เมนู

เป็นอารมณ์ และย่อมรับไว้โดยชอบ ซึ่งสัมปยุตธรรมทั้งหลาย เพราะ-
ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัมมาวายามะ.
(7) สัมมาสติ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาสติและกิเลสที่เป็น
ข้าศึกต่อสัมมาสตินั้นได้ ย่อมกระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ และย่อม
ยังสัมปยุตธรรมทั้งหลายให้ปรากฏโดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า
สัมมาสติ.
(8) สัมมาสมาธิ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาสมาธิ กิเลสที่
เป็นข้าศึกษาต่อสัมมาสมาธิและความฟุ้งซ่านนั้นได้ กระทำนิพพานให้
เป็นอารมณ์ และย่อมตั้งมั่นสัมปยุตธรรมทั้งหลายไว้โดยชอบ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า สัมมาสมาธิ.
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะกล่าวย้ำปฏิปทานั้นนั่นแลจึงกล่าวว่า อยํ โข
สา อาวุโส
ดังนี้เป็นต้น คำที่กล่าวนั้นมีอธิบายว่า มรรคมีองค์ 8 นี้
ใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรวมโลกุตตรมรรคทั้ง 4 เข้าด้วยกันว่า
ดูก่อนอาวุโส มรรคมีองค์ 8 นี้แล คือ มัชฌิมาปฏิปทานั้น ย่อมเป็น
ไปพร้อม ฯลฯ เพื่อนิพพาน.

ธรรมที่ต้องละเหล่าอื่นอีก


ครั้นแสดงโลภะ โทสะ และอุบายเป็นเครื่องละโลภะและโทสะนั้น
ในจำนวนธรรมทั้งหลายที่ต้องละอย่างนี้แล้ว บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ
เมื่อจะแสดงธรรมที่ต้องละเหล่าอื่นอีกและอุบายเป็นเครื่องละธรรมเหล่านั้น
จึงกล่าวคำว่า ตตฺราวุโส โกโธ จ ดังนี้เป็นต้น บรรดาธรรมที่ต้อง
ละเหล่านั้น.

(1) โกธะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือความเดือดดาลหรือความดุร้าย
มีหน้าที่คือผูกอาฆาต (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความประทุษร้าย
(2) อุปนาหะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือความผูกโกรธ มีหน้าที่
คือไม่ยอมสลัดทิ้งการจองเวร (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือโกรธ
ติดต่อเรื่อยไป สมด้วยคำที่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้อย่างนี้ว่า โกธะเกิด
ก่อน อุปนาหะจึงเกิดภายหลัง เป็นต้น.
(3) มักขะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือ ลบหลู่คนอื่น หีหน้าที่
คือทำคุณของคนอื่นนั้นให้พินาศ (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือการ
ปกปิดคุณของคนอื่นนั้น.
(4) ปฬาสะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือการถือเป็นคู่แข็ง (ตี
เสมอ) มีหน้าที่คือการทำคุณของตนให้เสมอกับคุณของคนอื่น (และ)
ผลที่ปรากฏออกมาคือความปรากฏโดยการชอบประมาณ (ตีค่า) เทียบ
คุณของคนอื่น.
(5) อิสสา มีลักษณะ (เฉพาะ) คือความริษยาต่อสมบัติของ
คนอื่น หรือไม่ก็ทนไม่ได้ต่อสมบัติของคนอื่นนั้น มีหน้าที่คือความไม่
ยินดียิ่ง ในสมบัติของคนอื่นนั้น (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความ
เบือนหน้าหนีจากสมบัติของคนอื่นนั้น.
(6) มัจเฉระ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือการซ่อนเร้นสมบัติ
ของตน มีหน้าที่คือความไม่สบายใจ เมื่อสมบัติของตนมีคนอื่นร่วมใช้
สอยด้วย (และ ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความเคืองแค้น.
(7) มายา มีลักษณะ (เฉพาะ) คือปกปิดบาปที่ตนเองกระทำ
แล้ว หน้าที่คือซ่อนเร้นบาปที่ตนเองกระทำแล้วนั้น (และ) ผลที่ปรากฏ

