เมนู

สารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า โลภสฺส จ โทสสฺส จ ปหานาย ดังนี้
เป็นต้น. คำของพระเถระนั้นมีอธิบายความว่า ก็ข้อปฏิบัติสายกลางเพื่อ
ละโลภะและโทสะอันเป็นบาปนั้นมีอยู่. คำนี้ พระเถระกล่าวหมายถึงมรรค.
เพราะว่ามรรคจะไม่เข้าใกล้ คือไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้ง 2 นี้ คือโลภะ
ก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง โทสะก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง พ้นแล้วอย่างสิ้นเชิงจาก
ที่สุดทั้ง 2 นี้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ
สายกลาง). ที่ชื่อว่ามัชฌิมา เพราะอยู่ในระหว่างกลางที่สุดทั้ง 2 นั้น
ที่ชื่อว่าปฏิปทา เพราะอันบุคคลผู้ต้องการนิพพานพึงปฏิบัติ
อนึ่ง กามสุขัลลิกานุโยคก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง อัตตกิลมถานุโยคก็เป็น
ที่สุดอันหนึ่ง สัสสตทิฏฐิก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง อุจเฉททิฏฐิก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงให้พิสดารโดยนัยแรกนั่นเถิด.

ผลของมัชฌิมาปฏิปทา


ก็พระสารีบุตรเถระย่อมยกย่องปฏิปทานั้นนั่นเอง ด้วยคำว่า จกิขุ-
กรณี
เป็นต้น เพราะว่า ปฏิปทานั้นย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อการเห็นสัจจะ
ทั้งหลาย โดยหมายความว่าเป็นตัวนำในการเห็น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
จักขุกรณี, ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อรู้ซึ่งสัจจะทั้งหลาย โดยหมายความว่า
เป็นเหตุทำให้รู้แจ้ง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ญาณกรณี.
อนึ่ง ชื่อว่าย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความสงบ เพราะทำให้กิเลส
ทั้งหลายมีราคะเป็นต้นสงบ ชื่อว่าย่อมเป็นไปพร้อมเพื่ออภิญญา (ความ
รู้ยิ่ง) เพราะเป็นเหตุเห็นว่าสัจจะทั้ง เป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง.
มรรค ชื่อว่าสัมโพธะ (การตรัสรู้) มัชฌิมาปฏิปทาย่อมเป็น

ไปเพื่อสัมโพธะ เพราะเป็นไปพร้อมเพื่อประโยชน์แก่มรรคนั้น, แท้จริง
มรรคนั่นเอง ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อประโยชน์แก่มรรค.
ธรรมชาติ ชื่อว่าพระนิพพาน เพราะทำกิจที่มรรคต้องทำ แต่
ปฏิปทาท่านกล่าวว่า ชื่อว่าเป็นไปพร้อมเพื่อพระนิพพาน เพราะเป็นไป
พร้อมเพื่อกระทำให้แจ้ง คือทำให้ประจักษ์ชัดซึ่งนิพพานนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน. ใจความสำคัญในเรื่องนี้มีเท่านี้.
การพรรณนาอย่างอื่นนอกไปจากนี้จะทำให้เนิ่นช้าไป.
บัดนี้ พระเถระประสงค์จะแสดงมัชฌิมาปฏิปทานั้นโดยสรุปจึงถาม
ว่า กตนาวุโส ดังนี้แล้ว วิสัชนาโดยนัยเป็นต้นว่า อยเมว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยเมว (แปลว่านี้เท่านั้น) เป็นคำ
อวธารณะ (ห้ามคำอื่น). พระเถระกล่าวคำนี้ ไว้เพื่อเป็นการปฏิเสธมรรค
(ทางไปสู่นิพพาน) สายอื่น เพื่อจะได้แสดงว่ามรรคนั้นเป็นของมีทั่วไป
แก่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้า.
ข้อนี้สมด้วย พระพุทธดำรัสที่ตรัสไว้ว่า
มรรค (ทาง) สายนี้เท่านั้น ไม่มีมรรคอื่น
เพื่อความบริสุทธิ์แห่งทัสสนะ.

ความหมายของมรรค


มรรคนี้นั้น ชื่อว่าอริยะ เพราะทำกิเลสให้อยู่ห่างไกลบ้าง เพราะ
เป็นไปพรอมเพื่อละข้าศึก (กิเลส)บ้าง เพราะเป็นมรรคที่พระอริยะแสดง
ไว้บ้าง เพราะเป็นไปพร้อมเพื่อให้ได้ความเป็นพระอริยะบ้าง. (มรรค)
ชื่อว่ามีองค์ 8 เพราะประกอบด้วยองค์ 8 และพ้นไปจากองค์หาได้