เมนู

มานะเกิดเพราะปริยัติ


ดังได้สดับมา พราหมณ์ 500 คน เรียนจบไตรเพท ภายหลัง
ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเห็นโทษในกามทั้ง-
หลาย เห็นอานิสงส์ในการออกบวช จึงออกบวชอยู่ในสำนักของพระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ต่อกาลไม่นานเลย ก็เรียนเอาพระพุทธพจน์ทั้งหมด
เพราะอาศัยการศึกษาเล่าเรียน จึงเกิดมานะขึ้นว่า พวกเรารู้พระพุทธพจน์
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้พลันทีเดียว เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
จะไม้ตรัสเรื่องอะไร ๆ นอกเหนือจากลิงค์ 3 บท 4 และวิภัตติ 7
ก็เมื่อพระองค์ตรัสอย่างนี้ ขึ้นชื่อว่าบทที่เป็นเงื่อนงำ (ไม่เข้าใจ) สำหรับ
พวกเราย่อมไม่มี ดังนี้. ภิกษุเหล่านั้น ไม่มีความเคารพในพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
จำเดิมแต่นั้น ก็ไม่ไปอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าบ้าง ไม่ไป
ฟังธรรมเป็นประจำบ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบวารจิตนั้นของ
ภิกษุเหล่านั้น ทรงดำริว่า ภิกษุเหล่านี้ ยังถอนตะปูคือมานะไม่ได้ ก็ไม่
ควรเพื่อทำให้แจ้งมรรค หรือผล ทรงกระทำมานะที่เกิดขึ้น เพราะอาศัย
การเล่าเรียนสุตะของภิกษุเหล่านั้นให้เป็นต้นเหตุเกิดเรื่อง จึงเริ่มการ
แสดงธรรมว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ฉลาดในการแสดงมูลปริยาย-
สูตรแห่งธรรมทั้งปวง เพื่อจะหลักเสียซึ่งมานะ (ของภิกษุเหล่านั้น) ดังนี้.

ความหมายของมูลปริยายสูตรและธรรมมะ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพธมฺมมูลปริยายํ แปลว่า พระ
สูตรว่าด้วยเหตุที่เป็นมูลฐานแห่งธรรมทั้งปวง. บทว่า สพฺเพสํ แปลว่า

ไม่มีส่วนเหลือ จริงอยู่ ศัพท์ว่า สัพพะ นี้ บ่งถึงความไม่มีส่วนเหลือ.
ศัพท์ว่า สัพพ นั้น ย่อมแสดงถึงสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกันไม่ให้เหลือ เหมือน
อย่างในประโยคเป็นต้นว่า รูปทั้งปวงไม่เที่ยง เวทนาทั้งปวงไม่เที่ยง
ในบรรดาธรรมที่เกี่ยวเนื่องในกายของตนทั้งหมด
ดังนี้.
ส่วนศัพท์ว่า ธัมมะ นี้ ย่อมปรากฏในศัพท์เป็นต้นว่า ปริยัตติ
สัจจะ สมาธิ ปัญญา ปกติ สภาวะ สุญญตา ปุญญะ อาปัตติ และ
เญยยะ.
จริงอยู่ ศัพท์ว่า ธัมมะ ย่อมปรากฏในอรรถว่า ปริยัตติ ดังใน
ประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุในพระธรรมวินัย ย่อมเรียนธรรม คือ สุตตะ
เคยยะ
ดังนี้.
ปรากฏในอรรถว่า สัจจะ ตังในประโยคเป็นต้นว่า พระธรรม
อันบัณฑิตเห็นแล้ว คือรู้แล้ว
ดังนี้.
ปรากฏในอรรถว่า สมาธิ ดังในประโยคเป็นต้นว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเหล่านั้น มีธรรมอย่างนี้.

ปรากฏในอรรถว่า ปัญญา ในประโยคเป็นต้นว่า
ดูก่อนพญาวานร ท่านผู้ใดมีธรรม 4 เหล่านี้ คือ
สัจจะ ธรรมะ ธิติ และจาคะ ดุจท่าน ท่านผู้นั้น
ย่อมก้าวล่วง (ไม่ตกอยู่ ) ในอำนาจศัตรู ดังนี้.

ปรากฏในอรรถว่า ปกติ ในประโยคเป็นต้นว่า มีความเกิดเป็น
ธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดา
ดังนี้.
ปรากฏในอรรถว่า สภาวะ ในประโยคเป็นต้นว่า กุศลธรรม
ดังนี้.

