เมนู

พรรษา การเคาะระฆังบอกยามนั้นเป็นกิจวัตรประจำวันของพระเถระ
แต่ว่าพระเถระไม่ยอมใช้นาฬิกาเครื่องจักร. ส่วนภิกษุพวกอื่นใช้. ครั้น
ต่อมาเมื่อปฐมยามล่วงเลยไป พอพระเถระถือไม้เคาะ ( ระฆัง ) ยืนอยู่
หรือเคาะได้ครั้ง 2 ครั้งเท่านั้น นาฬิกาเครื่องจักรก็ดี. เมื่อเป็นอย่างนี้
พระเถระจึงบำเพ็ญสมณธรรมในยานทั้ง 3 แล้วเข้าไปบ้านแต่เช้าตรู่ รับ
บิณฑบาตกลับมาวัด ในเวลาจะฉันก็ถือบาตรไปยิ่งที่พักกลางวัน บำเพ็ญ
สมณธรรม. ภิกษุทั้งหลายเห็นหลักบอกเวลาแล้วได้ส่งภิกษุไปเพื่อต้องการ
(ในการกราบเรียน ) ให้พระเถระมา. ภิกษุ (รูปที่ไป ) นั้น ได้พบ
พระเถระ (ขณะ) กำลังออกมาจากที่พักกลางวันบ้าง ในระหว่างทาง
บ้าง. แม้เหล่าพระสาวกที่ดำรงอยู่ในปเทสญาณย่อมกำหนดเวลาว่า เป็น
กลางคืนและกลางวันได้อย่างนี้. ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงบรรดาพระโพธิ-
สัตว์.

ตถาคตอุบัติมาเพื่อประโยชน์สุข


ก็ในคำว่า ยํ โข ตํ ฯเปฯ วเทยฺย นี้ นักศึกษาพึงทราบบท
สัมพันธ์ (การเชื่อมบท) อย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ใคร ๆ เมื่อจะ
กล่าวถ้อยคำใดว่า สัตว์ผู้มีความไม่งมงายเป็นธรรมดา อุบัติขึ้นในโลก
ฯ ล ฯ เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จึงจะชื่อว่ากล่าวโดยชอบ
คือ เป็นผู้กล่าวอย่างถูกต้อง กล่าวไม่คลาดเคลื่อน เขาเมื่อกล่าวคำนั้น
ต่อเราตถาคตเท่านั้น จึงจะชื่อว่ากล่าวโดยชอบ คือเป็นผู้กล่าวอย่างถูกต้อง
กล่าวไม่คลาดเคลื่อน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสมฺโมหธมฺโม แปลว่า มีความไม่

งมหงายเป็นสภาพ.
บทว่า โลเก ได้แก่ในมนุษยโลก.
บทว่า พหุชนหิตาย แปลว่า เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนจำนวน
มาก อธิบายว่า (สัตว์นั้น) เป็นผู้ชี้แนะประโยชน์เกื้อกูลทั้งในปัจจุบัน
ทั้งในสัมปรายภพด้วยความถึงพร้อมแห่งปัญญา.
บทว่า พหุชนสุขาย แปลว่า เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนจำนวนมาก
อธิบายว่า (สัตว์นั้น) เป็นผู้ให้สมบัติอันเป็นอุปกรณ์แห่งความสุขด้วย
ความถึงพร้อมแห่งจาคะ ( การเสียสละ ).
บทว่า โลกานุกมฺปาย แปลว่า เพื่อประโยชน์อนุเคราะห์โลก
อธิบายว่า (สัตว์นั้น ) เป็นผู้รักษา เป็นผู้คุ้มครองโลกเหมือนบิดามารดา
(คุ้มครองบุตร) ด้วยความถึงพร้อมแห่งเมตตากรุณา.
และด้วยศัพท์ว่า "เทวมนุสฺส" ในคำว่า อตฺาย หิตาย สุขาย
เทวมนุสฺสานํ
นี้ นักศึกษาพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมาย
เอาเฉพาะเหล่าเวไนยสัตว์ผู้เป็นภัพพบุคคล (บุคคลที่ควรจะตรัสรู้) แล้ว
แสดงการอุบัติของพระองค์ ก็เพื่อต้องการให้เวไนยสัตว์เหล่านั้นได้บรรลุ
มรรคผลนิพพาน. เพราะเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อตฺถาย ( เพื่อ
ประโยชน์) ย่อมหมายถึงว่า เพื่อประโยชน์แก่ปรมัตถ์ คือเพื่อนิพพาน.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า หิตาย ( เพื่อประโยชน์เกื้อกูล) ย่อม
หมายถึงว่า เพื่อประโยชน์แก่มรรคเครื่องให้บรรลุนิพพานนั้น. เนื่องจาก
ว่า ขึ้นชื่อว่าประโยชน์เกื้อกูลที่ยิ่งไปกว่ามรรคเครื่องให้บรรลุนิพพานไม่มี
เลย. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สุขาย (เพื่อความสุข) ย่อม
หมายถึงว่า เพื่อประโยชน์แก่ความสุขที่เกิดจากผลสมาบัติ. เพราะว่าไม่มี

