เมนู

คำจำกัดความที่ที่ปราศจากของสดเขียว


บทว่า สเจ อากงฺขถ ความว่า ถ้าเธอทั้งสองปรารถนาไซร้
บทว่า อปฺปหริเต แปลว่า ปราศจากของเขียวสดที่งอกขึ้นแล้ว
อธิบายว่า ในที่ที่ไม่มีหญ้าซึ่งธรรมดาจะต้องตายไปเพราะถูกก้อนข้าวที่ตก
ลงไปทับ ในที่ที่แม้จะทิ้งบิณฑบาตไปเป็นเล่มเกวียน หญ้าทั้งหลายก็
ไม่ตายหมด ที่นั้นจะไม่มีหญ้าเลยก็ตาม มีหญ้ามากก็ตาม ย่อมเป็นอัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดถึงแล้วด้วยบทว่า อปฺปหริเต นั้น ก็บท
ว่า อิปฺปหริเต นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อไม่ให้ภิกษุละเมิด
ภูตคามสิกขาบท.
บทว่า อปฺปาณเก แปลว่า ไม่มีสัตว์เล็ก คือในน้ำจำนวนมาก
ซึ่งปราศจากสัตว์เล็กที่จะต้องตาย เพราะถูกก้อนข้าวที่ตกลงไป เป็นความ
จริง เมื่อน้ำน้อยคละเคล้า ด้วยการใส่ข้าวลงไปเท่านั้น พวกสัตว์เล็ก ๆ
จึงจะตาย ( แต่ ) ในสถานที่ทั้งหลายมีสระใหญ่เป็นต้น พวกสัตว์เล็ก ๆ
จะไม่ตาย เพื่ออนุรักษ์สัตว์มีชีวิตดังกล่าวมานี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสไว้อย่างนี้.
บทว่า โอปิลาเปสฺสามิ แปลว่า จักทิ้ง ความว่า จักให้จมลง
บทว่า ตตฺเรกสฺส ความว่า ในบรรดาภิกษุ 2 รูปนั้น รูปหนึ่ง
(ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า. . . ) แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาภิกษุ
รูปนั้น คือรูปที่ตั้งใจฟังธรรมเทศนาน แล้วน้อมนึกถึงบ่อย ๆ

ความหมายของวุตฺตศัพท์


ในคำว่า วุตฺตํ โข ปเนตํ มีอธิบายว่า วุตฺต ศัพท์นี้ (ใช้ใน

ความหมายต่าง ๆ กัน) คือ :-
1. ใช้ในควานหมายว่า ปลงผม บ้าง (เช่น) ในประโยค
เป็นต้นว่า มาณพหนุ่มชื่อว่า กาปติกะ โกนหัวแล้ว.
2. ใช้ในความหมายว่า เพาะปลูก บ้าง (เช่น ) ในประโยค
เป็นต้น ว่า พืชที่งอกในสรทกาลปลูกลงไปในไร่นาแล้วย่อมงอกขึ้น ฉันใด.
3. ใช้ในความหมายว่า กล่าว บ้าง (เช่น) ในประโยคเป็นต้น
ว่า คำนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสไว้แล้ว.
แต่ในที่นี้ นักศึกษาพึงเห็นว่าใช้ในควานหมายว่า กล่าว. ก็คำว่า
วุตฺตํ โข ปเนตํ นั้นมีอธิบายดังนี้ว่า กถิตํ โข ปเนตํ แปลว่า
(แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ ไว้แล้วนะว่า. . . ).
บทว่า อามิสญฺญตรํ ความว่า อามิสคือปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่ง
บรรดาอามิสคือปัจจัย 4 อธิบายว่า อามิสคือปัจจัยอย่างหนึ่ง.
บทว่า ยทิทํ เป็นนิบาต ( และ ) มีรูปเป็นเช่นนั้นนั่นแหละ
ในทุกลิงค์ วิภัตติ และทุกวจนะ นักศึกษาพึงใช้ให้ถูกความหมาย ในลิงค์
วิภัตติและวจนะนั้น ๆ. แต่ว่าในที่นี้ บทว่า ยทิทํ นั้น มีความหมายเท่า
โย เอโส. นีคำอธิบายไว้ว่า ชื่อว่าบิณฑบาต นั่นใด บิณฑบาตนี้เป็น
อามิสอย่างหนึ่ง.
บทว่า ยนฺนูนาหํ ได้แก่ สาธุ วตาหํ (แปลว่า ดีละหนอ
เรา. . . ).
บทว่า เอวํ ความว่า แม้ปล่อยวันคืน (ให้ล่วงไป ) เหมือน
อย่างที่บุคคลปล่อยขณะนี้ให้ล่วงไปอยู่ในบัดนี้.
บทว่า วีตินาเมยฺยํ แปลว่า พึง. . . ให้สิ้นไป คือ พึงให้ล่วง

เลยไป.
บทว่า โส ตํ ปิณฺฑปาตํ ความว่า ภิกษุนั้นไม่ฉันบิณฑบาต
นั้น แบบที่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลกพึงรับไว้ด้วยเศียรเกล้าที่เหลือจากที่
พระสุคต (เสวย ) หวังอยู่ซึ่งความเป็นธรรมทายาท พิจารณาถึงข้อ
อุปมาด้วยบุคคลที่ถูกไฟไหม้ศีรษะแล้ว พึงปล่อยให้คืนและวันนั้นล่วงไป
อย่างนั้น ด้วยความหิวและความอ่อนกำลังนั้นเอง.

บิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน 5 อย่าง


ก็ในวาระนี้ว่า อถ ทุติยสิส มีความย่อดังต่อไปนี้ ถ้าภิกษุนั้นเมื่อ
จะคิดว่า ดีละ เรา ฯลฯ พึงยังคืนและวันให้ล่วงไป ก็พึงคิดอย่างนี้ด้วยว่า
การที่บรรพชิตจะแสวงหาบิณฑบาตในหมู่บ้านที่เกลื่อนกล่นด้วยสัตว์ร้ายคือ
เบญจกามคุณเป็นการยากลำบาก เช่นเดียวกับการแสวงหาเภสัชในป่าซึ่ง
ชุกชุมไปด้วยสัตว์ร้าย แต่ว่าบิณฑบาตนี้พ้นโดยสิ้นเชิงจากโทษในการ
แสวงหาดังว่ามานี้ และเป็นบิณฑบาตที่เป็นเดนของพระสุคต เพราะฉะนั้น
จึงเป็นเหมือนขัตติยกุมารผู้อุภโตสุชาต ( มีพระราชสมภพดีแล้วจากทั้ง
สองฝ่าย คือฝ่ายพระชนกและฝ่ายพระชนนี ).
อนึ่ง บิณฑบาตเป็นของภิกษุไม่ควรฉัน เพราะเหตุ 5 ประการ
เหล่าใดคือ.
1. เป็นของไม่ควรฉัน เพราะบุคคล ( ผู้ถวาย ) มีข้อน่าตำหนิ
คือเป็นบิณฑบาตของบุคคลอลัชชี.
2. เป็นของไม่ควรฉัน เพราะบิณฑบาตมีการเกิดขึ้นไม่บริสุทธิ์ คือ
เกิดขึ้นมาจากการแนะนำของนางภิกษุณี และจากการสรรเสริญคุณที่ไม่มี