เมนู

ความสุข (อื่น) ที่ยิ่งไปกว่าความสุขที่เกิดจากผลสมาบัตินั้น. สมด้วย
คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า สมาธินี้อำนวยความสุขที่เป็น
ปัจจุบันให้และยังมีความสุขเป็นวิบากต่อไป.

ปฏิปทาเครื่องบรรลุอสัมโมหวิหาร


พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นทรงแสดงการอยู่อย่างไม่งมงาย ( อสมฺ-
โมหวิหารํ)
ของพระองค์ ซึ่งมีการได้บรรลุคุณแห่งพุทธะเป็นที่สุดดัง
พรรณนามาฉะนั้นแล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาเป็นเหตุให้บรรลุ
การอยู่อย่างไม่งมงายอันถึงที่สุดแล้วนั้นตั้งแต่เวลาเริ่มต้น จึงตรัสคำว่า
อารทฺธํ โข ปน เม พฺราหฺมณ ดังนี้เป็นต้น.
ฝ่ายอาจารย์บางพวกกล่าวว่า พราหมณ์ได้สดับการอยู่อย่างไม่งมงาย
นี้แล้ว ได้เกิดความคิดขึ้นมาอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมบรรลุการอยู่อย่าง
ไม่งมงายนี้ ด้วยปฏิปทาอะไรหนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ
ความคิดของพราหมณ์นั้นแล้ว เมื่อจะทรงแสดงว่า ตถาคตได้บรรลุการ
อยู่อย่างไม่งมงาย อันสูงสุดนี้ด้วยปฏิปทาน จึงตรัสไว้อย่างนี้.
[47 ] บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อารทฺธํ โข ปน เม
พฺราหฺมณ วิริยํ อโหสิ
มีอธิบายว่า ดูก่อนพราหมณ์ การอยู่อย่างไม่งมงาย
อันสูงสุดนี้ ไม่ใช่ว่าตถาคตจะเกียจคร้าน หลงลืมสติมีกายกระสับกระส่าย
หรือมีจิตฟุ้งซ่านได้บรรลุมา แท้จริงแล้วเราตถาคตได้ปรารภความเพียร
เพื่อบรรลุการอยู่อย่างไม่งมงายนั้น คือเราตถาคตนั่งอยู่ที่ควงไม่โพธิ์ ได้
ปรารภประคับประคองความเพียรมีองค์ 4 ให้เป็นไปไม่ย่อหย่อน. ก็เพราะ
ปรารภแล้วนั่นแล ความเพียรประกอบด้วยองค์ 4 นั่น ของเราตถาคต
จึงไม่ย่อหย่อน.
บทว่า อุปฏฺฐิตา สติ อปฺปมุฏฺฐา ความว่า และไม่ใช่แต่ความ