เมนู

เพราะฉะนั้น เมื่อจะแสดงความแปลกกันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า กิญฺจาปิ โส ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิญฺจาปิ เป็นนิบาต ใช้ในความหมายว่า
ยอมรับ และใช้ในความหมายว่า สรรเสริญ.
ถามว่า ยอมรับซึ่งอะไร ?
ตอบว่า ซึ่งการฉันอันไม่มีโทษนั้นของภิกษุนั้น.
ถามว่า สรรเสริญซึ่งอะไร ?
ตอบว่า ซึ่งการฉันแล้วบำเพ็ญสมณธรรม.
มีคำกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ว่า ถ้าภิกษุรูปนั้นฉันบิณฑบาตที่ควรฉัน
แล้วบำเพ็ญกิจที่ควรบำเพ็ญไซร้ ข้อว่าโดยที่แท้แล้วภิกษุรูปแรกโน้น
แหละของเราตถาคต ความว่า ภิกษุรูปแรกผู้ปฏิเสธบิณฑบาตนั้นแล้ว
บำเพ็ญสมณธรรมโน้นนั่นแลของตถาคต ดูเหมือนจะเป็นผู้แกล้วกล้า
กว่าในบรรดาสาวก 2 รูป ของตถาคตซึ่งเป็นผู้แกล้วกล้า และดูเหมือน
จะเป็นบัณฑิตกว่าในบรรดาสาวก 2 รูปผู้เป็นบัณฑิตของเราตถาคต ชื่อว่า
เป็นผู้น่าบูชากว่าและน่าสรรเสริญกว่า มีคำอธิบายไว้ว่า น่าบูชาและน่า
สรรเสริญยิ่งกว่าภิกษุรูปที่ 2.

เหตุที่น่าบูชากว่าและน่าสรรเสริญกว่า


บัดนี้ เมื่อจะยกเหตุ ( การณะ ) ขึ้นมาขยายความนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า
จึงตรัสคำว่า ตํ กิสฺส เหตุ ดังนี้เป็นต้น.
คำนั้นมีอธิบาย (เพิ่มเติม) ว่า ในข้อนั้น เธอทั้งหลายคงมี
(ข้อกังขา) ว่า เพราะเหตุไร ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้น่าบูชากว่าน่าสรรเสริญ