เมนู

มีพระวรกายเสมอก้อนเพชร เสด็จปรินิพพานแล้วด้วยประโยชน์อะไรอื่น
ที่พวกเธอพึงยังความหวังในชีวิตใช้เกิดขึ้นและยังความอุตสาหะของชนนั้น
ให้เกิดขึ้นในพระสัทธรรม.
อนึ่ง พระเถระเมื่อกล่าวว่า เอวํ ย่อมแสดงไขถึงสมบัติคือเทศนา.
เมื่อกล่าวว่า เม สุตํ ย่อมแสดงไขถึงสาวกสมบัติ. เมื่อกล่าว เอกํ
สมยํ
ย่อมแสดงไขถึงกาลสมบัติ. เมื่อกล่าวว่า ภควา ย่อมแสดงไขถึง
เทสกสมบัติ.

ที่มาของชื่อเมืองอุกกัฏฐา


คำว่า อุกฺกา ในคำว่า อุกฺกฏฺฐายํ วิหรติ นี้ หมายเอาดวง
ประทีป และเมืองนั้นเขาเรียกว่า อุกกัฏฐา เพราะชาวเมืองพากันชู
คบเพลิง สร้างแม้ในเวลากลางคืนด้วยหวังว่า วันมงคล ขณะดี ฤกษ์ดี
อย่าเลยไปเสีย. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เพราะเมืองนั้นพวกชาวเมืองจุด
ประทีปมีด้ามส่องให้สร้าง. ใกล้เมืองชื่ออุกกัฏฐานั้น. บทว่า "อุกฺกฏฺ-
ฐายํ"
เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถว่า ใกล้. บทว่า วิหรติ นี้ เป็น
คำแสดงการถึงการพร้อมเพรียงแห่งการอยู่ ในบรรดาการอยู่ด้วยการผัด
เปลี่ยนอิริยาบถ การอยู่อย่างเทพ, การอยู่อย่างพรหม และการอยู่อย่างพระ
อริยะ อย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ต่างกัน. แต่ในที่นี้ เป็นการแสดงการ
ประกอบด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอิริยาบถ (ทั้ง 4) คือ
ยืน เดิน นั่ง และนอน.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนก็ดี เสด็จดำเนิน
ก็ดี ประทับนั่งก็ดี บรรทมก็ดี ก็พึงทราบว่า ประทับอยู่ทั้งนั้น. จริงอยู่