เมนู

อรรถกถาธรรมทายาทสูตร


เหตุเกิดพระสูตร


[20] ธรรมทายาทสูตรมีคำเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ. ก็เพราะ
เหตุที่ธรรมทายาทสูตรนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นแสดงตามที่มีเรื่อง
เกิดขึ้น ฉะนั้น ข้าพเจ้า (พระอรรถกถาจารย์) จักแสดงเหตุเกิดพระสูตร
นั้นแล้ว จึงจะกระทำการขยายความพระสูตรนั้นไปตามลำดับบท.
ถามว่า ก็ธรรมทายาทสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นแสดง
เพราะมีเรื่องอะไรเกิดขึ้นเล่า ?
ตอบว่า เรื่องลาภสักการะ.
ดังได้สดับมาว่า ลาภสักการะเป็นอันมากเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
โดยที่ได้ทรงสั่งสมทานบารมีให้บริบูรณ์แล้วดัง 4 อสงไขย-
เป็นความจริง (เพราะ) พระบารมีทุกข้อเป็นเหมือนมาจับกลุ่ม (ตกลง
กัน) ว่า จักให้ผลในอัตภาพเดียวกันนี้แหละ ดังนี้แล้วให้บังเกิดเป็น
ห้วงน้ำใหญ่คือลาภสักการะ ประดุจมหาเมฆที่จับกลุ่มกันเป็นคู่ ๆ ก่อตัว
ขึ้นในทุกทิศแล้ว ( ตกลงมา ) ให้บังเกิดเป็นห้วงน้ำใหญ่ฉะนั้น.
ประชาชนต่างวรรณะมีกษัตริย์และพราหมณ์เป็นต้นมีมือถือข้าว น้ำ
ยาน ผ้า พวงดอกไม้ ของหอม และเครื่องไล้ทาเป็นต้นมาจากที่นั้นๆ
( ที่ต่าง ๆ กัน ) แล้วพากันถามหาพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้า
ประทับอยู่ที่ไหน ? พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ไหน ? พระผู้เป็น
เทพของเทพ พระผู้เป็นนระผู้อาจหาญ พระผู้เป็นบุรุษประดุจราชสีห์

ประทับอยู่ที่ไหน ?
ประชาชนเหล่านั้นแม้ใช้เกวียนตั้งหลายร้อยเล่มบรรทุกปัจจัยมา เมื่อ
ยังไม่ได้โอกาสเข้าเฝ้าก็จะจอดเกวียนคอยเรียงรายติดกันโดยรอบ กินเนื้อ
ที่เป็นคาวุต เช่นอันธกวินทพราหมณ์เป็นต้น เป็นตัวอย่าง. รายละเอียด
ทั้งหมด นักศึกษาจะพึงทราบได้ ตามนัยที่มาแล้วในขันธกะ (หมวด )
และในสูตรนั้น.
และพระผู้มีพระภาคเจ้ามีลาภสักการะเกิดขึ้นมากฉันใด พระภิกษุ
สงฆ์ก็มีฉันนั้นเหมือนกันแล. ข้อนี้สมด้วยคำอ้างที่พระอานนทเถระกล่าว
ไว้ดังนี้ว่า ก็ในสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้อันมหาชนถวาย
สักการะแสดงความเคารพนับถือบูชานอบน้อม ( และ ) ทรงได้รับจีวร
บิณฑบาตเสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอยู่เป็นประจำ ฝ่ายภิกษุ
สงฆ์แล ( ก็เช่นกัน) คือ เป็นผู้อันมหาชนถวายสักการะ ฯ ล ฯ
(และ) ได้รับ...............บริขารอยู่ประจำ.
พระผู้มีพระภาคเองก็ตรัสไว้เหมือนกันว่า ดูก่อนจุนทะ หมู่หรือ
คณะที่อุบัติขึ้นโนโลกในบัดนี้ มีอยู่จำนวนเท่าใด (บรรดาหมู่หรือคณะ
เหล่านั้น ) หมู่หรือคณะอื่นแม้แต่หมู่หนึ่ง ตถาคตก็ยังมองไม่เห็นเลยที่จะ
ได้รับลาภอันเลิศและยศอันเลิศเหมือนกับหมู่ภิกษุ นะจุนทะ ลาภสักการะ
นี้นั้นที่เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ รวมกันแล้วเป็นของ
ประมาณไม่ได้ เหมือนน้ำของแม่น้ำใหญ่ 2 สายที่ไหลมารวมเป็นสายเดียว
กันก็เป็นของประมาณไม่ได้ฉะนั้น.
ภิกษุทั้งหลายได้กลายเป็นผู้หนักในปัจจัย ติดในปัจจัย หมกมุ่น
ในปัจจัย ตามลำดับ แม้เมื่อเวลาหลังภัตร ( หลังฉันอาหารแล้ว ) เมื่อ

