เมนู

พรรณนาอาสวธรรมที่พึงละด้วยทัสสนะ


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะทรงจะกระทำให้แจ้งซึ่ง
บทเหล่านั้นโดยลำดับ จึงทรงตั้งปัญหาว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน
ที่ควรละด้วยทัสสนะ ดังนี้แล้ว ทรงเริ่มเทศนาอันเป็นปุคคลาธิฏฐานว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มีได้สดับในธรรมวินัยนี้ โดยนัยดังกล่าวแล้ว
ในอรรถกถามูลปริยายสูตร. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนสิกรณีเย
ธมฺเม นปฺปชานาติ
ความว่า ย่อมไม่รู้จักธรรมที่ควรน้อมนึก คือที่ควร
นำมาพิจารณา. บทว่า อนนสิกรณีเย ความว่า ย่อมไม่รู้จักธรรมที่ตรง
กันข้าม ในบทที่เหลือก็นัยนี้. ก็เพราะการกำหนดโดยธรรมว่า ธรรม
เหล่านี้ควรใส่ใจ ธรรมเหล่านี้ ไม่ควรใส่ใจ ดังนี้ ไม่มี แต่การกำหนด
โดยอาการมีอยู่ คือธรรมทั้งหลายที่ภิกษุใส่ใจอยู่โดยอาการใด จึงเป็น
ปทัฏฐานแห่งการยังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม ภิกษุไม่ควรทำ การใส่ใจ
ธรรมเหล่านั้นโดยอาการนั้น ธรรมทั้งหลายที่ภิกษุใส่ใจโดยอาการใด
จึงเป็นปทัฏฐานแห่งการนั่งเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรม ธรรมเหล่านี้ภิกษุควร
ใส่ใจโดยอาการนั้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นต้นว่า
ยสฺส ภิกฺขเว ธมฺเม มนสิกโรโต อนุปฺปนฺโน วา กามาสโว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส ความว่า อาสวะเหล่าใดของ
ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วนั้น. บทว่า นนสิกโรโต ความว่า ผู้ระลึก คือ
นำมาพิจารณา. วา ศัพท์ ในบทว่า อุปฺปนฺโน วา กามสโว นี้ มี
สมุจจยะเป็นอรรถ หาได้มีวิกัปเป็นอรรถไม้. ฉะนั้น พึงเห็นเนื้อความ
ในที่นี้ว่า กามาสวะ ที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น กามาสวะที่เกิดขึ้นแล้ว

ย่อมเจริญ เหมือนเมื่อพระองค์ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย
ไม่มีเท้าก็ตาม มี 2 เท้าก็ตาม มีประมาณเท่าใด ฯลฯ ตถาคตกล่าว
รอยเท้าช้างว่าเป็นยอดแห่งสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้ ย่อมได้ความว่า
สัตว์ไม่มีเท้าและสัตว์ 2 เท้า. และเหมือนเมื่อพระองค์ตรัสว่า เพื่อความ
ดำรงอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดมาแล้วบ้าง เพื่ออนุเคราะห์สัตว์ผู้เป็นสัมภ-
เวสีบ้าง ย่อมได้ความว่า ภูตและสัมภเวสี และเหมือนเนื้อพระองค์
ตรัสว่า จากไฟบ้าง จากน้ำบ้าง จากการขาดความสามัคคีบ้าง ย่อมได้
ความว่า จากไฟ จากน้ำ และจากการขาดความสามัคคี ดังนี้ . แม้ใน
บทนี้ว่า ยสฺส ภิกฺขเว ธมฺเม มนสิกโรโต อนุปฺปนฺโน วา กามาสโว
ก็พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า อนุปฺปนฺโน จ กามาสโว อุปฺปชฺชติ
อุปฺปนฺโน จ กามาสโว ปวทฺฒติ
(กามาสวะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
และกามาสวะที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญ ). ในบทที่เหลือก็อย่างนี้เหมือนกัน.
บรรดาอาสวะเหล่านั้น ความกำหนัดอันประกอบด้วยกามคุณ 5 ชื่อว่า
กามาสวะ. ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปภพ และความพอ
ใจในฌานซึ่งประกอบด้วยสัสสตทิฏฐิ และ อุจเฉททิฏฐิ ชื่อว่า ภวาสวะ.
แม้ทิฏฐาสวะ. ย่อมรวมลงในภวาสวะเหมือนกันด้วยอาการอย่างนี้. ความ
ไม่รู้ในสัจจะทั้ง ชื่ออวิชชาสวะ. บรรดาอาสวะเหล่านั้น กามาสวะ
ซึ่งยังไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญแก่ผู้ที่ยินดีคือใส่ใจในกามคุณ.
