เมนู

เจดีย์


บทว่า อารามเจติยานิ ความว่า ภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ทั้งหลาย
เช่นสวนดอกไม้ สวนผลไม้ เป็นต้นนั่นแล ชื่อว่า อารามเจดีย์
เพราะว่าสถานที่เหล่านั้นเรียกว่าเจดีย์ เพราะหมายความว่า เป็นที่ยำเกรง
อธิบายว่า เพราะหมายความว่าเป็นสถานที่ที่บุคคลพึงบูชา.
บทว่า วนเจติยานิ ความว่า ป่าทั้งหลาย เช่นราวป่าสำหรับนำ
เครื่องสังเวยไปสังเวย ( เทวดา ) ป่าสุภัควันและป่าที่ตั้งศาลของเทวดา
เป็นต้นนั่นแล ชื่อว่า วนเจดีย์.
บทว่า รุกฺขเจติยานิ ความว่า ต้นไม้ที่ควรบูชาตามประตูเข้า
หมู่บ้านและนิคมเป็นต้นนั่นแล ชื่อว่า รุกขเจดีย์.
เพราะชาวโลกสำคัญอยู่ว่า เทวดาสิงสถิตบ้าง มีความสำคัญใน
สถานที่เหล่านั้นนั่นแลว่าเป็นทิพย์บ้าง จึงพากันทำความเคารพคือบูชา
สวนป่าและต้นไม้ทั้งหลาย ฉะนั้น สวนป่าและต้นไม้เหล่านั้น ทั้งหมด
เขาจึงพากันเรียกว่า เจดีย์ .
บทว่า ภึสนกานิ แปลว่า ให้เกิดความกลัว คือ ยังความกลัว
ให้เกิดทั้งแก่ผู้เห็นอยู่ทั้งแก่ผู้ได้ยินอยู่.
บทว่า สโลมหํสานิ เป็นไปกับความชูชันแห่งขน เพราะเมื่อใคร
เข้าไปก็จะเกิดขนชูชัน.
บทว่า อปฺเปว นาม ปสฺเสยฺยํ ความว่า ทำไฉนหนอเราจะพึง
ได้ประสบภัยและอารมณ์อันน่ากลัวนั้นบ้าง.
บทว่า อปเรน สมเยน ความว่า โดยกาลอื่นจากกาลที่คิดไว้แล้ว
อย่างนี้ว่า (ตถาคตนั้น ) ได้มีความคิดดังนี้ว่า ทำไฉนเรา.

บทว่า ตตฺถ จ เม พฺราหฺมณ วิหรโต ( ดูก่อนพราหมณ์ ก็
เมื่อเราตถาคตอยู่ในสถานที่เหล่านั้น) ความว่า บรรดาเสนาสนะเหล่านั้น
เสนาสนะแห่งใด ๆ ซึ่งเป็นสถานที่สิงสถิตของยักษ์ ที่มนุษย์ทั้งหลายควร
บนบาน และนำเครื่องสังเวยเข้าไปสังเวย มีพื้นธรณีเกลื่อนกล่นด้วยเครื่อง
บูชาและเครื่องสังเวยทั้งหลาย เช่น ดอกไม้ ธูป เนื้อ เลือด มันเหลว
มันข้น ม้าม ปอด สุรา และเมรัยเป็นต้น เป็นเหมือนสถานที่ที่รวม
ชุมนุมกันของพวกยักษ์รากษสและปีศาจ ซึ่งเมื่อคนทั้งหลายมาเห็นเข้าใน
ตอนกลางวัน ดูเหมือนหัวใจจะวายตาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมาย
เอาสถานที่นั้น จึงตรัสว่า ตคฺถ จ เม พฺราหฺมณ วิหรโต.

ความหมายของมิคะและโมระ


บทว่า มิโค วา อาคจฺฉติ ความว่า เนื้อซึ่งแยกประเภทเป็น
กวาง แรด เสือเหลือง และหมูป่าเป็นต้น เดินประเขาหรือเตะกีบเท้า
กันมา ก็คำว่า มิโค ในที่นี้เป็นชื่อสัตว์ 4 เท้าทุกชนิด. แต่ในที่
บางแห่ง มิคะ ( เนื้อ ) ท่านกล่าวว่า ได้แก่ สุนัขจิ้งจอกตาบอดบ้าง
เหมือนอย่างที่สัตว์กล่าว (เยินยอสุนัขจิ้งจอกตาบอด ) ว่า
คอของท่านช่างสง่างามเหมือนคอของโคอุสภะ และ
เหมือนคอของราชสีห์ฉะนั้น ข้าแต่พระยาเนื้อ ขอ
ความนอบน้อมจงมีแด่ท่าน พวกเราจะได้อะไรบ้าง
ไหม ?

บทว่า โมโร วา กฏฺฐํ ปาเตติ ความว่า นกยูงทำไม้แห้งให้
ตกจากต้นไม้ และด้วยศัพท์ว่า โมระ ในคำนี้ ท่านหมายเอานกทุก