ประชาชนนำไทยธรรม มีน้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น มาถวาย
ภิกษุเหล่านั้นครั้นเคาะระฆังแล้ว ก็ส่งเสียงเอ็ดอึงว่า ถวายแก่อาจารย์ของ
อาตมานะ ถวายแก่อุปัชฌาย์ของอาตมานะ และพฤติกรรมนั้นของภิกษุเหล่า
นั้นก็ได้ปรากฏ (ล่วงรู้) ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ลำดับนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า
ทรงเกิดธรรมสังเวชว่า ช่างไม่เหมาะเอาเสียเลย แล้วทรง
ดำริว่า ตถาคตไม่สามารถจะบัญญัติสิกขาบท (ห้าม) ว่า ปัจจัยเป็นของ
ไม่สมควร เนื่องจากการบำเพ็ญสมณธรรมของกุลบุตรทั้งหลายต้องอาศัย
ปัจจัย แต่เอาเถอะตถาคตจักแสดงธรรมทายาทปฏิปทา ( ข้อปฏิบัติของผู้
เป็นธรรมทายาท) ซึ่งก็จักเป็นเหมือนการบัญญัติสิกขาบทแห่งกุลบุตร
ทั้งหลายผู้ใคร่ต่อการศึกษา และจักเป็นเหมือนกระจกสำหรับส่องดูได้ทั่ว
ตัวที่ติดตั้งไว้ที่ประตูเมือง.
อธิบายว่า ประชาชน 4 วรรณะ เห็นเงา (รูป) ของตนใน
กระจกสำหรับส่องดูได้ทั่วตัวซึ่งติดตั้งไว้ที่ประตูเมือง ย่อมขจัดโทษ (สิ่ง
ที่ทำให้หมดความสวยงาม ) แล้วกลับกลายเป็นผู้ไม่มีโทษฉันใด กุลบุตร
ทั้งหลาย ผู้ใคร่ต่อการศึกษาก็ฉันนั้นเหมือนกัน (คือ) ประสงค์จะ
ประดับประดาตนด้วยเครื่องประดับคือความเพียร มาน้อมนึกถึงเทศนาซึ่ง
อุปมาด้วยกระจกส่องดูได้ทั่วตัว แล้วต่างพากันละเว้นอามิสทายาทปฏิปทา
หันมาบำเพ็ญธรรมทายาทปฏิปทา ก็จัก ( สามารถ ) ทำชาติชรามรณะให้
สิ้นสุดไปได้โดยฉับพลันทีเดียว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้ไว้
ก็เพราะมีเรื่องอย่างนี้เกิดขึ้น.

ธรรมทายาท และอามิสทายาท


ในพระสูตรนั้น พระดำรัสที่ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงเป็นธรรมทายาทของตถาคตเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย ดังนี้ มีคำ
อธิบายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขอเธอทั้งหลายจงเป็นทายาทแห่งธรรมของ
ตถาคตเถิด อย่าเป็นทายาทแห่งอามิสเลย คือ ธรรมะของตถาคตอันใด
ขอเธอทั้งหลายจงเป็นผู้รับไว้ซึ่งธรรมะอันนั้นเถิด ส่วนตถาคตมีอามิสใด
แล ของเธอทั้งหลายอย่ารับซึ่งอามิสนั้นเลย.
ในพระดำรัสนั้น แม้ธรรมก็มีอยู่ 2 อย่าง คือ นิปปริยายธรรม
(ธรรมโดยตรง) 1 ปริยายธรรม (ธรรมโดยอ้อม) 1 ฝ่ายอามิสก็มี
อยู่ 2 อย่าง (เช่นกัน) คือ นิปปริยายอามิส (อามิสโดยตรง) 1
ปริยายอามิส (อามิสโดยอ้อม) 1.
ทั้งธรรมและอามิสนั้น มีอธิบายเป็นอย่างไร ?
มีอธิบายว่า โลกุตตรธรรมทั้ง 9 อย่างซึ่งแยกประเภทเป็นมรรค
(4) ผล (4) และนิพพาน (1) ชื่อว่า นิปปริยายธรรม คือธรรมที่
ผู้ปฏิบัติให้บังเกิด (กับตนได้โดยตรง) ทีเดียว ไม่ใช่เป็นธรรมโดย
ปริยาย (โดยอ้อม) คือ โดยเหตุหรือโดยเลสอะไร. ส่วยกุศลที่อิงอาศัย
วิวัฏฏะ (นิพพาน) นี้ เช่นคนบางคนในโลกนี้ปรารถนาอยู่ซึ่งวิวัฏฏะ
จึงให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทำการบูชาพระรัตนตรัยด้วย
สักการะทั้งหลายมีเครื่องหอมและพวงดอกไม้เป็นต้น ฟังธรรม (และ)
แสดงธรรม ทำฌานและสมาบัติให้บังเกิด เขาทำอยู่ย่างนี้ ย่อมได้
นิปปริยายธรรม คืออมตนิพพานโดยลำดับ. ก็ธรรมดังว่ามานี้แหละ
ซื่อว่าปริยายธรรม.