เมนู

อริยวงศ์ 4 ภิกษุรูปนี้ชื่อว่าธรรมทายาท ขอเธอทั้งหลายจงเป็นเช่นนั้น
เถิด.

ตถาคตอนุเคราะห์สาวก


บัดนี้ ก็ชนเหล่าใดได้มีความวิตกดังนี้ว่า ในอนาคตกาลจักมีหรือ
ไม่หนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ไม่ทรงประสงค์ให้พระสาวกทั้งหลายได้
ลาภจึงตรัสอย่างนี้ เพื่อจะทรงแสดงแก่ชนเหล่านั้นว่า พระตถาคตเจ้า
ประสงค์จะให้พระสาวกทั้งหลายได้ลาภอันประณีตยิ่ง ( กว่านี้ ) จึงกล่าว
อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส ว่า อตฺถิ เม ตุเมฺหสุ ฯ ล ฯ ใน
อามิสทายาทา
ดังนี้ (เราตถาคตมีความอนุเคราะห์ในเธอทั้งหลาย ฯ ล ฯ
ไม่เป็นอามิสทายาท).
พระพุทธดำรัสนั้นมีอรรถาธิบายดังนี้ว่า ตถาคตมีความอนุเคราะห์
ความเอ็นดู ความมุ่งหวัง เกื้อกูล ในเธอทั้งหลายว่า ด้วยเหตุอะไรหนอ
ด้วยอุบายอะไรหนอ พระสาวกทั้งหลายจึงจะเป็นธรรมทายาท เป็นเจ้าของ
ส่วนแห่งธรรม ไม่เป็นอามิสทายาท.
อนึ่ง ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
เห็นนักบวชหลายร้อยจำพวก เป็นต้นว่าภิกษุภิกษุณีและนางสิกขมานาใน
อดีตกาล (ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน) มีหลักฐานปรากฏ
มาโดยนัยว่า แม้สังฆาฏิของกบิลภิกษุก็ถูกไฟลุกไหม้ ดังนี้เป็นต้น และ
นักบวชในศาสนาของพระองค์เองเช่นพระเทวทัตเป็นต้น ซึ่งเป็นผู้เห็น
แก่อามิสถลำเข้าไปในอามิส (ตายแล้วไปบังเกิดในอบายภูมิ จนเต็ม
อบายภูมิ) แต่ทรงเห็นพระสาวกผู้หนักในธรรมมีพระสารีบุตร พระ

มหาโมคคัลลานะและพระมหากัสสปะ เป็นต้น กลับได้บรรลุคุณมี
อภิญญาและปฏิสัมภิทาเป็นอาทิ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ปรารถนาให้พระสาวกเหล่านั้นหลุดพ้นอย่างสิ้นเชิงไปจากอบายภูมิและ
ได้บรรลุคุณธรรมทั้งหมดจึงตรัสว่า อตฺถิ เม ตุเมฺหสุ อนุกมฺปา
กินฺติ เม สาวกา ธมฺมทายาทา ภเวยฺยํ โน อามิสทายาทา

(ตถาคตมีความอนุเคราะห์ในเธอทั้งหลาย ทำอย่างไรหนอ สาวกของ
ตถาคตจึงจะเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาท) ดังนี้.
ก็ภิกษุผู้เห็นแก่ปัจจัย ย่อมสิ้นเดชอับแสงระหว่างบริษัท 4 คล้ายกับ
กหาปณะเก๊และเถ้าถ่านไฟที่ดับแล้วฉะนั้น (ส่วน) ภิกษุผู้มีจิตหวนกลับ
จากปัจจัยนั้น เป็นผู้หนักในธรรม ประพฤติครอบงำอามิสอยู่เป็นนิตย์ ย่อม
มีเดช ( สง่าราศี ) คล้ายกับราชสีห์ฉะนั้น เพราะเหตุนั้นเอง พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
จึงตรัสอย่างนี้ว่า อตฺถิ เม ฯ เป ฯ โน อามิสทายาทา
ดังนี้ ( เราตถาคคมี ฯลฯ อย่าเป็นอามิสทายาท ).
ครั้นทรงชี้แจงให้เข้าใจว่า พระพุทธดำรัสนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ขอเธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของตถาคตเถิด อย่าเป็นอามิสทายาท
เลย ตถาคตปรารถนาให้เหล่าพระสาวกได้ลาภที่ประณีตกว่า ตรัส
ไว้แล้วด้วยความอนุเคราะห์ หาใช่ไม่ต้องการให้พระสาวกได้ลาภไม่
อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงโทษในเพราะไม่ยอมทำตามพระโอวาทนี้ ใน
บัดนี้จึงตรัสว่า ตุเมฺห จ เม ภิกฺขเว ฯ เปฯ โน ธมฺมทายาทา
ดังนี้ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ถ้าเธอทั้งหลาย ฯลฯ ไม่พึงเป็นธรรม
ทายาทของตถาคตไซร้).
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตุเมฺหปิ เตน อาทิสฺสา ภเวยฺยาถ