ภวาสวะที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญแก่ผู้ที่ยินดี
ชอบใจคือใส่ใจในมหัคคตธรรม. อวิชชาสวะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิด ที่เกิด
แล้วก็ย่อมเจริญแก่ผู้ที่ใส่ใจในธรรมอันเป็นไปในภูมิ 3 โดยธรรมเป็น
ปทัฏฐานแห่งวิปัลลาส 4 พึงทราบเนื้อความดังกล่าวมาอย่างนี้. ธรรม

ฝ่ายขาวควรให้พิสดารโดยความเป็นข้าศึกกับธรรมตามนัยที่กล่าวแล้ว.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไรในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
อาสวะไว้ 3 เท่านั้น?
ตอบว่า เพราะเป็นข้าศึกต่อวิโมกข์.
ความจริง กามาสวะเป็นปฏิปักษ์ต่ออัปปณิหิตวิโมกข์. ภวาสวะ
และอวิชชาสวะนอกนี้ เป็นปฏิปักษ์ต่ออนิมิตตวิโมกข์ และสุญญตวิโมกข์
ฉะนั้น พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนี้ว่า
เหล่าชนผู้ให้อาสวะทั้ง 3 เหล่านี้เกิดขึ้น ย่อมเป็นผู้ไม่มีส่วนแห่งวิโมกข์ทั้ง 3
เหล่านั้น ชนที่ไม่ให้อาสวะเหล่านี้เกิดขึ้น ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งวิโมกข์
ทั้ง 3 ดังนี้ จึงตรัสวิโมกข์ไว้ 3 เท่านั้น. คำนี้ว่า อีกอย่างหนึ่ง แม้
ทิฏฐาสวะก็เป็นอันพระองค์ตรัสไว้แล้วในอาสวกถานี้เหมือนกัน ดังนี้ เป็น
อันพรรณนาไว้แล้ว. บทว่า ตสฺส อมนสิกรณียานํ ธมฺมานํ มนสิการา
ความว่า เพราะเหตุแห่งการใส่ใจ อธิบายว่า เพราะเหตุที่ใส่ใจซึ่งธรรม
เหล่านั้น. แม้ในบทที่ 2 ก็นัยนี้. คำว่า อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น
ย่อมเกิดขึ้น และอาสวะทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญ ดังนี้ นี้เป็น
คำกล่าวย้ำโดยไม่เเตกต่างกันแห่งอาสวะทั้งหลายที่กล่าวแล้วในหนหลัง.
ปุถุชนนี้ใด ผู้มิได้สดับอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว เพื่อ
ทรงชี้แจงอาสวะที่พึงละด้วยเทศนาอันเป็นปุคคลาธิฏฐาน เพราะเหตุ
ที่ปุถุชนนั้นเป็นที่ตั้งแม้แห่งอาสวะทั้งหลาย มีกามาสวะเป็นต้นที่มีการ
ใส่ใจโดยอุบายไม่แยบคาย เป็นปัจจัยซึ่งตรัสไว้โดยเป็นสามัญธรรมดา
อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุใส่ใจโดยอุบายไม่แยบคาย
อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ฉะนั้น ครั้นทรงแสดงอาสวะ

แม้เหล่านั้นโดยบุคคลนั้นนั่นแล ด้วยคำเพียงเท่านี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรง
แสดงอาสวะที่พึงละด้วยทัสสนะ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า โส เอวํ อโยนิโส
มนสิกโรติ อโหสึ นุ โข อหํ
ดังนี้ . ก็ในสูตรนี้ เมื่อจะทรงแสดง
แม้ทิฏฐาสวะด้วยยกวิจิกิจฉาขึ้นเป็นประธาน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง
เริ่มเทศนานี้. เนื้อความแห่งคำนั้นว่า อาสวะโดยนัยที่ตรัสแล้วอย่างนี้
ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่าเป็นปุถุชน ก็ปุถุชนนี้ใด พระองค์ตรัสไว้
โดยนัยเป็นต้นว่า อสฺสุตฺวา ดังนี้ ปุถุชนนั้นย่อมใส่ใจโดยไม่แยบคาย
คือโดยไม่ถูกอุบาย ได้แก่ไม่ถูกทาง.
ถามว่า ใส่ใจอย่างไร ?
ตอบว่า คือย่อมใส่ใจว่า เราได้มีแล้วหรือหนอ ฯลฯ สัตว์จักไปไหน
ดังนี้.
ถามว่า ท่านอธิบายไว้อย่างไร ?
