เมนู

แหละ เช่นกับด้วยทางที่ราบเรียบ และท่าที่ราบรื่น มีไว้เพื่อหลีกคนมี
วิหิงสา ผู้ประกอบด้วยการเบียดเบียน ซึ่งเป็นเช่นกับท่าที่ไม่ราบรื่น.
ความจริง ทางที่ราบเรียบ และท่าน้ำที่ตกแต่งแล้ว มีไว้เพื่อเว้นทางที่ไม่
ราบเรียบ และท่าน้ำที่ไม่ราบรื่น ฉันใด ผู้ปฏิบัติเพื่อต้องการเว้นวิหิงสา
และเพื่อปรับปรุง ( ตน) ด้วยอวิหิงสา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะยื้อยุด
เอาคติมนุษย์หรือคติเทพเจ้า เสวยสมบัติหรือข้ามพ้นโลกได้โดยง่ายดาย.
ทุก ๆ บทควรประกอบโดยทำนองนี้เหมือนกัน.

อโธภาวังคมนียะอุปริภาวังคมนียะ


[107] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงสัลเลขธรรมว่าเป็น
ทางแห่งการประสบประโยชน์เกื้อกูลอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดง
ภาวะที่สัลเลขธรรมให้ถึงความสูงส่ง จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า เสยฺยถาปิ
(แม้ฉันใด) ไว้. คำนั้นมีอรรถาธิบายว่า ดูก่อนจุนทะ เหมือนอย่างว่า
อกุศลธรรมที่ให้เกิดปฏิสนธิ หรือไม่ให้เกิดก็ตาม แม้เมื่อให้ปฏิสนธิแล้ว
จะให้เกิดวิบากหรือไม่ให้เกิดก็ตาม ทั้งหมดนั้นโดยชาติแล้ว จะมีชื่ออย่าง
นี้ว่า อโธภาวังคมนียะ (เป็นธรรมให้ถึงความต่ำทราม) เพราะอกุศล-
ธรรมเหล่านั้น ในเวลาให้วิบากเป็นวิบากที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าพอใจ
ฉันใด ส่วนกุศลธรรมที่ให้เกิดปฏิสนธิ หรือไม่ให้เกิดก็ตาม แม้เมื่อ
ให้ปฏิสนธิแล้วจะให้เกิดวิบาก หรือไม่ให้เกิดก็ตาม ทั้งหมดนั้นโดย
ชาติแล้ว จะมีชื่ออย่างนี้ว่า อุปริภาวังคมนียะ (เป็นธรรมให้ถึงความ
สูงส่ง) เพราะกุศลธรรนเหล่านั้น ในเวลาให้วิบากเป็นวิบากที่น่าปรารถนา
พอใจ ฉันใด. ดูก่อนจุนทะ อวิหิงสาก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีไว้เพื่อความ

สูงส่งแห่งบุคคลผู้มีวิหิงสา. ในเรื่องนั้น มีการเปรียบเทียบระหว่างอุปมา
กับอุปไมย ดังต่อไปนี้. อกุศลธรรมทั้งหมดนั้นเป็นธรรมให้ถึงความต่ำ
ทรามฉันใด แม้วิหิงสาอย่างเดียวที่เป็นธรรมให้ถึงความต่ำทราม สำหรับ
ผู้มีวิหิงสาก็ฉันนั้น. ส่วนกุศลธรรมทั้งหมด เป็นธรรมให้ถึงความสูงส่ง
ฉันใด แม้อวิหิงสาอย่างเดียวที่เป็นธรรมให้ถึงความสูงส่งสำหรับผู้ไม่มี
วิหิงสาก็ฉันนั้น. ควรเปรียบเทียบอกุศลกับอกุศล และกุศลกับกุศล โดย
อุบายนี้นั้นแหละ. ได้ทราบว่า ในเรื่องนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ :-

เบญจกามคุณคือปลัก


[ 108 ] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงสัลเลขธรรมว่าเป็น
ธรรมให้ถึงความสูงส่งอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงว่า สัลเลข-
ธรรมเป็นธรรมสามารถในการยังกิเลสของเขาให้ดับรอบ (ให้ถึงนิพพาน)
จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า โส วต จุนฺท (ดูก่อนจุนทะ นั้นหนอ).
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส (นั้น) แสดงถึงบุคคลชนิดที่
กล่าวมาแล้ว.
ควรทราบถึงการนำเอาคำอุทเทศนี้ว่า โย ของบทว่า โส นั้น
มาเชื่อนี้กันในทุกบทอย่างนี้ว่า ผู้ใดตนเองจมอยู่ในปลัก ผู้นั้นละหนอ
จุนทะ จักถอนผู้อื่นที่จมปลัก ผู้จนอยู่ในโคลนตมลึก พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า ปลิปปลิปนฺโน (ผู้จมปลัก) แต่ไม่ใช่เรียกในอริยวินัยเลย.
ส่วนในอริยวินัย พระองค์ทรงเรียกเบญจกามคุณว่า ปลิป (ปลัก).
พาลปุถุชน จมลงในเบญจกามคุณนั้น ชื่อว่า ปลิปันนะ (ผู้จมลงใน
เบญจกามคุณ).