ความสุข (อื่น) ที่ยิ่งไปกว่าความสุขที่เกิดจากผลสมาบัตินั้น. สมด้วย
คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า สมาธินี้อำนวยความสุขที่เป็น
ปัจจุบันให้และยังมีความสุขเป็นวิบากต่อไป.

ปฏิปทาเครื่องบรรลุอสัมโมหวิหาร


พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นทรงแสดงการอยู่อย่างไม่งมงาย ( อสมฺ-
โมหวิหารํ)
ของพระองค์ ซึ่งมีการได้บรรลุคุณแห่งพุทธะเป็นที่สุดดัง
พรรณนามาฉะนั้นแล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาเป็นเหตุให้บรรลุ
การอยู่อย่างไม่งมงายอันถึงที่สุดแล้วนั้นตั้งแต่เวลาเริ่มต้น จึงตรัสคำว่า
อารทฺธํ โข ปน เม พฺราหฺมณ ดังนี้เป็นต้น.
ฝ่ายอาจารย์บางพวกกล่าวว่า พราหมณ์ได้สดับการอยู่อย่างไม่งมงาย
นี้แล้ว ได้เกิดความคิดขึ้นมาอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมบรรลุการอยู่อย่าง
ไม่งมงายนี้ ด้วยปฏิปทาอะไรหนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ
ความคิดของพราหมณ์นั้นแล้ว เมื่อจะทรงแสดงว่า ตถาคตได้บรรลุการ
อยู่อย่างไม่งมงาย อันสูงสุดนี้ด้วยปฏิปทาน จึงตรัสไว้อย่างนี้.
[47 ] บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อารทฺธํ โข ปน เม
พฺราหฺมณ วิริยํ อโหสิ
มีอธิบายว่า ดูก่อนพราหมณ์ การอยู่อย่างไม่งมงาย
อันสูงสุดนี้ ไม่ใช่ว่าตถาคตจะเกียจคร้าน หลงลืมสติมีกายกระสับกระส่าย
หรือมีจิตฟุ้งซ่านได้บรรลุมา แท้จริงแล้วเราตถาคตได้ปรารภความเพียร
เพื่อบรรลุการอยู่อย่างไม่งมงายนั้น คือเราตถาคตนั่งอยู่ที่ควงไม่โพธิ์ ได้
ปรารภประคับประคองความเพียรมีองค์ 4 ให้เป็นไปไม่ย่อหย่อน. ก็เพราะ
ปรารภแล้วนั่นแล ความเพียรประกอบด้วยองค์ 4 นั่น ของเราตถาคต
จึงไม่ย่อหย่อน.
บทว่า อุปฏฺฐิตา สติ อปฺปมุฏฺฐา ความว่า และไม่ใช่แต่ความ