ตอบว่า ท่านอธิบายไว้ว่า บุคคลนั้นย่อมใส่ใจโดยไม่แยบคาย โดย
ประการที่เขามีวิจิกิจฉาทั้ง 16 อย่าง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดย
นัยว่า อหํ อโหสึ นุ โข ดังนี้ เกิดขึ้น. บรรดาข้อกังขาเหล่านั้น
ข้อกังขาว่า อโหสึ นุโข น นุโข (เราได้มีแล้วหรือหนอหรือไม่ได้มี
แล้ว) ความว่า ปุถุชน สงสัยความมีและความไม่มีแห่งอัตตาในอดีตเพราะ
อาศัยอาการคือ สัสสตทิฏฐิและอาการที่เกิดขึ้นลอย ๆ คำว่า กํ การณํ
(เหตุไร ?) ไม่จำเป็นต้องกล่าว ( เพราะ) พาลปุถุชนมีพฤติกรรม
คุ้มดีคุ้มร้ายเหมือนคนบ้า. อีกอย่างหนึ่ง อโยนิโสมนสิการนั้นเองเป็นเหตุ
ในเรื่องนี้.
ถามว่า อะไรเป็นเหตุแห่งอโยนิโสมนสิการอย่างนี้.

ตอบว่า ความเป็นปุถุชนนั่นเองหรือกิจอันมีการไม่เห็นพระอริยเจ้า
ทั้งหลายเป็นต้นเป็นเหตุ.
ถามว่า ก็แม้ปุถุชนย่อมใส่ใจโดยแยบคาย (มีโยนิโสมนสิการ
เหมือนกัน) มิใช่หรือ หรือใครเล่ากล่าวอย่างนี้ว่า ปุถุชนไม่ทำไว้ในใจ
โดยแยบคาย (ไม่มีโยนิโสมนสิการ).1 ความเป็นปุถุชนไม่เป็นเหตุสำคัญ
ในข้อนั้น กรรมคือการฟังธรรมและความมีกัลยาณมิตรเป็นต้น (ต่างหาก)
เป็นเหตุสำคัญในข้อนี้. ความจริง ตามปกติของตน สัตว์มีปลาและเนื้อ
เป็นต้นไม่ได้มีกลิ่นหอม แต่กลายเป็นสัตว์มีกลิ่นหอมได้ เพราะมีเครื่อง
ปรุงแต่งเป็นปัจจัย.
บทว่า กึ นุ โข อโหสึ ความว่า ปุถุชนอาศัยชาติ ( กำเนิด)
เพศและการอุบัติจึงสงสัยว่า เราได้เป็นกษัตริย์แล้วหรือหนอแล ได้เป็น
บรรดาพราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์
อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วหรือหนอแล.
บทว่า กถํ นุโข ความว่า ปุถุชน ได้อาศัยอาการแห่งทรวดทรง
จึงสงสัยว่า เราได้เป็นคนสูงแล้วหรือหนอ ได้เป็นคนเตี้ย คนขาว คนดำ
คนมีขนาดพอดี คนที่ไม่ได้ขนาดแล้วหรือหนอแล. ส่วนอาจารย์บางพวก
ย่อมกล่าวว่า ปุถุชนอาศัยเหตุการเนรมิตของพระอิศวรเป็นต้น แล้วสงสัย
โดยเหตุว่า เราได้มีแล้วเพราะเหตุอะไรหนอแล.
บทว่า กึ หุตฺวา กึ อโหสึ ความว่า ปุถุชนอาศัยชาติ (กำเนิด)
เป็นต้น ย่อมสงสัยความสืบต่อของตนว่า เราเป็นกษัตริย์แล้วจึงได้มาเป็น
1. ปาฐะ เป็น โกว เอวมาห มนสิกโรตีติ แต่ฉบับพม่าเป็น โก วา เอวมาห น มนสิกโรตีติ
เห็นว่าจะถูกต้องดีกว่า จึงได้แปลตามฉบับพม่า.

พราหมณ์หรือหนอแล. ฯลฯ เป็นเทวดาแล้วจึงได้มาเป็นมนุษย์หรือ
หนอแล. คำว่า อทฺธานํ ในทุก ๆ บท เป็นคำที่ระบุถึงกาลเวลา.
บทว่า ภวิสฺสามิ นุโข น นุโข ความว่า ย่อมสงสัยความที่ตน
จะมีหรือจะไม่มีในอนาคตเพราะอาศัยอาการแห่งสัสสตทิฏฐิ และอาการ
อุจเฉททิฏฐิ. คำที่เหลือในสูตรนี้มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน.
บทว่า เอตรหิ วา ปจฺจุปฺปนฺนํ อทฺธานํ ความว่า หรือยึดปัจจุบัน
กาล แม้ทั้งหมดมีปฏิสนธิเป็นต้น มีจุติเป็นที่สุดในปัจจุบัน.
บทว่า อชฺฒตฺตํ กถํกถี โหติ ความว่า ปุถุชนย่อมเป็นผู้มีความ
สงสัยในขันธ์ทั้งหลายของตน. สงสัยอย่างไร1 ? สงสัยความที่ตนมีอยู่ว่า
เรามีอยู่หรือหนอแล.
ถามว่า ก็ข้อนี้ถูกแล้วหรือ?
