เมนู

เป็นผู้มีความเชื่อ ไม่ตระหนี่ไซร้ ท่านจักต้องไปยัง
แม่น้ำคยาทำไม แม้การดื่มน้ำในแม่น้ำคยาก็จักช่วย
อะไรท่านได้.

สุนทริกพราหมณ์บรรลุพระอรหัต


[99] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สุนทริกภารทวาช -
พราหมณ์
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของ
พระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอก
ทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุดีจักเห็น
รูปดังนี้ ฉันใด พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย
ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม
พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา
อุปสมบทในสำนักของท่านพระโคดมผู้เจริญเถิด สุนทริกภารทวาช-
พราหมณ์
ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็
ท่านพระภารทวาชะครั้นอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่ช้านานเท่าไร ก็ทำให้แจ้ง
ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้มีความ
ต้องการ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง
ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ฉะนั้นแล.
จบ วัตถูปมสูตรที่ 7

อรรถกถาวัตถูปมสูตร1


[91] วัตถูปมสูตร เริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ (ข้าพเจ้าได้สดับมา
แล้วอย่างนี้).
บรรดาคำเหล่านั้น คำนี้ว่า ภิกฺขเว ยถา วตฺถํ ในคำว่า เสยฺยถาปิ
ภิกฺขเว วตฺถํ
เป็นคำอุปมา. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงอุปมา
ในที่ลางแห่งทรงแสดงอุปมาก่อนทีเดียว แล้วจึงทรงแสดงอุปไมย
(เนื้อความ) ในภายหลัง ในที่ลางแห่งทรงแสดงอุปไมยก่อนแล้ว
จึงทรงแสดงอุปมาภายหลัง ในที่ลางแห่งทรงนำข้ออุปมามาแสดงประกอบ
อุปไมย ในที่ลางแห่งทรงนำอุปไมยแสดงประกอบอุปมา. จริงอย่างนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เมื่อจะทรงแสดงเทวทูตสูตรแม้ทั้งสิ้น
ให้เป็นอุปมาก่อน แล้วแสดงอุปไมยในภายหลัง จึงตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือน 2 หลัง มีประตูเดียวกัน คนผู้มีตาดี
ยืนอยู่ตรงกลาง พึงมองเห็นในเรือน 2 หลังนั้นได้ (ตลอด ). อนึ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงอุปไมย (เนื้อความ) ที่เป็น
อิทธิวิธิแม้ทั้งสิ้นก่อนแล้วแสดงอุปมาในภายหลัง จึงตรัสโดยนัยเป็นต้น
ว่า ผู้มีฤทธิ์ย่อมเดินทะลุออกนอกฝา นอกกำแพง นอกภูเขา เปรียบ
เหมือนเดินไปในอากาศ (ที่ว่าง) ฉะนั้น.
เมื่อจะทรงเอาอุปมามาล้อม (แสดงประกอบ) อุปไมย จึงได้
ตรัสจุลลสาโรปมสูตรแม้ทั้งสิ้นโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบ
1. อรรถกถาเรียก วัตถสูตร.