เมนู

เพราะฉะนั้น เมื่อจะแสดงความแปลกกันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า กิญฺจาปิ โส ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิญฺจาปิ เป็นนิบาต ใช้ในความหมายว่า
ยอมรับ และใช้ในความหมายว่า สรรเสริญ.
ถามว่า ยอมรับซึ่งอะไร ?
ตอบว่า ซึ่งการฉันอันไม่มีโทษนั้นของภิกษุนั้น.
ถามว่า สรรเสริญซึ่งอะไร ?
ตอบว่า ซึ่งการฉันแล้วบำเพ็ญสมณธรรม.
มีคำกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ว่า ถ้าภิกษุรูปนั้นฉันบิณฑบาตที่ควรฉัน
แล้วบำเพ็ญกิจที่ควรบำเพ็ญไซร้ ข้อว่าโดยที่แท้แล้วภิกษุรูปแรกโน้น
แหละของเราตถาคต ความว่า ภิกษุรูปแรกผู้ปฏิเสธบิณฑบาตนั้นแล้ว
บำเพ็ญสมณธรรมโน้นนั่นแลของตถาคต ดูเหมือนจะเป็นผู้แกล้วกล้า
กว่าในบรรดาสาวก 2 รูป ของตถาคตซึ่งเป็นผู้แกล้วกล้า และดูเหมือน
จะเป็นบัณฑิตกว่าในบรรดาสาวก 2 รูปผู้เป็นบัณฑิตของเราตถาคต ชื่อว่า
เป็นผู้น่าบูชากว่าและน่าสรรเสริญกว่า มีคำอธิบายไว้ว่า น่าบูชาและน่า
สรรเสริญยิ่งกว่าภิกษุรูปที่ 2.

เหตุที่น่าบูชากว่าและน่าสรรเสริญกว่า


บัดนี้ เมื่อจะยกเหตุ ( การณะ ) ขึ้นมาขยายความนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า
จึงตรัสคำว่า ตํ กิสฺส เหตุ ดังนี้เป็นต้น.
คำนั้นมีอธิบาย (เพิ่มเติม) ว่า ในข้อนั้น เธอทั้งหลายคงมี
(ข้อกังขา) ว่า เพราะเหตุไร ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้น่าบูชากว่าน่าสรรเสริญ

กว่าของพระผู้มีพระภาคเจ้า ?
คำตอบก็คือ ตญฺหิ ตสฺส ความว่า เพราะการห้ามบิณฑบาต
นั้นจักเป็นไปเพื่อความมักน้อย ฯลฯ เพื่อความปรารภความเพียรสิ้นกาล
นานสำหรับภิกษุนั้น.
จักเป็นไปอย่างไร?
คือภิกษุนั้น ถ้าสมัยต่อมาจักเกิดความมักได้ ความปรารถนาลามก
หรือความมักมากในปัจจัยทั้งหลายขึ้น ลำดับนั้น ภิกษุ (รูปอื่น) พิจารณา
เห็นอยู่อย่างนั้นจักกันเธอไว้ด้วยตาขอ คือการห้ามบิณฑบาตนี้ว่า นี่แน่ท่าน
ท่านปฏิเสธบิณฑบาตแม้ที่เป็นเตนของพระสุคต แล้วก็ยังเกิดความ
ปรารถนาเช่นนี้ขึ้นจนได้ นี่เป็นนัยในการห้ามความไม่ขัดเกลากิเลสที่
เกิดขึ้นแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ การปฏิเสธบิณฑบาตนั้นจักเป็นไปเพื่อความ
มักน้อย ความสันโดษ (และ) ความขัดเกลากิเลสสำหรับเธอก่อน.
ในคำว่า สุภรตาย ( เพื่อความเป็นผู้เลี้ยงง่าย) นี้ มีการพรรณนา
ดังต่อไปนี้ :-
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เลี้ยงยากบำรุงยากทั้งแก่ตนเอง
ทั้งแก่อุปัฏฐาก ( ส่วน ) บางรูปเป็นผู้เลี้ยงง่ายบำรุงง่ายทั้งแก่ตนเอง
ทั้งแก่อุปัฏฐาก.
เป็นอย่างไร ?
อธิบายว่า ภิกษุรูปใดได้อาหารที่เปรี้ยวเป็นต้นแล้วยังแสวงหา
อาหารอื่น มีอาหารที่มีรสไม่เปรี้ยวเป็นต้น ทิ้งสิ่งของที่ได้ในเรือนของ
คนหนึ่งไว้ในเรือนของอีกคนหนึ่ง เที่ยวจาริกไปจนหมดเวลา (บิณฑบาต)
แล้วมีบาตรเปล่ากลับเข้าวัดนอน ภิกษุรูปนี้จัดว่าเป็นผู้เลี้ยงยากสำหรับ
ตนเอง ส่วนภิกษุรูปใดแม้ทายกจะถวายข้าวสาลีเนื้อและข้าวสุกเป็นต้น
จนเต็มบาตรแล้วก็ยังแสดงสีหน้าบึ้งตึงและความไม่พอใจ ยิ่งไปกว่านั้น