มีความว่า แม้พวกเธอก็จะพึงถูกรังเกียจโดยความเป็นอามิสทายาทนั้น หา
ถูกรังเกียจโดยความเป็นธรรมทายาทไม่ มีคำอธิบายว่า เธอทั้งหลายพึง
ถูกเหยียดหยาม คือถูกกระทำ ได้แก่กำหนดไว้ต่างหาก (ถูกกันไว้
ต่างหาก ) หมายความว่า ถูกวิญญูชนติเตียน.
ติเตียนว่าอย่างไร ?
ติเตียนว่า เหล่าสาวกของพระศาสดาเป็นอามิสทายาทอยู่ หาเป็น
ธรรมทายาทอยู่ไม่.
บทว่า อหมฺปิ เตน อาทิสฺโส ภเวยฺยํ ความว่า ถึงเรา
ตถาคตก็จะพึงถูกตำหนิได้ โดยที่ทำให้เธอทั้งหลายเป็นอามิสทายาทนั้น
หาถูกตำหนิโดยที่เธอทั้งหลายเป็นธรรมทายาทไม่.
ถูกตำหนิว่าอย่างไร ?
ถูกตำหนิว่า เหล่าสาวกของพระศาสดาอยู่อย่างเป็นอามิสทายาท หา
อยู่อย่างเป็นธรรมทายาทไม่.
คำตำหนินี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ก็เพื่อทำให้ภิกษุทั้งหลาย
เหล่านั้นกลายเป็นคนอ่อนโยนอย่างยิ่งทีเดียว.
ก็ในพระพุทธดำรัสตอนนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ถ้าเธอทั้งหลายจักลุ่มหลงในอามิสท่องเที่ยวไป ในเพราะความลุ่มหลง
อามิสของพวกเธอนั้น วิญญูชนทั้งหลายก็จักพากันติเตียนตถาคตว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระสัพพัญญู (รู้ทุกสิ่ง) ไฉนจึงไม่สามารถ
ทำเหล่าสาวกของพระองค์ให้เป็นธรรมทายาท ไม่ให้เป็นอามิสทายาท
ได้เล่า เปรียบเหมือน (เมื่อ) ชาวโลกเห็นพระมีมรรยาทไม่เหมาะสม

