เมนู

จึงเป็นผ้าหมดจดผ่องใส อีกอย่างหนึ่ง ทองคำอาศัยเบ้าหลอมที่ทำทอง
ให้บริสุทธิ์ จึงเป็นทองบริสุทธิ์ผ่องใส ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล มีศีล
อย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ ถึงแม้จะฉันบิณฑบาตข้าวสาลี
ปราศจากเมล็ดดำ มีแกงมีกับมิใช่น้อย การฉันบิณฑบาตของภิกษุนั้น
ก็ไม่มีอันตรายเลย.
[97] ภิกษุนั้นมีใจประกอบด้วยเมตตา ประกอบด้วยกรุณา
ประกอบด้วยมุทิตา ประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ 2
ทิศที่ 3 ทิศที่ 4 ก็เหมือนกันมีใจประกอบด้วยเมตตาประกอบด้วยกรุณา
ประกอบด้วยมุทิตา ประกอบด้วยอุเบกขา อันไพบูลย์เป็นมหัคคตะ ไม่
มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังทิศเบื้องบน เบื้องต่ำ
ด้านขวาง ทั่วโลกทั้งสิ้น โดยเป็นผู้หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั่วหน้า ในที่
ทุกแห่ง ด้วยประการฉะนี้ เธอย่อมรู้ชัดว่า สิ่งนี้มีอยู่ สิ่งที่เลวทรามมี
อยู่ สิ่งที่ประณีตมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องสลัดออกที่ยิ่งแห่งสัญญานี้มีอยู่
เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสาวะ แม้จากภวาสวะ
แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า
เป็นผู้สรงสนานแล้วด้วยเครื่องสนานอันเป็นภายใน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาสุภาษิต


[98] ก็โดยสมัยนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์นั่งอยู่ไม่ไกล
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดมจะ

เสด็จไปยังแม่น้ำพาหุกาเพื่อจะสรงสนานหรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์ จะมีประโยชน์อะไรด้วยแม่น้ำพาหุกาเล่า แม่น้ำ
พาหุกาจักทำประโยชน์อะไรได้.
สุ. ท่านพระโคดม แม่น้ำพาหุกา ชนเป็นอันมากยอนรับว่าให้
ความบริสุทธิ์ได้ ท่านพระโคดม แม่น้ำพาหุกา ชนเป็นอันมากยอมรับ
ว่าเป็นบุญ อนึ่ง ชนเป็นอันมาก พากันไปลอยบาปกรรมที่ตนทำแล้ว
ในแม่น้ำพาหุกา.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะสุนทริกภารทวาชพราหมณ์
ด้วยพระคาถาทั้งหลายว่า
คนพาล มีบาปกรรม มุ่งไปยังแม่น้ำพาหุกา ท่าน้ำ
อธิกักกะ แม่น้ำคยา แม่น้ำสุนทริกา แม่น้ำสรัสสดี
ท่าน้ำปยาคะ และแม่น้ำพาหุมดี แม้เป็นนิตย์ ก็
บริสุทธิ์ไม่ได้ แม่น้ำสุนทริกา ท่าน้ำปยาคะ หรือ
แม่น้ำพาหุกา จักทำอะไรได้ จะชำระนรชนผู้มีเวร
ทำกรรมอันหยาบช้า ผู้มีกรรมอันเป็นบาปนั้น ให้
บริสุทธิ์ไม่ได้เลย สำหรับบุคคลผู้หมดจดแล้วจะ
ประสบผัคคุณฤกษ์ทุกเมื่อ สำหรับบุคคลผู้หมดจด
แล้วรักษาอุโบสถทุกเมื่อ วัตรของบุคคลผู้หมดจดแล้ว
มีการงานอันสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ ดูก่อน
พราหมณ์ ท่านจงสนามในคำสอนของเรานี้เถิด จง
ทำความเกษมในสัตว์ทั้งปวงเถิด ถ้าท่านไม่กล่าว
คำเท็จไม่เบียดเบียนสัตว์ ไม่ถือเอาวัตถุที่เขาไม่ให้

เป็นผู้มีความเชื่อ ไม่ตระหนี่ไซร้ ท่านจักต้องไปยัง
แม่น้ำคยาทำไม แม้การดื่มน้ำในแม่น้ำคยาก็จักช่วย
อะไรท่านได้.

สุนทริกพราหมณ์บรรลุพระอรหัต


[99] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สุนทริกภารทวาช -
พราหมณ์
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของ
พระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอก
ทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุดีจักเห็น
รูปดังนี้ ฉันใด พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย
ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม
พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา
อุปสมบทในสำนักของท่านพระโคดมผู้เจริญเถิด สุนทริกภารทวาช-
พราหมณ์
ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็
ท่านพระภารทวาชะครั้นอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่ช้านานเท่าไร ก็ทำให้แจ้ง
ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้มีความ
ต้องการ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง
ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ฉะนั้นแล.
จบ วัตถูปมสูตรที่ 7