เมนู

ในการถึงสรณะ 2 อย่างนั้น การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะย่อมเศร้า.
หมองด้วยเหตุทั้งหลายมีความไม่รู้ ความสงสัย และความรู้ ( ความเข้าใจ)
ผิดเป็นต้นในพระรัตนตรัย เป็นการถึงสรณะที่ไม่มีความรุ่งเรื่องมาก
ไม่กว้างไกลมาก. (ส่วน) การถึงสรณะที่เป็นโลกุตตระไม่มีความเศร้า-
หมอง.
การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะมีการหมดสภาพอยู่ 2 อย่างคือ การหมด
สภาพ (เภโท) แบบมีโทษ 1 การหมดสภาพแบบไม่มีโทษ 1. ในการ
หมดสภาพทั้งสองนั้น การหมดสภาพแบบมีโทษย่อมมีด้วยเหตุทั้งหลาย
มีการมอบตนในศาสดาอื่นเป็นต้น การหมดสภาพแบบนั้นมีผลไม่น่า
ปรารถนา. การหมดสภาพแบบไม่มีโทษในเพราะการทำกาลกิริยา การ
หมดสภาพแบบนั้นไม่มีผลเพราะไม่มีวิบาก. แต่การถึงสรณะแบบโลกุตตระ
ไม่มีการหมดสภาพเลย. จริงอยู่ พระอริยสาวก (คายแล้วไปเกิด )
แม้ในภพอื่นก็จะไม่ยอมยกย่องคนอื่นว่าเป็นศาสดา ( แทนพระพุทธเจ้า).
พึงทราบความเศร้าหมอง และการหมดสภาพของการถึงสรณะดังพรรณนา
นาฉะนี้.

อุบาสก


บทว่า อุปาสกํ มํ ภวํ โคตโม ธาเรตุ ความว่า ขอพระโคดม
ผู้เจริญจงจำ อธิบายว่า จงรู้จักข้าพเจ้าอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นอุบาสก.
ก็ในที่นี้เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในวิธีแสดงตนเป็นอุบาสกจึงควรทราบ
ข้อปลีกย่อยนี้ว่า อุบาสกคือใคร ? เพราะเหตุไร จึงเรียกว่า อุบาสก ?

อุบาสกนั้นมีศีลเป็นอย่างไร ? มีอาชีพเป็นอย่างไร ? มีวิบัติเป็น
อย่างไร ? มีสมบัติเป็นอย่างไร ?

ในข้อปลีกย่อยเหล่านั้น ที่ว่า อุบาสกคืออะไร ? ได้แก่ คฤหัสถ์
คนใดคนหนึ่งผู้ถึงไตรสรณะ. สมจริงดังพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
ดังนี้ว่า ดูก่อนมหานาม เมื่อใดแลอุบาสกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม
(และ) พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ดูก่อนมหานาม บุคคลย่อมเป็นอุบาสก
ด้วยอาการเท่านี้แล.
ที่ว่า เพราะเหตุไร จึงเรียกว่า อุบาสก ? ได้แก่ เพราะเข้า
ไปนั่งใกล้พระรัตนตรัย. จริงอยู่บุคคลนั้น ชื่อว่า อุบาสก เพราะเข้าไป
นั่งใกล้พระพุทธเจ้า พระธรรม ( และ ) พระสงฆ์.
ที่ว่า อุบาสกนั้นมีศีลเป็นอย่างไร ? ได้แก่ เจตนาเป็นเครื่อง
งดเว้น 5 อย่าง. สมจริงดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนมหานาม
เมื่อใดแล อุบาสกเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาท จากอทินนาทาน จาก
กาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท ( และ ) จากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความ
ประมาท คือน้ำเมา อันได้แก่สุราและเมรัย ดูก่อนมหานาม อุบาสก
ย่อมเป็นผู้มีศีลด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
ที่ว่า มีอาชีพเป็นอย่างไร ? ได้แก่ การละการค้าขายผิด 5 อย่าง
แล้วเลี้ยงชีวิตโดยชอบธรรม สมจริงดังพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย 5 อย่างเหล่านี้ อันอุบาสกไม่ควร
ทำ 5 อย่างมีอะไรบ้าง คือ การค้าขายศัสตราวุธ 1 การค้าขายสัตว์ 1
การค้าขายเนื้อ 1 การค้าขายน้ำเมา 1 การค้าขายยาพิษ 1 ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย การค้าขาย 5 อย่างนี้แล อุบาสกไม่ควรทำ.

