เมนู

บทว่า ตตฺถ จ เม พฺราหฺมณ วิหรโต ( ดูก่อนพราหมณ์ ก็
เมื่อเราตถาคตอยู่ในสถานที่เหล่านั้น) ความว่า บรรดาเสนาสนะเหล่านั้น
เสนาสนะแห่งใด ๆ ซึ่งเป็นสถานที่สิงสถิตของยักษ์ ที่มนุษย์ทั้งหลายควร
บนบาน และนำเครื่องสังเวยเข้าไปสังเวย มีพื้นธรณีเกลื่อนกล่นด้วยเครื่อง
บูชาและเครื่องสังเวยทั้งหลาย เช่น ดอกไม้ ธูป เนื้อ เลือด มันเหลว
มันข้น ม้าม ปอด สุรา และเมรัยเป็นต้น เป็นเหมือนสถานที่ที่รวม
ชุมนุมกันของพวกยักษ์รากษสและปีศาจ ซึ่งเมื่อคนทั้งหลายมาเห็นเข้าใน
ตอนกลางวัน ดูเหมือนหัวใจจะวายตาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมาย
เอาสถานที่นั้น จึงตรัสว่า ตคฺถ จ เม พฺราหฺมณ วิหรโต.

ความหมายของมิคะและโมระ


บทว่า มิโค วา อาคจฺฉติ ความว่า เนื้อซึ่งแยกประเภทเป็น
กวาง แรด เสือเหลือง และหมูป่าเป็นต้น เดินประเขาหรือเตะกีบเท้า
กันมา ก็คำว่า มิโค ในที่นี้เป็นชื่อสัตว์ 4 เท้าทุกชนิด. แต่ในที่
บางแห่ง มิคะ ( เนื้อ ) ท่านกล่าวว่า ได้แก่ สุนัขจิ้งจอกตาบอดบ้าง
เหมือนอย่างที่สัตว์กล่าว (เยินยอสุนัขจิ้งจอกตาบอด ) ว่า
คอของท่านช่างสง่างามเหมือนคอของโคอุสภะ และ
เหมือนคอของราชสีห์ฉะนั้น ข้าแต่พระยาเนื้อ ขอ
ความนอบน้อมจงมีแด่ท่าน พวกเราจะได้อะไรบ้าง
ไหม ?

บทว่า โมโร วา กฏฺฐํ ปาเตติ ความว่า นกยูงทำไม้แห้งให้
ตกจากต้นไม้ และด้วยศัพท์ว่า โมระ ในคำนี้ ท่านหมายเอานกทุก

จำพวก. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงแก้ว่า ได้แก่ โย โกจิ ปกฺขี นกตัวใด
ตัวหนึ่งก็ตาม. อีกอย่างหนึ่ง ด้วย วา ศัพท์ในคำว่า โมโร วา ท่าน
แก้ว่า ได้แก่ นกชนิดอื่นหรือลางตัว. แม้ใน มิคะ ศัพท์ ซึ่งเป็น
ศัพท์แรก (ก่อนศัพท์ว่า โมโร ) ก็มีนัยนี้.
บทว่า วาโต วา ปณฺณกสฏํ เอเรติ ความว่า ลมพัดใบไม้
กุมฝอย.
บทว่า เอตํ นูน ตํ ภยเภรวํ อาคจฺฉติ ความว่า สิ่งใดย่อม
มา (ปรากฏ) สิ่งนั้นจัดเป็นภัยและอารมณ์อันน่ากลัวแน่นอน และ
ตั้งแต่บัดนี้ไป อารมณ์นั้นแลพึงทราบว่า เป็นภัยและอารมณ์อันน่ากลัว.
เพราะมีภัยทั้งเล็กน้อยและมีประมาณยิ่งเป็นอารมณ์ อารมณ์จึงชื่อว่า ภัย
และสิ่งที่น่ากลัว เปรียบเหมือนรูปที่มีความสุขเป็นอารมณ์ ก็ชื่อว่าเป็นสุข
ด้วยฉะนั้น.
บทว่า กินฺนุโข อหํ อญฺญทฏฺฐุํ ภยปาฏิกงฺขี วิหรามิ ความว่า
ตถาคตแลหวังอยู่ คือปรารถนาอยู่ซึ่งเหตุอะไรว่าเป็นภัยโดยส่วนเดียว
นั้นแลจึงอยู่.
บทว่า ยถาภูตสฺส ยถาภูตสฺส ความว่า เป็นอยู่ คือเป็นไปอยู่
หรือพรั่งพร้อมด้วยอิริยาบถใด ๆ.
บทว่า เม คือในสำนักของเราตถาคต.
บทว่า ตถาภูโต ตถาภูโต วา ความว่า เป็นอยู่ คือ เป็นไป
อยู่ หรือพรั่งพร้อมด้วยอิริยาบถนั้น ๆ นั่นแล.
บทว่า โส โข อหํ ฯ เป ฯ ปฏิวิเนมิ ความว่า ได้ยินว่า
เมื่อพระโพธิสัตว์จงกรมอยู่ ครั้นเมื่ออารมณ์คือภัยและสิ่งที่น่ากลัวมี

ประเภทเช่นเขาเนื้อและเสียงกีบเท้าเป็นต้นมาปรากฏ องค์พระมหาสัตว์ก็
ไม่ประทับยืน ( นิ่ง ๆ) ไม่ประทับนั่ง ไม่เสด็จเข้าบรรทม. ตรงกันข้าม
กลับเสด็จจงกรมต่อไป ใคร่ครวญไป พินิจพิเคราะห์ ( จนกระทั่ง )
มองไม่เห็นว่าเป็นภัยและสิ่งที่น่ากลัว มันเป็นเพียงเขาเนื้อและเสียงกีบเท้า
เป็นต้นเท่านั้น. ครั้นทราบอารมณ์นั้นว่า มันชื่อนี้ ไม่ใช่เป็นภัยและสิ่ง
ที่น่ากลัว ดังนี้แล้ว ต่อนั้นไป พระองค์จึงหยุดประทับยืน ประทับนั่ง
หรือเสด็จเข้าบรรทม.
เมื่อจะทรงแสดงความหมายอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำ
ว่า โส โข อหํ ดังนี้เป็นต้น. ในทุก ๆ เปยยาลก็มีนัยนี้.

ความฉลาดในการออกจากสมาบัติ


และต่อจากนี้ไป พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอิริยาบถไว้
ตามลำดับที่ใกล้ชิดกัน หาได้ตรัสไว้ตามลำดับอิริยาบถไม่. อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ตามลำดับที่ใกล้ชิดกัน แห่งอิริยาบถนั้น ๆ อย่าง
นี้ว่า ก็เมื่อเราตถาคตจงกรมอยู่ เมื่อภัยและอารมณ์อันน่ากลัวมาปรากฏ
เราตถาคตก็ไม่หยุดยืน ไม่นั่ง ไม่นอน แม้เมื่อเราตถาคตหยุดยืน เมื่อภัย
และอารมณ์อันน่ากลัวมาปรากฏ เราตถาคตก็ไม่เดินจงกรม.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความที่พระองค์ไม่มีภัยและ
อารมณ์ที่น่าสะพึงกลัวอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงการที่พระองค์
ประทับอยู่อย่างไม่ลุ่มหลงในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความลุ่มหลงของบุคคลผู้
ได้ฌานทั้งหลาย จึงตรัสคำว่า สนฺติ โข ปน พฺราหฺมณ ดังนี้เป็นต้น.
[46] บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺติ เท่ากับ อตฺถิ มีอยู่