เมนู

เสนาสนะป่า


[29] บทว่า ทูรภิสมฺภาวานิ หิ ความว่า ยากที่จะอยู่ได้ด้วยดี
คือทนอยู่ได้ยาก อธิบายว่า ภิกษุผู้มีศักดิ์น้อยไม่สามารถจะอยู่อาศัยได้.
บทว่า อรญฺญวนปตฺถานิ ได้แก่ป่าและป่าเปลี่ยว.
ในบทว่า อรญฺญวยปตฺถานิ นั้น มีอธิบายว่า:-
ว่ากันตามตรงในอภิธรรมแล้ว สถานที่อยู่นอกเสาเขื่อนไปทั้งหมด
ท่านเรียกว่า "ป่า" ก็จริง. ถึงกระนั้นก็พึงทราบว่า เสนาสนะใดที่ให้
สำเร็จเป็นอารัญญิกธุดงค์ได้ ซึ่งท่านกล่าวไว้ว่า ท้ายสุดประมาณ 500
ช่วงธนู ท่านประสงค์เอาเสนาสนะนั้นเท่านั้น.
บทว่า วนปตฺถํ ได้แก่สถานที่ที่เลยท้ายหมู่บ้านไป ไม่มีคนไปมา
บ่อย ๆ เป็นที่ที่ไม่มีการไถหว่าน. ข้อนี้สมด้วยคำที่ท่านกล่าวไว้ดังนี้ ว่า:-
คำว่า วนปตฺถํ เป็นชื่อของเสนาสนะที่อยู่ไกล.
คำว่า วนปตฺถํ เป็นซึ่งของราวป่า.
คำว่า วนปตฺถํ เป็นชื่อของสถานที่ที่น่ากลัว.
คำว่า วนปตฺถํ เป็นชื่อของสถานที่ที่ทำให้มีขนชูชัน.
คำว่า วนปตฺถํ เป็นชื่อของสถานที่ที่อยู่ปลายแดน.
คำว่า วนปตฺถํ ไม่ใช่เป็นชื่อของเสนาสนะที่มีผู้คนไปมาบ่อยๆ.
และในที่นี้ นอกจากความหมายนี้อย่างเดียวว่า สถานที่อยู่ปลาย
แดน พึงเข้าใจป่าที่อยู่ปลายแดน ตามความหมายที่เหลือ.
บทว่า ปนฺตานิ ได้แก่สถานที่อยู่ปลายแดน คือสถานที่ไกลมาก.

บทว่า ทุกฺกรํ ปวิเวกํ ความว่า กายวิเวก เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก.
บทว่า ทูรภิรมํ แปลว่า ไม่ง่ายเลยที่จะยินดี.
บทว่า เอกตฺเต แปลว่า ในความเป็นผู้เดียว ( ในการอยู่คน
เดียว ).
ถามว่า พระพุทธดำรัสที่ตรัสมานี้แสดงถึงอะไร ?
ตอบว่า แสดงถึงว่า แม้จะบำเพ็ญกายวิเวกได้แล้ว การจะยังจิต
ให้ยินดีในวิเวกนั้นก็ยังเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก. เพราะสัตว์โลกนี้มักยินดีในการ
อยู่เป็นคู่กัน.
บทว่า หรนฺติ มญฺเญ ความว่า เหมือนจะนำไป คือ เหมือน
จะฉุดคร่าไป.
บทว่า มโน แปลว่า ซึ่งใจ.
บทว่า สมาธึ อลภมานสฺส ความว่า (ของภิกษุ) ผู้ไม่ได้
อุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิ.
ถามว่า พระพุทธดำรัสที่ตรัสมานี้แสดงถึงอะไร ?
ตอบว่า แสดงถึงว่า ป่าเหมือนจะทำจิตของภิกษุเช่นนี้ ให้ฟุ้งซ่าน
ด้วยเสียงทั้งหลายมีเสียงหญ้าเสียงใบไม้และเสียงสัตว์เป็นต้น และ ( รวม
ทั้ง ) อารมณ์ที่น่ากลัวต่าง ๆ. คำทั้งหมดที่กล่าวมานี้ พราหมณ์ซึ่งเกิด
พิศวงกับการอยู่ป่าของกุลบุตรทั้งหลายผู้บวชด้วยศรัทธากล่าวไว้เเล้ว

ความหมายของ "พระโพธิสัตว์"


[30] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงรับรองและอนุ-
โมทนาคำพูดของพราหมณ์นั้น ด้วยพระพุทธดำรัสมีอาทิว่า เอวเมตํ