เมนู

รู้อยู่ ). ความแปลกกันมีอยู่เท่านี้. คำที่เหลือเหมือนกับที่ได้กล่าวไว้แล้ว
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเลยทีเดียว.
ก็ในกถานี้ บทว่า วิชฺชา ได้แก่วิชชา คือทิพยจักษุญาณ.
บทว่า อวิชฺชา ได้แก่อวิชชาที่ปกปิดจุติและปฏิสนธิของสัตว์
ทั้งหลาย. คำที่เหลือเหมือนกับที่กล่าวมาแล้วทีเดียว.
ก็เพราะเหตุที่พระมหาสัตว์ทั้งหลายได้บำเพ็ญบารมีมาแล้ว จึงไม่มี
ความจำเป็นต้องทำบริกรรม เพราะว่าท่านเหล่านั้นพอน้อมจิตไปเท่านั้น
ก็จะระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในกาลก่อนได้มากมาย จะเห็นสัตว์ทั้งหลาย
ด้วยทิพยจักษุ ฉะนั้น วิธีเจริญวิชชาเหล่านั้นเริ่มต้นตั้งแต่ทำบริกรรม
ที่กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้น จึงไม่จำเป็นต้องนำมาแสดงไว้
ในที่นี้.

กถาว่าด้วยอาสวักขยญาณ


[50] ในวิชชาที่ 3 พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้ :-
ในคำว่า โส เอวํ สนาหิเต จิตฺเต เราตถาคตนั้น เมื่อจิต
ตั้งมั่นอย่างนี้แล้ว จิตที่ตั้งมั่นพึงทราบว่า คือจตุตถฌานอันเป็นพื้นฐาน
สำหรับเจริญวิปัสสนา.
บทว่า อาสวานํ ขยญาณาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่อรหัตต-
มรรคญาณ. แท้จริงอรหัตตมรรคเรียกว่า ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะทำอาสวะให้พินาศ และญาณนี้ย่อมมีในอรหัตตมรรคนั้น
เพราะนับเนื่องในอรหัตตมรรคนั้น
สองบทว่า จิตฺตํ อภินินฺนาเมสึ คือน้อมจิตที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนา
ไป.

ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า โส อิทํ ทุกฺขํ นักศึกษาพึงทราบความหมาย
อย่างนี้ว่า เราตถาคตได้ทราบคือรู้ ได้แก่แทงตลอดซึ่งทุกขสัจแม้
ทั้งหมดว่า ทุกข์มีจำนวนเท่านี้ ไม่มียิ่งไปกว่านี้ ตามความเป็นจริง
ด้วยการแทงตลอดลักษณะที่แท้จริง ได้ทราบ คือได้รู้ ได้แก่แทงตลอด
ซึ่งตัณหาที่ยังทุกข์นั้นให้เกิดว่า นี้เป็นทุกขสมุทัย ได้ทราบ คือได้รู้
ได้แก่แทงตลอดซึ่งที่ที่ทุกข์และสมุทัยทั้ง 2 มาถึงแล้วดับไป ได้แก่
นิพพานอันเป็นแดนที่ทุกข์และสมุทัยทั่ง 2 นั้นไม่เป็นไป ว่านี้เป็น
ทุกขนิโรธ ได้ทราบ คือได้รู้ ได้แก่แทงตลอดซึ่งอริยมรรคที่ให้บรรลุ
นิพพานนั้น ว่านี้เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ตามความเป็นจริงว่า
ด้วยการแทงตลอดลักษณะที่แท้จริง.

มรรค - ผล - ปัจจเวกขณญาณ


ครั้นทรงแสดงสัจจะทั้งหลายโดยสรูปอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะ
ทรงแสดงสัจจะทั้งหลาย โดยอ้อมด้วยอำนาจกิเลส พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสคำว่า อิเม อาสวา ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า ตสฺส เม เอวํ ชานโต เอวํ ปสฺสโต แปลว่า เมื่อ
เราตถาคตนั้นรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้. (ด้วยคำนี้ ) พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า
ตรัสถึงมรรคที่ถึงที่สุดพร้อมทั้งวิปัสสนา.
บทว่า กามาสวา แปลว่า จากกามาสวะ. ด้วยบทว่า หลุดพ้นแล้ว นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงขณะแห่งผล. เพราะว่าจิตกำลังหลุดพ้นใน