ตอบว่า ในคำว่า ถูกหรือไม่ถูก นี้ จะมีความคิด (กังขา) ไป
ทำไม เออก็ในเรื่องนี้ มีเรื่องดังต่อไปนี้เป็นอุทาหรณ์. ได้ยินว่า ลูก
ของแม่เล็กโกนหัว (ส่วน) ลูกของแม่ใหญ่ไม่ได้โกนหัว พอลูกของแม่
ใหญ่นั้นหลับ ญาติทั้งหลายจึงช่วยกันโกนหัว. ลูกแม่ใหญ่นั้นพอตื่นขึ้น
ก็คิดว่า เราเป็นลูกของแม่เล็กหรือหนอ. ความสงสัยที่ว่า เรามีอยู่หรือ
หนอแล ก็เป็นอย่างนี้แหละ.
บทว่า โน นุ โขสฺมิ ได้แก่ปุถุชนย่อมสงสัยความที่ตนไม่มี.
แม้ในข้อนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้เป็นอุทาหรณ์. ได้ยินว่า คนจับปลา
คนหนึ่งคิดเห็นขาของตนซึ่งเย็นเพราะแช่อยู่ในน้ำนานว่าเป็นปลา จึงได้ตี
อีกคนหนึ่งเฝ้านาอยู่ใกล้ป่าช้ารู้สึกกลัวจึงนอนขดตัว. เขาตื่นขึ้นมาคิดว่า
1. ฉ. กินฺติ สทฺโท นตฺถิ.

เข่าของตนเป็นยักษ์ 2 ตน จึงได้ตี. เขาย่อมมีความสงสัยว่า หรือว่าเรา
ไม่มี (ไม่ใช่ตัวเรา) ดังนี้.
บทว่า กึ นุโข ได้แก่เขาเป็นกษัตริย์ (แต่) สงสัยความเป็น
กษัตริย์ของตน. ในบทที่เหลือก็นัยนี้. ส่วนผู้เกิดเป็นเทวดา ชื่อว่าไม่รู้
ความเป็นเทพย่อมไม่มี แม้เทวดานั้นก็ย่อมมีความสงสัยความเป็นเทวดานั้น
โดยนัยเป็นต้นว่า เรามีรูปหรือไม่มีรูปหนอ.
หากมีคำถามว่า กษัตริย์เป็นต้นไม่รู้ความเป็นกษัตริย์เป็นต้นเพราะ
เหตุอะไร?
พึงตอบว่า ความอุบัติในตระกูลนั้นๆ ของกษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้น
ไม่ประจักษ์. แม้คฤหัสถ์ทั้งหลาย มีพราหมณ์โปฏฐลิตะเป็นต้น ก็มี
ความสำคัญตัวเองว่า เป็นบรรพชิต แม้บรรพชิตก็มีความสำคัญตัวเองว่า
เป็นคฤหัสถ์ โดยนัยเป็นต้นว่า กรรมของเรากำเริบแล้วหนอ อนึ่ง แม้
มนุษย์ทั้งหลายย่อมมีความสำคัญในคนว่าเป็นสมมติเทพ เหมือนพระราชา.
คำว่า กถํ นุ โขสฺมิ นี้ มีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล. ก็ในบทว่า
กถํ นุ โขสฺมิ นี้ มีอธิบายว่า ปุถุชนเมื่อยึดถือว่า ในภายในมีแต่ชีวะ
ล้วน ๆ ดังนี้ แล้วอาศัยอาการแห่งทรวดทรงของชีวะนั้น สงสัยอยู่ว่า
เราเป็นคนสูงหรือหนอแล หรือว่า เรามีรูปร่างเตี้ย 4 ส่วน 6 ส่วน
8 ส่วน 16 ส่วนเป็นต้น ประการใดประการหนึ่ง ดังนี้ พึงทราบว่า
สงสัยว่า เราเป็นอย่างไรหนอแล. ขึ้นชื่อว่าบุคคลผู้ไม่รู้สรีรสัณฐานอัน
เป็นปัจจุบันไม่มีเลย.
บทว่า กุโต อาคโต โส กุหึ คามี ภวิสฺสติ ได้แก่สงสัยที่มาและ
ที่ไปของอัตภาพ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงวิจิกิจฉา 6 อย่าง ดังพรรณนา
มาฉะนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงทิฏฐาสวะใด โดยหัวข้อคือวิจิกิจฉานี้
พระองค์ได้ทรงเริ่มเทศนาน เมื่อจะทรงแสดงทิฏฐาสวะนั้น จึงตรัสคำ
เป็นต้นว่า ตสฺส เอวํ อโยนิโส มนสิ โรโต ฉนฺนํ ทิฏฺฐีนํ ดังนี้ .
