เมนู

นี้ว่า แม้ในเวลาที่ภิกษุเหล่านั้นมีสติ ก็ยังชื่อว่ามีสติหลงลืมอยู่นั้นเอง
เพราะไม่มีปัญญา เนื่องจากว่าสติที่หย่อนกำลังจะทำหน้าที่ของสติไม่ได้.
ภิกษุเหล่านั้นหลงลืมสติ ขาดสัมปชัญญะ (ปัญญา) ดังกล่าวมานี้ ย่อม
ไม่สามารถจะทำแม้เพียงการกำหนดอารมณ์ได้เลยแล. คำ (ที่เหลือ)
ทั้งหมด (มีความหมาย ) เหมือนกับความหมายที่กล่าวมาแล้ว.

จิตกับปัญญา


[43] บทว่า อสมาหิตา แปลว่า เว้นจากอุปจารสมาธิและ
อัปปนาสมาธิ.
บทว่า วิพฺภนฺตจิตฺตา แปลว่า มีจิตพลัดออกนอกทาง คือจิต
ย่อมหมุนไปในอารมณ์ต่าง ๆ เพราะเว้นจากสมาธิ ได้แก่เพราะท่าน
เหล่านั้นขาดสมาธิเหตุที่อุทธัจจะได้โอกาส เปรียบเหมือนลิงในป่ากระโดด
มาตามกิ่งไม้ในป่าฉะนั้น ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ไม่มั่นคงอยู่ในอารมณ์แม้
อย่างเดียว คือมีจิตหมุนไปต่าง ๆ ตามนัยที่กล่าวแล้วในตอนต้นอย่างนี้
เพราะอุทธัจจะ ( ความฟุ้งซ่านเป็นเหตุ) ย่อมไม่สามารถจะทำแม้เพียง
การกำหนดอารมณ์ได้เลย.
คำ (ที่เหลือ) ทั้งหมด มี (ความหมาย) เหมือนกับความหมาย
ที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น.
[44] บทว่า ทุปฺปญฺญา นี้ เป็นคำสำหรับเรียกคนที่ไม่มีปัญญา.
แต่ปัญญาที่ชื่อว่าทรามไม่มีแน่.
บทว่า เอลมูคา แปลว่า มีปากเต็มไปด้วยน้ำลาย ท่านแปลง ข
อักษรให้เป็น ค อักษร (จึงสำเร็จรูปเป็น เอลมูคา) อธิบายว่า มีปาก

น้ำลายไหลยืด. เพราะว่าเมื่อคนมีปัญญาทรามพูด น้ำลายจะไหลออกมา
จากปาก. และน้ำลายเรียกว่า เอละ. เหมือนดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ปสฺเสลมูคํ อุรคํ ทฺวิชิวฺหํ เธอจงดูงูปากมีน้ำลายไหลยืด (กำลังแลบลิ้น)
มีลิ้น 2 แฉก. เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้มีปัญญาทรามเหล่านั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
จึงตรัสเรียกว่า เอลมูคา. ปาฐะว่า เอลมุขา ดังนี้ก็มี. อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า เอลมุกา บ้าง. (แต่ ) อาจารย์อีกพวกหนึ่งกลับกล่าว
ว่า เอมุขา ดังนี้ก็ยังมี. (ถึงอย่างไร) ในทุก ๆ บทก็มีความหมายว่า
เอลมุขา ปากมีน้ำลายไหลยืด).
ถามว่า ภิกษุผู้มีปัญญาทรามเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องหาภัยและ
อารมณ์อันน่ากลัวมาได้อย่างไร ?
ตอบว่า ภิกษุผู้มีปัญญาทรามมีน้ำลายไหลยืดเหล่านั้น จะไม่สามารถ
ทำแม้เพียงการกำหนดอารมณ์ เมื่อเธอกำหนดอารมณ์ไม่ได้ อยู่ในป่า สิ่งที่
เห็นในเวลากลางวัน พอเวลากลางคืนจะปรากฏเป็นภัยและอารมณ์ที่น่า
กลัว. เธอมีจิตใจวอกแวกย่อมหวาดเสียวแม้ด้วยอารมณ์เพียงเล็กน้อย
เห็นเชือกหรือเถาวัลย์แล้วย่อมสำคัญว่าเป็นงู เห็นตอไม้ย่อมสำคัญว่าเป็น
ยักษ์ เห็นที่ดอนหรือภูเขาย่อมสำคัญว่าเป็นช้าง (ย่อมหวาดกลัว) เป็น
ดังหนึ่งถูกสัตว์ร้ายมีงูเป็นต้นทำร้ายเอาฉะนั้น. ภิกษุผู้มีปัญญาทรามเหล่า
นั้นชื่อว่าเรียกร้อง คือเรียกหาภัยและอารมณ์อันน่ากลัว นั้นให้เข้ามาหาตน
ดังพรรณนามาฉะนี้.
ในคำว่า ปญฺญาสมฺปนฺโนหมสฺมิ นี้ มีอธิบายว่า ผู้ถึงพร้อม คือ
ผู้ประกอบพร้อมด้วยปัญญา. แต่ไม่ใช่ด้วยวิปัสสนาปัญญา ไม่ใช่ด้วย
มัคคปัญญา โดยที่แท้แล้วประกอบพร้อมด้วยปัญญาและเครื่องกำหนด

อารมณ์ในเพราะเหตุ 16 ประการเหล่านี้. คำที่เหลือมีความหมายเหมือน
กับที่กล่าวมาแล้วในทุกบทแล.
จบ การกำหนดอารมณ์ในเพราะเหตุ 16 ประการ.
[45 ] บทว่า ตสฺส มยฺหํ มีอนุสนธิ (การสืบต่อลำดับความ)
เป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์กำหนดอารมณ์ 16 อย่างเหล่านี้อยู่ ครั้น
มองไม่เห็นความกลัวและอารมณ์อันน่ากลัว จึงได้ทำการค้นหาความกลัว
และอารมณ์อันน่ากลัว (นั้น) ดำริว่า ธรรมดาความกลัวและอารมณ์อัน
น่ากลัว ย่อมจะปรากฏในเสนาสนะอย่างนี้ ในราตรีเช่นนี้ เอาเถอะเราจะ
ค้นหาดูความกลัวและอารมณ์อันน่ากลัวนั้น ในเสนาสนะอย่างนั้นในราตรี
เช่นนั้น จึงได้แสวงหาภัยและอารมณ์ที่น่ากลัว. บัดนี้ พระผู้มีพระภาค-
เจ้า
เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนี้แก่พราหมณ์จึงได้ตรัสคำว่า ตสฺส มยฺหํ
ดังนี้เป็นต้น.

ราตรี - กำหนดดิถีแห่งปักษ์


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยา ตา นั่น เป็นคำยกราตรีอย่างเดียว
ขึ้นแสดง. ศัพท์ว่า อภิ ในบทว่า อภิญฺญาตา นี้ เป็นอุปสรรค ใช้ลง
ในความหมายว่า ลักษณะ (การกำหนด) เพราะฉะนั้น ในบทว่า
อภิญฺญาตา พึงทราบว่า ราตรีทั้งหลายท่านกำหนดด้วยลักษณะทั้งหลาย
มีอาทิอย่างนี้ว่า พระจันทร์เพ็ญ พระจันทร์ดับ.
(ส่วน) ศัพท์ว่า อภิ ในบทว่า อภิลกฺขิตา เป็นเพียงอุปสรรค