
เหมือนกับผู้ดับกิเลสได้แล้ว สามารถยิ่งผู้ดับกิเลสไม่ได้ให้ดับได้ฉันนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงเนื้อความดังที่พรรณนามาอย่างนี้
แล้ว จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า เอวเมว โข จุนฺท (ฉันนั้นเหมือนกันแล
จุนทะ) ฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงเห็นอรรถาธิบายในเรื่องนี้ดังที่พรรณนามา


นี้เถิด. แต่การประกอบเนื้อความ ตามลำดับบทในทุก ๆ บท ไม่ได้ทำ
ไว้เหมือนในบทวิหิงสาและอวิหิงสานี้ เพราะเกรงว่าจะเยิ่นเย้อเกินไป.

บรรยายแห่งสัลเลขธรรม


[109] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงสัลเลขธรรมนั้นว่า
สามารถในการดับกิเลสได้สนิทอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงย้ำพระธรรม-
เทศนานั้นประกอบ (ผู้ฟัง) ในการปฏิบัติธรรม จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า
อิติ โข จุนฺท (ดูก่อนจุนทะ เพราะเหตุดังนี้แล).
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สลฺเลขปริยาโย (บรรยายแห่ง
สัลเลขธรรม) ได้แก่เหตุแห่งสัลเลขธรรม. ในทุกบทก็มีนัยนี้. กุศลธรรม
ทั้งหลายมีอวิหิงสาเป็นต้นนั้นแหละ ในสัลเลขสูตรนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า
เหตุแห่งสัลเลขธรรม เพราะขจัดขัดเกลาอกุศลธรรมมีวิหิงสา1เป็นต้น
ชื่อว่า เป็นเหตุแห่งจิตตุปบาท เพราะจิตที่บุคคลพึงให้เกิดขึ้นด้วยอำนาจ
แห่งอวิหิงสาเป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นเหตุแห่งการหลีกไป เพราะ
เป็นเหตุแห่งการหลีกไปจากวิหิงสาเป็นต้น ชื่อว่า เป็นเหตุแห่งความ
เป็นผู้สูงส่ง เพราะยังความสูงส่งให้สำเร็จ ชื่อว่า เป็นเหตุแห่งการยังกิเลส
ให้ดับได้ เพราะยังวิหิงสาเป็นต้นให้ดับได้.
บทว่า หิเตสินา ความว่า ผู้ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล.
บทว่า อนุกมฺปเกน (ผู้ทรงเอ็นดู) คือผู้ทรงมีพระทัยเอ็นดู.
บทว่า อนุกมฺปํ อุปาทาย (ทรงอาศัยความเอ็นดู) คือทรง
กำหนดความเอ็นดูด้วยพระทัย มีคำอธิบายว่า ทรงอาศัย (ความเอ็นดู)
1. ปาฐะว่า อวิหึสาทีนํ เข้าใจว่า จะเป็น วิหึสาทีนํ จึงได้แปลตามที่เข้าใจ และฉบับพม่า
เป็น....เอว วิหึสาทีนํ.