เมนู

บทว่า สกฺกาโร แปลว่า สักการะที่ดี. อธิบายว่า ปัจจัยทั้งหลาย
ที่เขาปรุงแต่งให้ประณีต ประณีตและดีเรียกว่า สักการะ ซึ่งได้แก่การที่
คนอื่นเขาทำความเคารพตน หรือบูชาด้วยเครื่องบูชามีดอกไม้เป็นต้น.
บทว่า สิโลโก แปลว่า การกล่าวสรรเสริญคุณ ลาภ 1 สักการะ1
การกล่าวสรรเสริญ 1 นั้น ชื่อว่าลาภสักการะ และสิโลกะ.
บทว่า นิกามยมานา แปลว่า ปรารถนาอยู่.
การเรียกร้องหาภัยและอารมณ์อันน่ากลัวเป็นเหมือนกับที่กล่าวใน
ตอนว่าด้วยอภิชฌาลุนั่นแล. ส่วนในที่นี้ พระโบราณาจารย์ทั้งหลายได้
กล่าวถึงเรื่องพระปิยคามิกะ ซึ่งเป็นตัวอย่างของเรื่องนั้นไว้ว่า:-

ปิยคามิกภิกษุ


ได้สดับมาว่า ภิกษุรูปหนึ่งชื่อปิยคามิกะ เห็นลาภของพวกภิกษุ
ผู้สมาทานธุดงค์แล้วคิดว่า เราก็จะสมาทานธุดงค์ทำลาภให้เกิดขึ้นบ้าง
ดังนี้แล้วสมาทานโสสานิกังคธุดงค์ ( ธุดงค์ของภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็น
วัตร) แล้วอยู่ในป่าช้า.
อยู่มาวันหนึ่ง วัวแก่ตัวหนึ่งซึ่งเจ้าของไม่ใช้งานแล้ว ( ปล่อยทิ้ง)
กลางวันออกเที่ยวกิน ตกกลางคืน ( เข้าไป ) ในป่าช้านั้น ได้ยืนขนหยอง
ซุกศีรษะไว้ที่พุ่มดอกไม้. พระปิยคามิกะออกจากที่จงกรมไปในตอน
กลางคืน ได้ยินเสียงคางของวัวนั้นกระทบกันแล้วก็เข้าใจว่า ท้าวสักก-
เทวราช
คงจะทราบเราว่า พระรูปนี้หวังลาภจึงมาอยู่ในป่าช้า ดังนี้แล้ว
มาเพื่อทำร้ายเราแน่ ๆ. ท่านจึงได้ยืนประนมมือไหว้ข้างหน้าวัวแก่ อ้อน
วอนอยู่ตลอดคืนยังรุ่งว่า ข้าแต่ท่านท้าวเทวราชผู้เป็นสัตบุรุษ ขอพระ-