ย่อมติเตียนถึงอาจารย์และอุปัชฌาย์ว่า ท่านเหล่านี้เป็นสัทธิวิหาริกของ
ใคร ? เป็นอันเตวาสิกของใคร่ อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือน (ผู้ใหญ่)
เห็นเด็กชายหรือเด็กหญิงที่มีตระกูล เป็นคนไม่ดีมีความประพฤติเสียหาย
ย่อมติเตียนถึงบิดามารดาว่า เด็กพวกนี้เป็นลูกชายลูกสาวของใคร ฉันใด
วิญญูชนทั้งหลายก็จักติเตียนตถาคต. ฉันนั้นเหมือนกัน คือ จักติเตียนว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระสัพพัญญู ไฉนจึงไม่ทรงสามารถทำเหล่า
สาวกของพระองค์ให้เป็นธรรมทายาท ไม่ให้เป็นอามิสทายาทได้เล่า ?
ครั้นทรงแสดงโทษในการไม่ยอมทำตามพระพุทธโอวาทนี้อย่างนี้
แล้ว เมื่อจะทรงแสดงอานิสงส์ในการยอมทำตาม พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า ตุเมฺห จ เม ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหมฺปิ เตน อาทิสฺโส น ภเวยฺยํ
ความว่า อุปมาเสมือนว่าชาวโลกเห็นพวกภิกษุหนุ่มประพฤติวัตรบริบูรณ์
ถึงพร้อมด้วยอุเทศและปริปุจฉา (การเรียนและการสอบถาม) มี
อากัปปกิริยาเหมาะสมเหมือนหนึ่งพระเถระร้อยพรรษา จึงถามว่า ท่าน
เหล่านี้เป็นสัทธิวิหาริกของใคร่ เป็นอันเตวาสิกของใคร? เมื่อมีคน
บอกว่า ของอาจารย์และอุปัชฌาย์รูปโน้นก็จะพากันสรรเสริญว่า พระเถระ
ช่างอาจสามารถตักเตือนพร่ำสอน อาจารย์และอุปัชฌาย์ย่อมไม่ถูกตำหนิ
ไม่ถูกติเตียนฉันใด แม้เราตถาคต ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ โดยความ
ที่เธอทั้งหลายเป็นธรรมทายาทนั้น ไม่ใช่โดยความที่เธอทั้งหลายเป็น
อามิสทายาท ชาวโลกก็จะพากันถามว่า สาวกของใครกันนะปฏิบัตินาลก-
ปฏิปทา ปฏิบัติตุวฏกปฏิปทา ปฏิบัติจันทูปมปฏิปทา ปฏิบัติรถวินีต-
ปฏิปทา ปฏิบัติมหาโคสิงคสาลปฏิปทา ปฏิบัติมหาสุญญตาปฏิปทา เป็น

พยานในอริยวงศ์ ซึ่งมีความสันโดษในปัจจัย 4 และภาวนาเป็นที่มา
ยินดี มีใจหลีกออกห่างจากความกำหนัดในปัจจัยอยู่ไป เปรียบเหมือน
ดวงจันทร์ที่พ้นจากเมฆหมอก เมื่อมีคนบอกว่า สาวกของพระสมณโคดม
ก็จะพากันสรรเสริญว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระสัพพัญญูแท้หนอ
ได้ทรงสามารถแท้หนอ ที่จะทรงแนะนำเหล่าสาวกให้ละทิ้งอามิสทายาท
ปฏิปทาแล้วหันมาบำเพ็ญข้อปฏิบัติของผู้เป็นธรรมทายาท พระองค์ย่อม
ไม่ถูกวิญญูชนทั้งหลายตำหนิติเตียนอย่างนี้แล นักศึกษาทราบคำอธิบาย
ในบทนี้อย่างนี้ รายละเอียดที่ยังเหลือ พึงทราบโดยนัยที่ตรงกันข้ามจาก
นัยที่กล่าวแล้วในกัณหปักษ์ ( ฝ่ายที่ไม่ดี ).

ปวารณา 4


ครั้นทรงแสดงอานิสงส์ในการย่อมทำตามพระโอวาทนี้อย่างนี้แล้ว
บัดนี้ เมื่อจะทรงมอบพระโอวาทนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ตสฺมาติห เม ภิกฺขเว ฯ เป ฯ โน อามิสทายาทา ดังนี้.
[22] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงมอบพระพุทธโอวาทนี้อย่างนี้
แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงชมเชยเหล่าภิกษุผู้บำเพ็ญข้อปฏิบัติของผู้เป็นธรรม-
ทายาทนั้น จึงมีพุทธดำรัสมีอาทิว่า อิธาหํ ภิกฺขเว ดังนี้.
จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลายพอได้ฟังคำตรัสชมของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว ต่างย่อมพากันปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้นทีเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ นี้ เป็นบทนิบาต.
บทว่า ภุตฺตาวี แปลว่า เสวยแล้วเสร็จ อธิบายว่า ทรงกระทำ
ภัตตกิจแล้ว.