ออกมาคือการปิดกั้นบาปที่ตนเองกระทำแล้วนั้น.
( 8 ) สาเถยยะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือการชอบเปิดเผยคุณ
ที่ตนเองไม่มี มีหน้าที่คือการประมวลมาซึ่งคุณที่ตนเองไม่มีเหล่านั้น
(และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือการทำคุณที่ตนเองไม่มีเหล่านั้นให้ปรากฏ
ออกมาแม้โดยอาการทางร่างกาย.
( 9 ) ถัมภะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือความที่จิตผยอง มีหน้าที่
คือพฤติการที่ไม่ยำเกรง ( และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความไม่อ่อนโยน.
( 10 ) สารัมภะ มีลักษณะ (เฉพาะ ) คือการทำความดีให้
เหนือไว้ มีหน้าที่คือแสดงตนเป็นข้าศึกต่อคนอื่น ( และ ) ผลที่ปรากฏ
ออกมาคือความไม่เคารพ.
( 11 ) มานะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือความเย่อหยิ่ง มีหน้าที่
คือความถือตัวว่า เป็นเรา (และ ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความจองหอง
( 12 ) อติมานะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือความเย่อหยิ่ง มี
หน้าที่คือความถือตัวว่า เป็นเราจัด ( และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความ
หยิ่งจองหอง.
( 13 ) มทะ มีลักษณะ ( เฉพาะ ) คือความมัวเมา มีหน้าที่คือ
ความยึดถือด้วยการมัวเมา ( และ ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความคลั่งไคล้
( 14 ) ปมาทะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือการปล่อยจิตไปใน
เบญจกามคุณ มีหน้าที่คือการกระตุ้นให้ปล่อยจิตมากขึ้น (และ) ผล
ที่ปรากฏออกมาคือความขาดสติ.
นักศึกษาพึงทราบถึงลักษณะเป็นต้น ของธรรมเหล่านี้ดังกล่าวมา
นี้เถิด ที่กล่าวมานี้เป็นความย่อในข้อนี้ ส่วนความพิสดารนักศึกษาพึง

ทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในคัมภีร์วิภังค์นั่นเองว่า ตตฺถ กตโม โกโธ
ดังนี้เป็นต้น.

ตัวอย่างพฤติกรรมที่เกิดจากบาปธรรมเหล่านั้น


อนึ่ง ในธรรมที่ต้องละเหล่านี้พึงทราบความโดยพิเศษขึ้นไปอีก
ดังต่อไปนี้ :-
ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาท ย่อมโกรธคนอื่นที่ได้ลาภ เพราะตนเอง
ไม่ได้1 ความโกรธที่เกิดขึ้นครั้งเดียวของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้น ชื่อว่า
โกธะอย่างเดียว โกธะที่เกิดขึ้นมากกว่าครั้งเดียวขึ้นไป ชื่อว่า อุปนาหะ.
ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้นนั่นแล เมื่อโกรธแล้วด้วย และผูกโกรธ
ด้วย ย่อมหลู่คุณของคนอื่นที่มีลาภและถือเป็นคู่แข็ง และว่าแม้เราก็ต้องเป็น
เช่นนั้นให้ได้ อันนี้เป็นมักขะ (ความลบหลู่ ) และปฬาสะ (ตีเสมอ)
ของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.
ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้นมีปกติลบหลู่ มีปกติตีเสมอดังกล่าวมาแล้ว
นี้ ย่อมริษยา ย่อมประทุษร้ายในลาภและสักการะเป็นต้น ของผู้มีลาภนั้น
ว่าภิกษุนี้จะมีประโยชน์อะไรด้วยสิ่งนี้ อันนี้เป็นอิสสา (ความริษยา).
ก็ถ้าว่าเธอมีสมบัติบางอย่าง ย่อมทนไม่ได้ที่สมบัตินั้นมีคนอื่นนั้น
ร่วมใช้ อันนี้เป็นมัจเฉระ (ความตระหนี่) ของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาท
นั้น.
ก็เพราะลาภเป็นเหตุแท้ ๆ เธอย่อมปกปิดโทษของตนที่มีอยู่เสีย
1. ปาฐะเป็น อลภนฺโต เป็นฐมาวิภัตติ เข้าใจว่าจะเป็นอลภนโต คือโตปัจจัยที่ใช้แทน
ปัญจมีวิภัตติได้ จึงได้แปลตามที่เข้าใจ.