เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงผ่อนคลายความปวดเมื่อยจาก
อิริยาบถหนึ่งด้วยอิริยาบถหนึ่ง ย่อมทรงบริหาร คือยังทรงอัตภาพให้
เป็นไปมิให้ทรุดโทรม. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ประทับอยู่ ดังนี้.

ที่มาของป่าสุภควัน


ในบทว่า สุภควเน นี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้. ป่าชื่อว่า
สุภคะ เพราะถึงความงาม อธิบายว่า เพราะสง่างาม และเพราะมีสิ่งที่
พึงประสงค์สวยงาม. ก็เพราะความสวยงามของป่านั้น ผู้คนทั้งหลายจึง
พากัน ถือเอาข้าวและน้ำเป็นต้น ไปดื่มกินเที่ยวเล่นสนุกสนานอยู่ในป่านั้น
นั่นแลตลอดทั้งวัน และปรารถนาสิ่งที่เขาปรารถนาดี ๆ ในที่นั้นว่า
ขอเราทั้งหลายจงได้ลูกชายลูกหญิงเถิด และสิ่งที่พึงปรารถนานั้นเขาก็ได้
สมปรารถนาทีเดียว ป่านั้นชื่อว่า สุภคะ เพราะสง่างาม และเพราะมี
สิ่งที่พึงประสงค์สวยงาม ดังพรรณนามานี้. อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า สุภคะ
แม้เพราะคนส่วนมากติดใจ ชื่อว่า วนะ (ป่า) เพราะอรรถว่า สัตว์
ทั้งหลายชอบใจ คือทำให้สัตว์ทั้งหลายรักใคร่ด้วยคุณสมบัติของตัวมันเอง
อธิบายว่า ให้เกิดความน่ารักในตัวเอง ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วนะ (ป่า) เพราะเรียกหา อธิบายว่า
เหมือนเรียกร้องปวงสัตว์ด้วยเสียงร้องของนก มีนกโกกิลาเป็นต้น ที่
เพลิดเพลินอยู่กับกลิ่นดอกไม้นานาพรรณ และด้วยกิ่งก้านค่าคบใบแก่
ใบอ่อนของต้นไม้ที่สั่นไหว เพราะต้องลมอ่อนว่า มาเถิด มากินมาใช้
กันเถิด. ป่านั้นด้วย ถึงความงามด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่า สุภควัน. ใน
ป่าสุภควันนั้น. ธรรมดาป่า มี 2 ชนิด คือ ป่าลูก และป่าเกิดเอง.

ในป่า 2 ชนิดนั้น ป่าปลูก ได้แก่ป่าเวฬุวัน และป่าเชตวันเป็นต้น
ป่าเกิดเอง ได้แก่ป่าอันธวัน ป่ามหาวัน และป่าอัญชนวันเป็นต้น.
ป่าสุภควัน แม้นี้ พึงทราบว่า เป็นป่าเกิดเอง.
แม้ต้นรัง ในคำนี้ว่า สาลราชมูเล ท่านก็เรียกว่า ต้นสาละ.
สมดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ป่าสาลวัน
ใหญ่ ไม่ไกลบ้านหรือนิคม และป่าสาลวันใหญ่นั้นก็ดาดาษไปด้วย
ต้นละหุ่ง
และตรัสว่า ระหว่างนางรังทั้งคู่. แม้ต้นไม้โตที่สุด ท่านก็
เรียกว่า ต้นไม้เจ้าป่า. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ในภาคพื้นพระราชอุทยาน
ในแว่นแคว้นของพระองค์ มีต้นไม้ใหญ่หลายต้น
มีค่าคบตรง เขียวชอุ่ม น่ารื่นรมย์
.
ถึงแม้ว่าต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่ง ก็เรียกต้นไม้เจ้าป่าได้. สมดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล
เมล็ดเถาย่านทราย พึงหล่นไปที่โคนต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่ง
ดังนี้เป็นต้น.
แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอาต้นไม่ใหญ่ที่สุด ชื่อว่า ต้นไม่เจ้าป่า.

อธิบาย ราช ศัพท์


ส่วน ราชศัพท์ แห่งบทว่า สาลราชมูเล นั้น ย่อมยังต้นไม้
นั้นนั่นเทียวให้สำเร็จความเป็นต้นไม้ใหญ่ที่สุด อย่างประโยคเป็นต้นว่า
ดูก่อนพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ก็. . .แห่งต้นไทรใหญ่ที่ยืนต้นอย่าง
มั่นคง
แม้ในที่อื่น. ในคำว่า สาลราชมูเล นั้น แยกออกเป็นสมาส
2 อย่าง (ฉัฏฐีตัปปุริสสมาสว่า) สาลานํ ราชา (ราชาแห่งต้นไม้