เมนู

สารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า โลภสฺส จ โทสสฺส จ ปหานาย ดังนี้
เป็นต้น. คำของพระเถระนั้นมีอธิบายความว่า ก็ข้อปฏิบัติสายกลางเพื่อ
ละโลภะและโทสะอันเป็นบาปนั้นมีอยู่. คำนี้ พระเถระกล่าวหมายถึงมรรค.
เพราะว่ามรรคจะไม่เข้าใกล้ คือไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้ง 2 นี้ คือโลภะ
ก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง โทสะก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง พ้นแล้วอย่างสิ้นเชิงจาก
ที่สุดทั้ง 2 นี้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ
สายกลาง). ที่ชื่อว่ามัชฌิมา เพราะอยู่ในระหว่างกลางที่สุดทั้ง 2 นั้น
ที่ชื่อว่าปฏิปทา เพราะอันบุคคลผู้ต้องการนิพพานพึงปฏิบัติ
อนึ่ง กามสุขัลลิกานุโยคก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง อัตตกิลมถานุโยคก็เป็น
ที่สุดอันหนึ่ง สัสสตทิฏฐิก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง อุจเฉททิฏฐิก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงให้พิสดารโดยนัยแรกนั่นเถิด.

ผลของมัชฌิมาปฏิปทา


ก็พระสารีบุตรเถระย่อมยกย่องปฏิปทานั้นนั่นเอง ด้วยคำว่า จกิขุ-
กรณี
เป็นต้น เพราะว่า ปฏิปทานั้นย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อการเห็นสัจจะ
ทั้งหลาย โดยหมายความว่าเป็นตัวนำในการเห็น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
จักขุกรณี, ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อรู้ซึ่งสัจจะทั้งหลาย โดยหมายความว่า
เป็นเหตุทำให้รู้แจ้ง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ญาณกรณี.
อนึ่ง ชื่อว่าย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความสงบ เพราะทำให้กิเลส
ทั้งหลายมีราคะเป็นต้นสงบ ชื่อว่าย่อมเป็นไปพร้อมเพื่ออภิญญา (ความ
รู้ยิ่ง) เพราะเป็นเหตุเห็นว่าสัจจะทั้ง เป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง.
มรรค ชื่อว่าสัมโพธะ (การตรัสรู้) มัชฌิมาปฏิปทาย่อมเป็น