มีคำอธิบายไว้ว่า วิจิกิจฉานี้ ย่อมบังเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นโดยประการใด
บรรดาทิฏฐิ 6 อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมบังเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นนั่นเอง
ผู้ไม่ใส่ใจโดยแยบคาย มีความลังเลสงสัยโดยประการนั้น เพราะอโยนิโส
มนสิการ ถึงความเป็นสภาพมีกำลัง. วา ศัพท์ ในทุก ๆ บทนั้นเป็น
วิกัปปัตถะ. อธิบายว่า ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้บ้าง อย่างนี้บ้าง. ก็
สัสสตทิฏฐิในบทว่า อัตตาของเรามีอยู่นี้ ย่อมยึดถือว่า อัตตาของตนมีอยู่
ในกาลทุกเมื่อ.
บทว่า สจฺจโต เถตโต ความว่า โดยจริงและโดยแท้. อธิบายว่า
โดยการยึดถืออย่างมั่นด้วยดีว่า อย่างนี้เท่านั้นจริง. ส่วนทิฏฐินี้ว่า อัตตา
ของเราไม่มี ชื่อว่าอุจเฉททิฏฐิ เพราะถือว่าสัตว์ที่มีอยู่ขาดสูญในภพนั้นๆ.
อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิแม้ข้อแรกชื่อว่า สัสสตทิฏฐิ เพราะยึดถือว่า
มีอยู่ในกาลทั้ง 3. ทิฏฐิที่ยึดถืออยู่ว่า สิ่งที่เป็นปัจจุบันเท่านั้นมีอยู่ ชื่อว่า
อุจเฉททิฏฐิ. อนึ่ง ทิฏฐิข้อหลังชื่อว่า อุจเฉททิฏฐิ เพราะยึดถือในอดีต
และอนาคตว่าไม่มี เหมือนทิฏฐิของบุคคลผู้ยึดถือทิฏฐิว่า การบูชา
ทั้งหลายมีเถ้าเป็นที่สุด ฉะนั้น (ส่วน) ทิฏฐิที่ยึดถือในอดีตเท่านั้นว่า
ไม่มี ชื่อว่า สัสสตทิฏฐิ ดุจทิฏฐิของสัตว์ผู้เกิดขึ้นลอย ๆ เท่านั้น.
บทว่า อตฺตนา ว อตฺตานํ สญฺชานามิ ความว่า เมื่อปุถุชน
ยึดถือขันธ์ทั้งหลายโดยมีสัญญาขันธ์เป็นประธานว่า นั่นอัตตา แล้ว

หมายรู้ขันธ์ที่เหลือด้วยสัญญา ย่อมมีความเข้าใจว่า เราย่อมหมายรู้อัตตานี้
ด้วยอัตตานี้.
บทว่า อตฺตนาว อตฺตานํ ความว่า เมื่อปุถุชนยึดถือสัญญาขันธ์
นั้นแลว่าเป็นอัตตา และยึดถือขันธ์ นอกนี้ว่าเป็นอนัตตา แล้วหมายรู้
ขันธ์ เหล่านั้นด้วยสัญญา ย่อมมีความเข้าใจอย่างนี้ว่า (เราหมายรู้
อนัตตาด้วยอัตตา).
บทว่า อนตฺตนาว อตฺตานํ ความว่า เมื่อปุถุชนยึดถือสัญญาขันธ์ว่า
อนัตตา และยึดถือขันธ์ 4 นอกนี้ว่าอัตตา แล้วหมายรู้ขันธ์ 4 เหล่านั้น.
ด้วยสัญญา ย่อมมีความเข้าใจอย่างนี้ว่า (เราหมายรู้อัตตาด้วยยอนัตตา ).
ทิฏฐิทุกอย่าง (ดังกล่าวมา) จัดเป็นสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิทั้งนั้น.
อาการทั้งหลายมีอาทิว่า วโท วเทยฺโย เป็นอาการของการยึดมั่น
ด้วยสัสสตทิฏฐินั้นเอง. ใน 2 คำนั้นพึงทราบวินิจฉัยดงนี้. ที่ชื่อว่า วโท
เพราะอรรถว่า ผู้บงการ อธิบายว่า ผู้ทำวจีกรรม. ที่ชื่อว่า เวเทยฺโย
เพราะอรรถว่า รู้ อธิบายว่า ทั้งรู้ทั้งเสวย.
ถามว่า เสวยซึ่งอะไร ?
ตอบว่า เสวยผลของกรรมดีและกรรมชั่วในภพนั้น ๆ.
บทว่า ตตฺร ตตฺร ความว่า ในกำเนิด คติ ฐิติ นิวาส และนิกาย
หรือในอารมณ์นั้น ๆ.
บทว่า นิจฺโจ คือเว้นจากการบังเกิดขึ้นและการเสื่อมไป.
บทว่า ธุโว คือมั่นคง ได้แก่เป็นสาระ.
