เมนู

พระธรรมขันธ์ทั้งหมดที่ทรงจำแนกไว้เป็นพระไตรปิฎก.
ที่ชื่อว่า สังฆะ (สงฆ์) เพราะหมายความว่า รวมกันด้วยเครื่อง
รวมคือทิฏฐิและศีล. สงฆ์นั้น เมื่อว่าโดยความหมาย คือหมู่พระอริย-
บุคคล 8 จำพวก. สมจริงดังคำที่เทพบุตรกล่าวไว้ในคัมภีร์วิมานวัตถุนั้น
เองว่า
ก็บัณฑิตกล่าวทานที่บุคคลถวายแล้วในบุคคล 4 คู่
เหล่าใด ซึ่งเป็นคู่บุคคลที่สะอาด บุคคล 4 คู่เหล่านั้น
คือบุคคล 8 จำพวก ซึ่งเป็นผู้เห็นธรรม ขอท่านจง
เข้าถึงพระสงฆ์นี้เพื่อเป็นที่ระลึกที่พึ่งเถิด.

หมู่แห่งภิกษุทั้งหลายชื่อว่า ภิกษุสงฆ์. พราหมณ์ได้ประกาศการ
ถึงสรณะทั้ง 3 ด้วยถ้อยคำมีเพียงเท่านี้.

สรณคมน์


บัดนี้ เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในสรณคมน์เหล่านั้นจึงควรทราบวิธีนี้
คือ สรณะ การถึงสรณะ ผู้ถึงสรณะ ประเภทแห่งการถึงสรณะ ผลแห่ง
การถึงสรณะ สังกิเลส (ความเศร้าหมอง ) และเภทะ ( ความหมด
สภาพ).
ถามว่า วิธีนี้มีความหมายเป็นอย่างไรบ้าง ?
ตอบว่า ควรทราบความหมายโดยความหมายเฉพาะบทก่อน. ที่ชื่อ
ว่า สรณะ เพราะหมายความว่า เบียดเบียน อธิบายว่า ย่อมกำจัด คือ
ทำความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความทุกข์ กิเลสที่เป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติ

ของบุคคลผู้ถึงสรณะให้พินาศไปด้วยการถึงสรณะนั้นแล. คำว่า สรณะ
นั่นเป็นชื่อเรียกพระรัตนตรัย.
อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า พุทธะ เพราะหมายความว่า ขจัดซึ่งภัย
ของสัตว์ทั้งหลายโดยทำสัตว์ทั้งหลายให้เป็นไปในประโยชน์เกื้อกูลและถอย
กลับจากสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล.
ที่ชื่อว่า ธรรม เพราะทำสัตว์ทั้งหลายให้ช่วยข้ามพ้นจากกันดาร
คือภพและเพราะให้ความเบาใจแก่สัตว์ทั้งหลาย ที่ชื่อว่า สงฆ์ เพราะ
ทำสักการะทั้งหลายแม้เป็นของน้อยค่าให้ได้รับผลอันไพบูลย์ เพราะฉะนั้น
พระรัตนตรัยจึงชื่อว่า สรณะ โดยบรรยายนี้ด้วย.
จิตตุปบาท (ความเกิดความคิดขึ้น) ที่มีกิเลสอันถูกขจัดแล้วด้วย
ความเป็นผู้เคารพเลื่อมใสในสรณะนั้น อันเป็นไปโดยอาการที่มีความ
เคารพเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนั้นเป็นเบื้องหน้า ชื่อว่า สรณคมน์.
สัตว์ผู้พรั่งพร้อมด้วยสรณคมน์นั้น ชื่อว่า ถึงสรณะ. อธิบายว่า
ย่อมเข้าถึงรัตนะทั้ง 3 เหล่านี้ว่าเป็นสรณะ (ที่ระลึก ที่พึ่ง) ว่าเป็น
ปรายนะ (เครื่องนำทาง) ด้วยจิตตุปบาทมีประการดังกล่าวแล้ว. นักศึกษา
พึงทราบ สรณะ การถึงสรณะ และผู้ถึงสรณะ ทั้ง 3 อย่างนี้ก่อน.

ประเภทแห่งการถึงสรณะ


ส่วนในประเภทแห่งการถึงสรณะ (การถึงสรณะมีกี่ประเภท)
พึงทราบอธิบายต่อไป. การถึงสรณะมี 2 คือ การถึงสรณะที่เป็น
โลกุตตระ 1 การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะ 1. ในสองอย่างนั้น การถึงสรณะ
ที่เป็นโลกุตตระของบุคคลผู้เห็นสัจจะแล้ว เมื่อว่าโดยอารมณ์ย่อมมีนิพพาน
เป็นอารมณ์ เมื่อว่าโดยกิจย่อมสำเร็จได้ในพระรัตนตรัยแม้ทั้งสิ้น เพราะ