เมนู

บทว่า อิทํ วตฺวาน สุคโต ความว่า และครั้นตรัสอุปเทศ
แห่งพระสูตรนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้รับการถวายพระนามว่า
พระสุคตนั้นแหละ เพราะทรงดำเนินไปด้วยปฏิปทาอันงาม.
บทว่า อุฏฺฐายาสนา วิหารํ ปาวิสิ ความว่า เสด็จลุกขึ้นจาก
บวรพุทธอาสน์ที่มีผู้ปูลาดถวายไว้แล้วก็เสด็จเข้าไปสู่วิหาร คือมหาคันธกุฎี
ของพระองค์.

เหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับก่อน


ถามว่า ในเมื่อบริษัทยังไม่แยกย้ายกันกลับเลย เพราะเหตุไร
(พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่วิหารเล่า) ?
ตอบว่า เพื่อจะทรงยกย่องพระธรรม ได้สดับมาว่า พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายเมื่อจะเสด็จเข้าไปสู่วิหารในเมื่อเทศนายังไม่ทันจบ ก็จะเสด็จเข้าไป
ด้วยเหตุ 2 ประการ คือเพื่อจะทรงยกย่องบุคคล 1 เพื่อจะทรงยกย่อง
พระธรรม 1.
เมื่อเสด็จเข้าไปเพื่อทรงยกย่องบุคคล จะทรงดำริอย่างนี้ว่า เหล่าภิกษุ
ผู้รับเอาธรรมเรียนเอาอุทเทศนี้ ที่เราตถาคตแสดงโดยย่อแล้ว แต่ยังไม่ได้
จำแนกให้พิสดาร จักพากันเข้าไปเรียนถามพระอานนท์หรือไม่ก็พระมหา-
กัจจายนะ
เธอทั้งสองนั้นก็จักอธิบายสอดคล้องกับญาณของเราตถาคต
จากนั้นเหล่าภิกษุผู้รับเอาธรรม จักกลับมาถามเราตถาคตอีก เราตถาคตก็
จักชมเธอทั้งสองนั้น แก่เหล่าภิกษุผู้รับเอาธรรมนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อานนท์อธิบายดีแล้ว กัจจายนะ1ก็อธิบายดีแล้ว ความข้อนี้แม้
พวกเธอทั้งหลายจะพึงมาถามเราตถาคตไซร้ เราตถาคตก็จักอธิบายความ
1. ปาฐะเป็น กจฺฉาเนน เห็นว่าควรจะเป็น กจฺจายเนน จึงได้แปลอย่างนั้น.

ข้อนั้นแบบเดียวกันนั้นแหละ จากนั้นภิกษุทั้งหลายก็จักเกิดความเคารพ
ในเธอทั้งสองแล้วพากันเข้าไปหา. แม้เธอทั้งสองก็จักแนะนำภิกษุทั้งหลาย
ไว้ในอรรถและธรรม ภิกษุเหล่านั้นอันเธอทั้งสองนั้นแนะนำแล้วก็จักพา
กัน บำเพ็ญสิกขา 3 กระทำที่สุดทุกข์ได้.
เมื่อจะเสด็จเข้าไปเพื่อยกย่องพระธรรม จะทรงพระดำริเหมือนที่ได้
ทรงพระดำริในที่นั้นนั่นเองว่า เมื่อเราตถาคตเข้าไปสู่วิหารแล้ว พระสารี-
บุตร
นั่งอยู่ในท่ามกลางบริษัทนี้นั้นแล จักแสดงธรรมตำหนิอามิสทายาท
และยกย่องธรรมทายาทนั้นเหมือนกัน เทศนานี้ที่เราทั้งสองแสดงแล้ว อย่าง
นี้ตามมติที่เป็นไปในแนวเดียวกัน จักเป็นเทศนาที่เลิศและหนัก (มีความ
สำคัญ ) เฉกเช่นฉัตรหิน จักเป็นเหมือนเรือที่จอดอยู่ที่ท่าแล้ว เพราะหมาย
ความว่าข้ามโอฆะ 4 ได้ และจักเป็นเหมือนรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย
4 ตัว เพราะหมายความว่าเป็นเหตุให้ไปสู่สวรรค์.
อนึ่ง เปรียบเหมือนเมื่อพระราชาทรงออกพระราชบัญญัติในที่ประ-
ชุมว่า คนที่ทำความผิดอย่างนี้ต้องถูกปรับสินไหมเท่านี้ แล้วเสด็จลุกจาก
พระราชอาสน์ขึ้นสู่ปราสาท เสนาบดีที่นั่งอยู่ในที่นั้นนั่นแลจะรักษาการณ์
ให้เป็นไปตามพระบัญญัตินั้นฉันใด เทศนาที่เราแสดงแล้วก็ฉันนั้นเหมือน
กัน สารีบุตรนั่งอยู่ในที่ประชุมนี้นั่นแหละจักแสดงยกย่อง. เทศนาที่
ตถาคตกับสารีบุตรแสดงแล้วตามมติของเราทั้งสองจักรุ่งเรื่องมีกำลัง ดุจ
พระอาทิตย์ยามเที่ยงวันฉะนั้น.
เพื่อทรงยกย่องธรรมในที่นี้อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จลุก
ขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่วิหาร.
อนึ่ง ในฐานะเช่นนี้พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหายพระ

องค์ไปบนพุทธอาสน์ที่ประทับนั่งนั่นเอง เสด็จเข้าไปสู่วิหารด้วยการเสด็จ
ไปด้วยอำนาจจิต เพราะถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงเสด็จไปด้วยการไป
ด้วยพระกายไซร้ บริษัททั้งหมด (ที่ประชุมอยู่ในที่นั้น) ก็คงจะพากัน
แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้. บริษัท (ที่ประชุมกันอยู่ ) นั้นแตกกลุ่ม
กันชั่วคราวแล้วก็ยากที่จะมาชุมนุมกันได้อีก ( เพราะฉะนั้น ) พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงเสด็จเข้าไปด้วยการเสด็จไปด้วยอำนาจจิตนั่นเอง ( หายตัว
ไป ).

พระสารีบุตรเถระแสดงธรรม


[ 23 ] ก็แล ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไป ( สู่วิหาร )
ด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตร ( นั่ง ) อยู่ ณ ที่นั้นแล ประสงค์
จะยกย่องธรรมนั้นให้สอดคล้องกับพระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงได้กล่าวคำนี้ไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อายสฺมา เป็นคำเรียกคนที่รัก.
คำว่า สาริปุตฺโต เป็นนามของพระเถระนั้น ก็แล นามนั้นได้มา
จากข้างฝ่ายมารดา มิใช่ได้มาจากข้างฝ่ายบิดา เพราะพระเถระนั้นเป็น
บุตรของพราหมณีชื่อรูปสารี ฉะนั้น จึงชื่อว่า สารีบุตร.
คำว่า อจิรปกฺกนฺตสฺส แปลว่า เพิ่งหลีกไปได้ไม่นาน.
ก็ในคำว่า อาวุโส ภิกฺขเว นี้ มีวินิจฉัยดังนี้. พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า
ทั้งหลายเมื่อจะทรงเรียกสาวก ( ของพระองค์ ) ก็จะทรงเรียกว่า
ภิกฺขเว (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ) ฝ่ายสาวกทั้งหลายคิดว่า เราทั้งหลายจง
อย่าเสมอกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายเลย ดังนี้แล้ว (เมื่อจะร้องทักกัน)
ก็กล่าวว่า อาวุโส (แปลว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ) ก่อนแล้ว จึงกล่าวว่า