บทว่า สสฺสโต คือมีอยู่ตลอดกาลทั้งปวง.
บทว่า อวิปริณามธมฺโม ความว่า มีการไม่ละความเป็นปกติของตน

เป็นธรรมดา คือย่อมไม่ถึงความเป็นประการต่าง ๆ เหมือนกิ้งก่าฉะนั้น.
บทว่า สสฺสติสมํ ความว่า พระจันทร์ พระอาทิตย์ สมุทร
มหาปฐพี และภูเขา ท่านเรียกว่า สัสสติ (สิ่งที่เที่ยง ) ตามโวหารของ
ชาวโลก. เสมอด้วยสิ่งที่เที่ยงทั้งหลาย ชื่อว่าสัสสติสมะ. ทิฏฐิอย่างนี้
ย่อมมีแก่บุคคลผู้ยึดถือว่า สิ่งที่เที่ยงทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ตราบใด อัตตานี้
ก็จักตั้งอยู่เหมือนอย่างนั้นตราบนั้น.
บทว่า อิทํ ในคำว่า อิทํ วุจฺจติ ภิกฺขเว ทิฏฺฐิคติ ดังนี้ เป็นต้น
เป็นคำชี้แจงคำที่จะพึงกล่าวในบัดนี้อย่างชัดเจน. ก็บทว่า อิทํ นี้ ท่าน
กล่าวไว้โดยความเกี่ยวเนื่องกับทิฏฐิคตะ หากล่าวไว้โดยความเกี่ยวเนื่อง
กับทิฏฐิไม่. ก็ในที่นี้ทิฏฐินั้นเอง ชื่อทิฏฐิคตะเหมือนคูถคตะ อีกอย่าง
หนึ่ง การดำเนินไปในทิฏฐิ ชื่อทิฏฐิคตะ. ทัสสนะนี้เพราะเหตุที่หยั่งลง
ในภายในแห่งทิฏฐิ 62 ฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิคตะ. อีกอย่างหนึ่ง การ
ดำเนินไปของทิฏฐิก็ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ. คำว่า อตฺถิเม อตฺตา เป็นต้นนี้
สักว่าเป็นเครื่องดำเนินไปแห่งทิฏฐิ. อธิบายว่า อัตตา หรือใคร ๆ
ที่เที่ยงไม่มีในที่นี้. อนึ่ง ทิฏฐินี้นั้น ชื่อว่า รกชัฏ เพราะอรรถว่า
ปราบได้ยาก ชื่อว่ากันดาร เพราะอรรถว่า ข้ามได้ยาก และเพราะอรรถว่า
มีภัยเฉพาะหน้า เหมือนความกันดารเพราะทุพภิกขภัย และเพราะสัตว์ร้าย
เป็นต้นฉะนั้น. ทิฏฐินั้น ชื่อว่าเป็นข้าศึก เพราะอรรถว่า เป็นเครื่อง
เสียดแทง หรือเพราะอรรถว่า เป็นเครื่องขัดสัมมาทิฏฐิ. ชื่อว่าดิ้นรนไป
ต่าง ๆ เพราะอรรถว่า ดิ้นรนผิดรูป เพราะบางคราวยึดถือสัสสตทิฏฐิ
บางคราวยึดถืออุจเฉททิฏฐิ. ชื่อว่าสังโยชน์ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่อง
ผูก. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทิฏฺฐิคหนํ ฯเปฯ ทิฏฺฐิสํโยชนํ ดังนี้.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงอรรถคือการผูกนั้นนั่นแลของสังโยชน์ พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ทิฏฺฐิสํโยชนสํยุตฺโต ดังนี้, ข้อนั้นมี
เนื้อความสังเขปต่อไปนี้ว่า ปุถุชนผู้ประกอบด้วยทิฏฐิสังโยชน์นี้ ย่อม
ไม่พ้นจากชาติเป็นต้นเหล่านี้. อีกอย่างหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องพูดมาก (คือ
กล่าวว่า) เขาย่อมไม่พ้นไปจากวัฏฏทุกข์ทั้งหมดก็ได้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงทิฏฐาสวะซึ่งมี 6 ประเภท ดัง