เมื่อจะดูแคลนบิณฑบาตนั้นต่อหน้าคนเหล่านั้นว่า พวกท่านถวายของ
อะไร ดังนี้ จึงให้แก่อนุปสัมบันมีสามเณรและคฤหัสถ์ (อื่น) เป็นต้นไป
(เป็นการประชด) ภิกษุรูปนี้จัดว่าเป็นผู้เลี้ยงยากสำหรับผู้อุปัฏฐาก
ทั้งหลาย พวกชาวบ้านเห็นเธอเข้าก็จะพากันหลีก ( หลบหน้า ) เสียแต่
ไกลทีเดียว ด้วยนึกตำหนิว่า พระเลี้ยงยาก พวกเราไม่สามารถจะเลี้ยงดู
ท่านได้หรอก.
ส่วนภิกษุใด ได้อาหารอย่างใดอย่างหนึ่งจะเป็นของชนิดดีหรือ
ชนิดเลวก็ตาม มีจิตสันโดษฉันอาหารนั้นแล้วกลับวัดไปทำงานของตน
(ต่อไป) ภิกษุรูปนี้จัดว่าเป็นผู้เลี้ยงง่ายสำหรับตน. และภิกษุรูปใดไม่
ดูหมิ่นทานของคนอื่นจะน้อยหรือมากจะดีหรือเลวก็ตาม มีจิตยินดีสีหน้า
ยิ้มแย้มแจ่มใส ฉันต่อหน้าคนเหล่านั้นแล้วจึงค่อยไป ภิกษุรูปนี้จัดว่าเป็น
ผู้เลี้ยงง่ายสำหรับผู้อุปัฏฐาก พวกชาวบ้านครั้นเห็นพระรูปนั้นแล้วต่างก็
พากันดีใจอย่างยิ่งยวดว่า พระคุณเจ้าของพวกเราเป็นผู้เลี้ยงง่าย สันโดษ
แม้ด้วยอาหารเล็ก ๆ น้อย ๆ พวกเราจักเลี้ยงดูท่าน ครั้นตกลงแล้ว ก็พา
กันบำรุงเลี้ยงดู. ในพฤติกรรมนั้น ถ้าสมัยต่อมาเธอจักเกิดควานคิดขึ้นใน
ทำนองจะเป็นผู้เลี้ยงยากทั้งแก่ตนเองหรืออุปัฏฐากทั้งหลายไซร้ ครานั้น
ภิกษุรูปอื่นพิจารณาเห็นอย่างนี้ก็จักช่วยกันเธอไว้ด้วยตาขอคือการปฎิเสธ
บิณฑบาตนี้ว่า นี่แน่ท่าน ท่านปฏิเสธบิณฑบาตที่เป็นเดนของพระสุคต
แล้ว ยังนาเกิดความคิดเช่นนี้ขึ้นจนได้. เมื่อเป็นอย่างนี้การปฏิเสธ
บิณฑบาตก็จักเป็นไปเพื่อความเป็นผู้เลี้ยงง่ายสำหรับเธอ.
อนึ่ง ถ้าเธอจักเกิดความเกียจคร้านขึ้น ภิกษุรูปอื่นก็จักช่วยกันไว้
ด้วยตาขอนั้นเหมือนกันว่า นี่แน่ท่าน ท่านปฏิเสธบิณฑบาตที่เป็นตน

ของพระสุคตแล้ว คราวนั้นแม้จะถูกความหิวและความอ่อนกำลังครอบงำ
ก็ยังบำเพ็ญสมณธรรมได้ ( ไฉน) วันนี้จึงหันมาหาความเกียจคร้าน
เสียเล่า เมื่อเป็นอย่างนี้ การปฏิเสธบิณฑบาตจักเป็นไปเพื่อการปรารภ
ความเพียรสำหรับเธอ การปฏิเสธบิณฑบาตนี้ของภิกษุนั้นจักเป็นไปเพื่อ
ความมักน้อยฯลฯ เพื่อการปรารภความเพียรตลอดกาลนานดังกล่าวมานี้.

คุณ 5 ประการ


คุณ 5 นี้ (ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลากิเลส
ความเป็นผู้เลี้ยงง่าย และการปรารภความเพียร ) ของภิกษุนั้นบริบูรณ์
อย่างนี้แล้วก็จักช่วยให้กถาวัตถุ 10 บริบูรณ์อย่างไร?
อธิบายว่า ในจำนวนคุณธรรมทั่ง 5 นั้น กถาวัตถุ 3 ประการ
คือความเป็นผู้มักน้อย ความสันโดษ และการปรารภความเพียรที่มาใน
พระบาลีนี้นั้นแล รวมกันเข้าได้กับสัลเลขธรรม. เพราะว่าสัลเลขธรรมนี้
เป็นชื่อของกถาวัตถุเหมือนกันทุกข้อ สมด้วยพระดำรัสที่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ ก็แลกถานี้นั้นเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส
อย่างยิ่ง สะดวกแก่การเปิดเผยจิต ( ออกจากกิเลส) เป็นไปพร้อมเพื่อ
นิพพิทาโดยส่วนเดียว เพื่อวิราคะ (การสำรอกกิเลส ) เพื่อนิโรธะ
( การดับกิเลส) เพื่ออุปสมะ ( การสงบระงับกิเลส) เพื่ออภิญญา
(ปัญญาอันยิ่ง ) เพื่อสัมโพธะ ( การตรัสสู้) เพื่อพระนิพพาน ความดับ
สนิทแห่งกิเลส กถานี้นั้นคืออะไร ? ได้แก่ อัปปัจฉกถา (กถาว่าด้วย
ควานมักน้อย ).
ความพิสดารเป็นดังว่ามานี้ คุณ 5 ประการบริบูรณ์ก็จักช่วยให้
กถาวัตถุ 10 บริบูรณ์ได้อย่างนี้.