ที่ว่า มีวิบัติเป็นอย่างไร ? ได้แก่ ความวิบัติแห่งศีลและอาชีวะ
ของอุบาสกนั้นนั่นแลอันใด อันนี้เป็นความวิบัติของอุบาสกนั้น. อีกอย่าง
หนึ่ง อุบาสกนั้นเป็นคนจัณฑาลและเศร้าหมองด้วยมลทินต่าง ๆ ด้วย
วิบัติอันใด แม้วิบัตินั้นก็พึงทราบว่า เป็นวิบัติของอุบาสกนั้น ๆ. และ
ความเป็นคนจัณฑาลนั้น เมื่อว่าโดยความหมาย ก็ได้แก่ธรรม 5
ประการมีความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น. เหมือนดังที่พระพุทธเจ้าตรัส
ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม 5 อย่างย่อมเป็น
อุบาสกจัณฑาล เป็นอุบาสกมีมลทิน เป็นอุบาสกมีความเศร้าหมองและ
เป็นอุบาสกต่ำช้า. ธรรม 5 ประการอะไรบ้าง (คือ) เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
(ในพระรัตนตรัย) 1 เป็นคนทุศีล 1 เป็นคนถือมงคลตื่นข่าว คือ
เชื่อมงคล ( ฤกษ์, ยาม ) ไม่เชื่อกรรม 1 แสวงหาทักขิไณยบุคคล
นอกจากศาสนานี้ (พุทธศาสนา ) 1 บำเพ็ญกุศลในศาสนานั้น 1.
ที่ว่า มีสมบัติเป็นอย่างไร ? ได้แก่ ความถึงพร้อมด้วยศีลและ
ความถึงพร้อมด้วยอาชีวะของอุบาสกนั้นชื่อว่า สมบัติ. อนึ่ง ธรรม 5
ประการมีศรัทธาในพระรัตนตรัยเป็นต้นของอุบาสกนั้นเหล่าใด ธรรม
5 ประการเหล่านั้นชื่อว่า สมบัติ. เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม 5 อย่างย่อมเป็นอุบาสก
แก้ว เป็นอุบาสกดอกปทุม และเป็นอุบาสกดอกบุณฑริก. ธรรม 5 อย่าง
มีอะไรบ้าง ( คือ ) เป็นผู้มีศรัทธา ( ในพระรัตนตรัย ) 1 เป็นผู้มีศีล 1
เป็นคนไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือ เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล 1 ไม่แสวงหา
ทักขิไณยบุคคลนอกพุทธศาสนานี้ 1 บำเพ็ญกุศลในพุทธศาสนานี้ 1.

ความหมายของ "อัคคะ" ศัพท์


อัคคะ

ศัพท์นี้ในคำว่า อชฺชตคฺเค นี้ ย่อมใช้ในอรรถว่า เบื้องต้น
(อาทิ) เบื้องปลาย (โกฏิ) ส่วน (โกฏฺฐาส)
และประเสริฐที่สุด
(เสฏฺฐ)
ก็อัคคะ ศัพท์ใช้ในอรรถว่า
- เบื้องต้น ( เช่น ) ในประโยคเป็นต้นว่า แน่ะนายประตูเพื่อนรัก
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปข้าพเจ้าขอปิดประตูสำหรับพวกนิครนถ์.
- เบื้องปลาย ( เช่น ) ในประโยคเป็นต้นว่า บุคคลพึงลูบคลำ
ยอดอ้อย ยอดไผ่ ด้วยปลายนิ้วมือนั้นแล.
- ส่วน (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราตถาคตอนุญาตให้แบ่งจากส่วนสิ่งของที่มีรสเปรี้ยว ที่มีรสหวาน หรือ
ส่วนสิ่งของที่มีรสขมตามส่วนวิหารหรือตามส่วนบริเวณ.
- ประเสริฐที่สุด (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายจำนวนเท่าใดที่ไม่มีเท้าก็ตาม ฯลฯ พระตถาคต
บัณฑิตกล่าวว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุดของสัตว์เหล่านั้น.
- แต่ในที่นี้ อัคคะ ศัพท์นี้พึงเห็นว่า ลงในอรรถว่า เบื้องต้น.
เพราะฉะนั้น ในคำว่า อชฺชตคฺเค นี้ พึงเห็นความหมายอย่างนี้ว่า เริ่ม
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
- บทว่า อชฺชตํ ได้แก่ อชฺชภาวํ (แปลว่า ความในวันนี้).
บาลีว่า อชฺชทคฺเค ดังนี้ก็มี. ท อักษร (เป็นอาคม) ทำหน้าที่เชื่อม
บท ( ระหว่าง อชฺช กับ อคฺเค ). แปลว่า เริ่มต้นตั้งแต่วันนี้.
- บทว่า ปาณุเปตํ แปลว่า เข้าถึงด้วยชีวิต. อธิบายว่า ขอพระโคดม