เมนู

วาระที่ 5.
ความจริง ภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ย่อมอดกลั้น คือ
ย่อมครอบงำ ได้แก่ย่อมย่ำยีความกลัวและความขลาดนั้นตั้งอยู่ เหมือน
พระมหาทัตตเถระชาวอริยโกฏิยวิหาร.

เทวดาไล่พระ


ได้ยินว่า พระเถระดำเนินไปในหนทาง ได้พบราวป่าอันเป็นที่ตั้ง
แห่งความเลื่อมใสแห่งใดแห่งหนึ่ง จึงคิดว่า วันนี้เราจักบำเพ็ญสมณ-
ธรรมในที่นี้แล้วจึงจะไป ดังนี้แล้ว จึงออกไปจากทางปูลาดผ้าสังฆาฏิ
แล้วนั่งขัดสมาธิใกล้โคนต้นไม้แห่งใดแห่งหนึ่ง.
เด็ก ๆ ของรุกขเทวดา ไม่สามารถที่จะดำรงอยู่ตามสภาวะของตน
ได้ ด้วยเดชแห่งศีลของพระเถระ จึงร้องจ้าขึ้น. เเม้เทวดาเองก็เขย่า
ต้นไม้ทุกต้น พระเถระนั่งไม่ไหวติง เทวดานั้นจึงบังหวนควันให้ไฟลุก
โพลงขึ้น (แม้ถึงอย่างนั้น) ก็ไม่สามารถที่จะทำให้พระเถระไหวติงได้.
ต่อแต่นั้นเทวดาจึงแปลงเพศเป็นอุบาสก เดินมาไหว้พระเถระแล้ว
ได้ยืนอยู่ ถูกพระเถระถามว่าใครนั่น จึงได้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ กระผม
เป็นเทวดาที่สถิตอยู่ที่ต้นไม้นี้ พระเถระถามว่า ท่านได้ทำสิ่งประหลาด
นั้นหรือ ? เทวดาตอบว่า ใช่ครับ. ก็เทวดานั้น พอถูกพระเถระถามว่า
เพราะเหตุไรท่านจึงทำ ? จึงตอบว่า ท่านผู้เจริญ ด้วยเดชแห่งศีลของ
ท่านนั้นแล พวกเด็กๆ ไม่สามารถที่จะดำรงอยู่ตามภาวะของตนได้ จึง
ได้พากันส่งเสียงร้องจ้า กระผมนั้นได้ทำอย่างนี้เพื่อ (ประสงค์) จะให้
ท่านหนีไปเสีย. พระเถระถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรท่านจึง

(ประสงค์) จะให้เราหนีไป ? เทวดาตอบว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านอย่า
อยู่ในที่นี้เลย. กระผมไม่มีความสุขเลยดังนี้ พระเถระจึงกล่าวว่า ท่าน
ทำไมไม่บอกเราก่อน แต่บัดนี้ท่านอย่าพูดอะไรเลย เรารู้สึกละอายต่อ
ถ้อยคำที่คนจะพูดว่า พระอริยโกฏิยมหาทัตตะ หลีกหนีไป เพราะกลัว
ต่ออมนุษย์ ฉะนั้น เราจะอยู่ในที่นี้แหละ แต่ในวันนี้เพียงวันเดียว ท่าน
จงอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง (ก่อน) เถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณมีศีล
เป็นต้น ย่อมเป็นผู้อดทนต่อภัยที่น่ากลัวได้ ฉะนั้น ภิกษุแม้ปรารถนาให้
ตนเป็นเช่นนี้ พึงเป็นผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ดังนี้.

ความหวังที่ 7


[80] พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ 7 ต่อไป
จิตอันบริสุทธิ์ผ่องใส พระองค์ตรัสเรียกว่า อภิจิต ในคำว่า
อาภิเจตสิกานํ. อีกอย่างหนึ่ง จิตอันยิ่ง พระองค์ตรัสเรียกว่า อภิจิตร,
ฌานทั้งหลายอันบังเกิดขึ้นในอภิจิต ชื่ออาภิเจตสิก อีกอย่างหนึ่ง ฌาน
ทั้งหลาย อันอาศัยอภิจิต ฉะนั้น ฌานทั้งหลายเหล่านั้นจึงชื่อว่า อาภิ-
เจตสิก.
บทว่า ทิฏฺฐธมฺมสุขวิหารานํ ความว่า ซึ่งการอยู่เป็นสุขในทิฏฐ-
ธรรม. อัตภาพที่เห็นได้ โดยประจักษ์ เรียกว่า ทิฏฐธรรม อธิบายว่า
เป็นการอยู่อย่างเป็นสุขในทิฏฐธรรมนั้น.
คำว่า ทิฏฺฐธมฺมสุขวิหารานํ เป็นชื่อของรูปาวจรฌาน. ความจริง