พรรณนามาฉะนี้แล้ว เพราะเหตุที่สีลัพพตปรามาส พระองค์ทรงแสดง
ไว้ด้วยสามารถกามาสวะเป็นต้นนั้นนั่นแหละ ความจริง สมณพราหมณ์
ทั้งหลาย ภายนอกจากพระพุทธศาสนานี้ ถูกอวิชชาครอบงำย่อมพากัน
ยึดถือศีลและพรต เพื่อความสุขในกามและเพื่อความสุขในภพ และความ
บริสุทธิ์ในภพ ฉะนั้น ครั้นไม่ทรงแสดงสีลัพพตปรามาสนั้น (ซ้ำอีก)
หรือไม่ทรงแสดงสีลัพพตปปรามาสนั้น (อีก) เพราะสีลัพพตปรามาสนั้น
พระองค์ทรงถือเอาด้วยศัพท์ว่า ทิฏฐิแล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงบุคคล
ผู้ละอาสวะอันจะพึงละด้วยทัสสนะนั้น แล้วแสดงวิธีการละอาสวะเหล่านั้น
หรือเพื่อทรงแสดงการับงเกิดขึ้นเเห่งอาสวะเหล่านั้นของปุถุชนผู้ไม่ได้ใส่ใจ
โดยแยบคาย แล้วจึงทรงแสดงวิธีการละของบุคคลผู้ผิดตรงกันข้ามนั้น
ในบัดนี้จึงตรัสคำว่า สุตวา จ โข ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น. เนื้อความของ
คำนั้นบัณฑิตพึงทราบโดยนัยแห่งคำที่ทรงแสดงไว้แล้วในหนหลัง จนถึง
บาลีประเทศว่า โส อิทํ ทุกฺขํ ดังนี้ และโดยบุคคลที่ตรงกันข้ามจาก
บุคคลที่กล่าวมาแล้ว. ก็บุคคลนี้พึงทราบว่า เป็นอริยสาวกผู้ได้สดับ เป็น
ผู้ฉลาดในอริยธรรมและถูกแนะนำด้วยดีในอริยธรรมโดยปัจนีกนัย คือ
โดยความเป็นข้าศึกต่อบุคคลผู้ไม่รู้และไม่ได้ถูกแนะนำในอริยธรรมโดย

อาการทั้งปวง. อีกอย่างหนึ่งแล บุคคลนี้พึงทราบว่า เป็นอริยสาวกด้วย
อรรถอันสมควรแก่เหตุนั้น ตั้งแต่วิปัสสนาที่ถึงยอดจนถึงโคตรภู.
ก็ในข้อว่า โส อิทํ ทุกฺขนฺติ โยนิโส มนสิกโรติ ดังนี้เป็นต้นนี้
มีการบรรยายความให้ชัดเจนดังต่อไปนี้. อริยสาวกผู้เจริญกัมมัฏฐานใน
สัจจะ 4 นั้น ในชั้นแรกทีเดียว ต้องเรียนกัมมัฏฐานประกอบด้วยสัจจะ4
ในสำนักของอาจารย์อย่างนี้ว่า ขันธ์ที่เป็นไปในภูมิ 3 ชื่อว่า เป็นทุกข์
เพราะโทษคือตัณหา ตัณหาชื่อว่าเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ ความไม่เป็นไป
แห่งทุกข์และทุกข์สมุทัยทั้ง 2 ชื่อว่านิโรธ ทางให้ถึงความดับชื่อว่ามรรค
ดังนี้แล้ว โดยสมัยต่อมา เธอก้าวขึ้นสู่ทางแห่งวิปัสสนา ย่อมใส่ใจถึง
ขันธ์อันเป็นไปในภูมิ 3 เหล่านั้นโดยแยบคายว่า สิ่งนี้เป็นทุกข์ คือ ย่อม
รำพึง และพิจารณาเห็นแจ้งโดยอุบาย คือโดยถูกทาง. ก็ในที่นี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสวิปัสสนาโดยยกมนสิการเป็นสำคัญทีเดียว จนถึงโสดา-
ปัตติมรรค. พระโยคาวจรย่อมใส่ใจโดยแยบคายว่า ก็ตัณหานี้ใดเป็น
สมุฏฐาน คือเป็นเหตุให้เกิดทุกข์นั้นแหละ ตัณหานี้นั้นชื่อว่าสมุทัย.