ปรากฏในอรรถว่า สุญญตา ในประโยคเป็นต้นว่า ก็ในสมัย
นั้นแล พระธรรมทั้งหลาย ย่อมมี
ดังนี้.
ย่อมปรากฏในอรรถว่า ปุญญะ (บุญ) ในประโยคเป็นต้นว่า
พระธรรมที่ประพฤติดีแล้ว (สะสมไว้ดีแล้ว) ย่อมนำสุขมาให้ ดังนี้.
ย่อมปรากฏในอรรถว่า อาปัตติ ในประโยคเป็นต้นว่า ธรรมทั้ง-
หลายที่เป็นอนิยต 2 ประการ
ดังนี้.
ปรากฏในอรรถว่า เญยยะ ในประโยคเป็นต้นว่า พระธรรมทั้ง -
ปวง ย่อมมาสู่คลอง ในพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยอาการ
ทั้งปวง
ดังนี้.
แต่ในที่นี้ ธัมมะศัพท์นี้ ย่อมเป็นไปในอรรถว่า สภาวะ ในคำ
ว่า ธรรมนั้น มีอรรถพจน์ดังนี้ว่า สภาวะเหล่าใดย่อมทรงไว้ซึ่งลักษณะ
ของตน เหตุนั้น สภาวะเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมะ.
มูล ศัพท์ ท่านกล่าวไว้พิสดารด้วยทีเดียว. แต่ในที่นี้มูลศัพท์นี้
พึงทราบว่า ลงในอรรถว่า เหตุที่ไม่ทั่วไป.
ปริยาย ศัพท์ ย่อมลงในอรรถว่า เทศนา ดังในประโยคเป็นต้น
ว่า ท่านจงจำพระสูตรนั้นว่า มธุปิณฑปริยายสูตร ดังนี้.
ปริยายศัพท์ ลงในอรรถว่า การณะ (เหตุ) ดังในประโยคเป็น
ต้นว่า พระสมณโคดมผู้เป็นอกิริยวาที เพื่อตรัสโดยชอบ พึงตรัส
กะเราโดยเหตุใด ดูก่อนพราหมณ์ เหตุนั้นแล มีอยู่
ดังนี้.
ลงในอรรถว่า วาระ ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนอานนท์
วันนี้เป็นวาระของใครหนอแล เพื่อจะกล่าวสอนนางภิกษุณีทั้งหลาย

ดังนี้.

แต่ในที่นี้ (ปริยายศัพท์นั้น) ย่อมลงสู่ในอรรถว่า การณะบ้าง
เทศนาบ้าง. เพราะฉะนั้น ปริยายศัพท์ ในคำนี้ว่า สพฺพธมฺมมูลปริยายํ
ดังนี้ พึงทราบอย่างนี้ว่า การณะ ที่รู้กันว่า เหตุที่ไม่ทั่วไปแก่ธรรมทั้ง-
ปวง หรือว่าเทศนา คือ การณะ (เหตุ) แห่งธรรมทั้งปวง ดังนี้.
อนึ่ง สภาวธรรมทั้งหลาย แม้ที่เป็นในภูมิ 4 ไม่พึงเข้าใจว่า
ชื่อว่า ธรรมทั้งปวง เพราะเหตุที่สูตรนั้นมีเนื้อความที่จะต้องแนะนำ แต่
สภาวธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3 เท่านั้น ที่นับเนืองในสักกายทิฏฐิ พึงเข้า
ใจว่า ธรรมทั้งปวง โดยไม่มีส่วนเหลือ. ในข้อนี้มีการอธิบายความดังว่า
มานี้แล.

หลักการใช้ โว ศัพท์


โว

ศัพท์ ในบทว่า โว นี้ ย่อมใช้ในปฐมาวิภัตติ ทุติยาวิภัตติ
ตติยาวิภัตติ จตุตถีวิภัตติ ฉัฏฐีวิภัตติ และปทปูรณะ (ทำบทให้เต็ม).
อธิบายว่า
โว ศัพท์ ใช้ในปฐมวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อน
อนุรุทธะ ก็เธอทั้งหลาย ยังเป็นผู้สามัคคี บันเทิงอยู่ ไม่โกรธกัน
อยู่หรือ
ดังนี้.
ใช้ในทุติยาวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงไป เราตถาคตขอประฌามพวกเธอ
ดังนี้.
ใช้ในตติยาวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า อันพวกเธอไม่ควรอยู่
ในสำนักของเราตถาคต
ดังนี้.
ใช้ในจตุตถีวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย