เมนู

เป็นอารมณ์ และย่อมรับไว้โดยชอบ ซึ่งสัมปยุตธรรมทั้งหลาย เพราะ-
ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัมมาวายามะ.
(7) สัมมาสติ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาสติและกิเลสที่เป็น
ข้าศึกต่อสัมมาสตินั้นได้ ย่อมกระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ และย่อม
ยังสัมปยุตธรรมทั้งหลายให้ปรากฏโดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า
สัมมาสติ.
(8) สัมมาสมาธิ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาสมาธิ กิเลสที่
เป็นข้าศึกษาต่อสัมมาสมาธิและความฟุ้งซ่านนั้นได้ กระทำนิพพานให้
เป็นอารมณ์ และย่อมตั้งมั่นสัมปยุตธรรมทั้งหลายไว้โดยชอบ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า สัมมาสมาธิ.
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะกล่าวย้ำปฏิปทานั้นนั่นแลจึงกล่าวว่า อยํ โข
สา อาวุโส
ดังนี้เป็นต้น คำที่กล่าวนั้นมีอธิบายว่า มรรคมีองค์ 8 นี้
ใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรวมโลกุตตรมรรคทั้ง 4 เข้าด้วยกันว่า
ดูก่อนอาวุโส มรรคมีองค์ 8 นี้แล คือ มัชฌิมาปฏิปทานั้น ย่อมเป็น
ไปพร้อม ฯลฯ เพื่อนิพพาน.

ธรรมที่ต้องละเหล่าอื่นอีก


ครั้นแสดงโลภะ โทสะ และอุบายเป็นเครื่องละโลภะและโทสะนั้น
ในจำนวนธรรมทั้งหลายที่ต้องละอย่างนี้แล้ว บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ
เมื่อจะแสดงธรรมที่ต้องละเหล่าอื่นอีกและอุบายเป็นเครื่องละธรรมเหล่านั้น
จึงกล่าวคำว่า ตตฺราวุโส โกโธ จ ดังนี้เป็นต้น บรรดาธรรมที่ต้อง
ละเหล่านั้น.