เมนู

ทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในคัมภีร์วิภังค์นั่นเองว่า ตตฺถ กตโม โกโธ
ดังนี้เป็นต้น.

ตัวอย่างพฤติกรรมที่เกิดจากบาปธรรมเหล่านั้น


อนึ่ง ในธรรมที่ต้องละเหล่านี้พึงทราบความโดยพิเศษขึ้นไปอีก
ดังต่อไปนี้ :-
ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาท ย่อมโกรธคนอื่นที่ได้ลาภ เพราะตนเอง
ไม่ได้1 ความโกรธที่เกิดขึ้นครั้งเดียวของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้น ชื่อว่า
โกธะอย่างเดียว โกธะที่เกิดขึ้นมากกว่าครั้งเดียวขึ้นไป ชื่อว่า อุปนาหะ.
ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้นนั่นแล เมื่อโกรธแล้วด้วย และผูกโกรธ
ด้วย ย่อมหลู่คุณของคนอื่นที่มีลาภและถือเป็นคู่แข็ง และว่าแม้เราก็ต้องเป็น
เช่นนั้นให้ได้ อันนี้เป็นมักขะ (ความลบหลู่ ) และปฬาสะ (ตีเสมอ)
ของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.
ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้นมีปกติลบหลู่ มีปกติตีเสมอดังกล่าวมาแล้ว
นี้ ย่อมริษยา ย่อมประทุษร้ายในลาภและสักการะเป็นต้น ของผู้มีลาภนั้น
ว่าภิกษุนี้จะมีประโยชน์อะไรด้วยสิ่งนี้ อันนี้เป็นอิสสา (ความริษยา).
ก็ถ้าว่าเธอมีสมบัติบางอย่าง ย่อมทนไม่ได้ที่สมบัตินั้นมีคนอื่นนั้น
ร่วมใช้ อันนี้เป็นมัจเฉระ (ความตระหนี่) ของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาท
นั้น.
ก็เพราะลาภเป็นเหตุแท้ ๆ เธอย่อมปกปิดโทษของตนที่มีอยู่เสีย
1. ปาฐะเป็น อลภนฺโต เป็นฐมาวิภัตติ เข้าใจว่าจะเป็นอลภนโต คือโตปัจจัยที่ใช้แทน
ปัญจมีวิภัตติได้ จึงได้แปลตามที่เข้าใจ.

อันนี้เป็นมายาของภิกษุ ผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.
เธอย่อมอวดคุณที่ไม่มีอยู่จริง อันนี้เป็นสาเถยยะ (ความโอ้อวด)
ของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.
เธอปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ถ้าได้ลาภตามที่ประสงค์ ย่อมเป็นผู้แข็ง
กระด้างมีจิตใจไม่อ่อนโยนเพราะลาภนั้น เป็นผู้ที่ใคร ๆ ไม่สามารถจะ
ว่ากล่าวได้ ว่า ท่านไม่ควรทำกรรมนี้อย่างนี้ อันนี้เป็นถัมภะ (ความ
หัวดื้อ) ของเธอ.
แต่ถ้าจะมีใครว่ากล่าวอะไรเธอ ว่า ท่านไม่ควรทำกรรมนี้อย่างนี้
เธอเป็นผู้มีจิตใจปรารมภ์ คำกล่าวนั้น ทำหน้านิ่วคิ้วขมวด พูดข่มขู่ว่า
ท่านเป็นอะไรกับผม อันนี้เป็นสารัมภะ (ความแข่งดี) ของภิกษุผู้เป็น
อามิสทายาทนั้น .
ต่อจากนั้นไป เพราะถัมภะ (ความดื้อรั้น) เธอจะสำคัญตัวอยู่
ว่า เรานี้แหละดีกว่าคนอื่น เป็นผู้ถือตัวเพราะสารัมภะ (ความแข็งดี)
เธอกลับดูถูกคนอื่นว่า พวกนี้เป็นใครกัน เป็นผู้ถือตัว อันนี้เป็นมานะ
(ความถือตัว) และอติมานะ (ดูหมิ่นท่าน) ของภิกษุผู้เป็นอานิสทายาท
นั้น.
เพราะมานะและอติมานะเหล่านี้ เธอย่อมเกิดความเมาหลายแบบ
มีความเมาในชาติ ( กำเนิดตระกูล ) เป็นต้น เธอเมาแล้วย่อมประมาท
(เผลอสติ) ในวัตถุทั้งหลายแยกประเภทออกไป มีกามคุณเป็นต้น
อันนี้เป็นมทะ ( ความเมา ) และปมาทะ ( ความเผลอสติ) ของภิกษุ
ผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.
รวมความว่า ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ เธอย่อมไม่พ้นจากความเป็น

อามิสทายาทไปได้ นักศึกษาพึงทราบธรรมที่ต้องละในการเป็นอามิสทายาท
โดยธรรมที่เป็นบาปเหล่านี้ และโดยธรรมเหล่าอื่นแบบนี้อย่างนี้ก่อน. ส่วน
อุบายเป็นเหตุละ ว่าโดยบาลีและเนื้อหาสาระแล้วก็ไม่มีพิเศษอะไรเลยใน
ธรรมทุกข้อ.

ความแตกต่าง ลำดับ และวิธีแห่งการเจริญ


แต่เพื่อความแจ่มชัดแห่งการประมวลความรู้ ผู้ศึกษาควรทราบ
ความแตกต่าง ลำดับ และวิธีแห่งการเจริญ ในอุบายเป็นเครื่องละ
ดังต่อไปนี้ :-
บรรดาความแตกต่าง ลำดับ และวิธีแห่งการเจริญเหล่านั้น จะ
อธิบายถึงความแตกต่างก่อน ก็มัชฌิมาปฏิปทานี้ ได้แก่มรรค ซึ่งบางครั้ง
ก็มีองค์ 8 บางคราวก็มีองค์ 7 เพราะว่ามรรคนี้เมื่อเกิดขึ้นด้วยอำนาจ
ปฐมฌานที่เป็นโลกุตตระย่อมมีองค์ 8 ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจฌานที่เหลือ
ย่อมมีองค์ 7 แต่ในที่นี้เป็นการอธิบายความชั้นสูงสุด ท่านจึงกล่าวว่า
มรรคมีองค์ 8. ก็องค์มรรคที่เกินจากนั้นไปไม่มี นักศึกษาพึงทราบความ
แตกต่างกันในที่นี้เท่านี้ก่อน.
ก็เพราะเหตุที่สัมมาทิฏฐิ ประเสริฐที่สุดในบรรดากุศลธรรมทั้งปวง
ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวว่า ปัญญาแลประเสริฐ
ที่สุด. และสัมมาทิฏฐินั้นก็เป็นประธาน ( ตัวนำ) ในวาระแห่งการ
ทำกุศล ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมา-
ทิฏฐิเป็นประธานอย่างไร ? คือ (เป็นประธานเพราะ) รู้ชัดเจนซึ่ง
สัมมาทิฏฐิว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ ซึ่งมิจฉาทิฏฐิว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ดังนี้