เมนู

องค์จงยกโทษให้อาตมาคืนนี้สักคืนหนึ่งเถอะ แล้วตั้งแต่วันพรุ่งนี้ไป
อาตมาจักไม่ทำอย่างนี้อีก ต่อนาพอพระอาทิตย์อุทัย ท่านก็ได้เห็นเป็นวัว
แก่ตัวนั้น (ไม่ใช่ท้าวสักกะ) จึงเอาไม้ตะพดหวดตะเพิดไล่เตลิดเปิดเปิง
ไปพร้อมทั้งคำไล่หลังว่า แกทำให้ข้ากลัวตลอดคืนยังรุ่งเลย.

สติกับปัญญา


[41] บทว่า กุสีตา แปลว่า ตกอยู่ใต้อำนาจความเกียจคร้าน.
บทว่า หีนวีริยา ความว่า เสื่อม คือเว้น ได้แก่ปราศจากความ
เพียร อธิบายว่า ไม่มีความเพียร. ในบุคคล 2 จำพวกนั้น คนที่เกียจ
คร้านย่อมเว้นจากการเริ่มความเพียรทางกาย คนที่ขาดความเพียรย่อมเว้น
จากการเริ่มความเพียรทางจิต ( สรุปแล้ว ) คนทั้ง 2 จำพวกนั้นย่อมไม่
สามารถจะทำแม้เพียงการกำหนดอารมณ์ได้. คำทั้งหมดว่า เตสํ อววตฺถิ-
ตารมฺมณานํ (มีความหมาย) เหมือนกับความหมายที่กล่าวมาก่อนแล้ว.
[42 ] บทว่า มุฏฺฐสฺสตี แปลว่า ปล่อยสติ.
บทว่า อสมฺปชานา แปลว่า ปราศจากปัญญา ก็เพราะพระพุทธ-
ดำรัสว่า ตถาคตเป็นผู้มีสติตั้งมั่นแล้ว ในความหมายที่ตรงกันข้ามกับคำนี้
ว่า มุฏฺฐสฺสตี พระดำรัสว่า อสมฺปชานา นี้ จึงเป็นบทขยายสติเท่านั้น.
ส่วนปัญญาในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อแสดงถึงสติที่หย่อน
กำลัง. เพราะว่าสติมี 2 อย่าง คือสติที่ประกอบด้วยปัญญา 1 สติที่ไม่
ประกอบด้วยปัญญา 1. ในสติทั้ง 2 นั้น สติประกอบด้วยปัญญาย่อมมี
กำลัง สติที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาย่อมหย่อนกำลัง. เพราะฉะนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า อสมฺปชานา (ไม่มีปัญญา) เพื่อแสดงความหมาย

นี้ว่า แม้ในเวลาที่ภิกษุเหล่านั้นมีสติ ก็ยังชื่อว่ามีสติหลงลืมอยู่นั้นเอง
เพราะไม่มีปัญญา เนื่องจากว่าสติที่หย่อนกำลังจะทำหน้าที่ของสติไม่ได้.
ภิกษุเหล่านั้นหลงลืมสติ ขาดสัมปชัญญะ (ปัญญา) ดังกล่าวมานี้ ย่อม
ไม่สามารถจะทำแม้เพียงการกำหนดอารมณ์ได้เลยแล. คำ (ที่เหลือ)
ทั้งหมด (มีความหมาย ) เหมือนกับความหมายที่กล่าวมาแล้ว.

จิตกับปัญญา


[43] บทว่า อสมาหิตา แปลว่า เว้นจากอุปจารสมาธิและ
อัปปนาสมาธิ.
บทว่า วิพฺภนฺตจิตฺตา แปลว่า มีจิตพลัดออกนอกทาง คือจิต
ย่อมหมุนไปในอารมณ์ต่าง ๆ เพราะเว้นจากสมาธิ ได้แก่เพราะท่าน
เหล่านั้นขาดสมาธิเหตุที่อุทธัจจะได้โอกาส เปรียบเหมือนลิงในป่ากระโดด
มาตามกิ่งไม้ในป่าฉะนั้น ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ไม่มั่นคงอยู่ในอารมณ์แม้
อย่างเดียว คือมีจิตหมุนไปต่าง ๆ ตามนัยที่กล่าวแล้วในตอนต้นอย่างนี้
เพราะอุทธัจจะ ( ความฟุ้งซ่านเป็นเหตุ) ย่อมไม่สามารถจะทำแม้เพียง
การกำหนดอารมณ์ได้เลย.
คำ (ที่เหลือ) ทั้งหมด มี (ความหมาย) เหมือนกับความหมาย
ที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น.
[44] บทว่า ทุปฺปญฺญา นี้ เป็นคำสำหรับเรียกคนที่ไม่มีปัญญา.
แต่ปัญญาที่ชื่อว่าทรามไม่มีแน่.
บทว่า เอลมูคา แปลว่า มีปากเต็มไปด้วยน้ำลาย ท่านแปลง ข
อักษรให้เป็น ค อักษร (จึงสำเร็จรูปเป็น เอลมูคา) อธิบายว่า มีปาก