พระโยคาวจรย่อมใส่ใจโดยแยบคายว่า ก็เพราะทุกข์นี้ด้วยทั้งสมุทัยนี้ด้วย
ครั้นมาถึงฐานะนี้แล้วย่อมดับไป คือไม่เป็นไป ฉะนั้น ฐานะนี้จึงชื่อว่า
นิพพาน นี้แลชื่อทุกขนิโรธ. พระโยคาวจรย่อมใส่ใจโดยแยบคายถึงมรรค
มีองค์ 8 อันเป็นเหตุให้ถึงนิโรธว่า นี้คือปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์
คือย่อมพิจารณาและย่อมเห็นแจ้งโดยอุบาย คือโดยถูกทาง. ในข้อนั้น
มีอุบาย (กำหนด) ดังนี้ :-
ชื่อว่าความยึดมั่นย่อมมีในวัฏฏะ หามีในวิวัฏฏะไม่. ฉะนั้น พระ
โยคาวจรกำหนดภูตรูป 4 ในสันตติของตนโดยนัยเป็นต้นว่า ปฐวีธาตุ

อาโปธาตุ นี้มีอยู่ในกายนี้ ดังนี้ และกำหนดอุปาทายรูปตามทำนองแห่ง
ภูตรูปนั้นแล้วกำหนดว่า นี้เป็นรูปขันธ์ ดังนี้ เมื่อกำหนดรูปขันธ์นั้น
ก็ย่อมกำหนดธรรม คือจิตและเจตสิก อันมีรูปขันธ์นั้นเป็นอารมณ์เกิด
ขึ้นแล้ว ว่า ธรรม 4 ประการนี้เป็นอรูปขันธ์ ต่อแต่นั้นย่อมกำหนด
ว่าขันธ์ 4 เบญจขันธ์เหล่านี้เป็นทุกข์ ก็เบญจขันธ์เหล่านั้น โดยสังเขป
มี 2 ส่วนเท่านั้น คือนามและรูป และนามรูปนี้มีเหตุปัจจัยเกิดขึ้น
พระโยคาวจรย่อมกำหนดเหตุและปัจจัยของนามรูปนั้น มีอวิชชา ภพ
ตัณหา กรรมและอาหารเป็นต้นว่า นี้เป็นปัจจัย. ต่อแต่นั้นพระโยคาวจร
กำหนดกิจและลักษณะของตนตามความเป็นจริงของปัจจัย และธรรมซึ่ง
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นเหล่านั้นแล้วยกขึ้นสู่อนิจจลักษณะว่า ธรรมเหล่านั้นไม่มี
แล้วเกิดมีขึ้น. ยกขึ้นสู่ทุกขลักษณะว่า ธรรมเหล่าเป็นทุกข์ เพราะ
ความที่ถูกความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปบีบคั้น. ยกขึ้นสู่อันตตลักษณะว่า
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ. พระโยคาวจร
ครั้นยกธรรมเหล่านั้นขึ้นสู่ไตรลักษณ์อย่างนี้แล้วให้วิปัสสนาเป็นไปโดยลำดับ
ย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรคได้. ในขณะนั้นเธอย่อมแทงตลอดสัจจะทั้ง 4
ด้วยการแทงตลอดด้วยญาณดวงเดียวเท่านั้น ย่อมตรัสรู้ด้วยอาการตรัสรู้
ด้วยญาณควงเดียว ย่อมแทงตลอดทุกข์ด้วยการแทงตลอดโดยการกำหนดรู้
ย่อมแทงตลอดสมุทัยด้วยการแทงตลอดโดยการละ ย่อมแทงตลอดนิโรธด้วย
การแทงตลอดโดยการทำให้แจ้ง ย่อมแทงตลอดมรรคด้วยการแทงตลอด
โดยการเจริญ. อนึ่ง เธอย่อมตรัสรู้ทุกข์ด้วยการตรัสรู้โดยการกำหนดรู้
ฯลฯ ย่อมตรัสรู้มรรคด้วยการตรัสรู้โดยการเจริญ หาใช่ตรัสรู้สัจจะ
อีกข้อหนึ่งด้วยญาณอีกญาณหนึ่งไม่. ความจริง พระโยคาวจรนี้ ย่อม

แทงตลอดและย่อมตรัสรู้นิโรธสัจจะโดยความเป็นอารมณ์ และสัจจะ
ที่เหลือโดยความเป็นกิจด้วยญาณดวงเดียวเท่านั้น. ก็ในสมัยนั้นเธอย่อม
ไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมกำหนดรู้ทุกข์ ดังนี้ หรือ ฯลฯ หรือว่า
เราย่อมยังมรรคให้เจริญ ดังนี้. อีกอย่างหนึ่งแล เมื่อเธอทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ
ด้วยสามารถแห่งปฏิเวธ โดยทำให้เป็นอารมณ์อยู่นั่นแหละ ญาณนั้นชื่อว่า
ย่อมทำหน้าที่กำหนดรู้ทุกข์บ้าง ทำหน้าที่ละสมุทัยบ้าง และทำหน้าที่เจริญ
มรรดบ้าง. เมื่อเธอใส่ใจโดยแยบคายโดยอุบายอย่างนี้ เธอย่อมละ
สังโยชน์ได้ 3 อย่าง คือ สักกายทิฏฐิมีวัตถุ 20 วิจิกิจฉามีวัตถุ 8
สีลัพพตปรามาส เพราะลูบคลำศีลและพรตว่า ความบริสุทธิ์มีได้เพราะศีล
ความบริสุทธิ์มีได้เพราะพรต. บรรดาอาสวะทั้ง 4 เหล่านั้น สักกายทิฏฐิ
สีลัพพตปรามาสท่านสงเคราะห์ด้วยทิฏฐาสวะ คือเป็นทั้งอาสวะเป็น
ทั้งสังโยชน์ วิจิกิจฉาเป็นสังโยชน์อย่างเดียว ไม่เป็นอาสวะ. แต่ชื่อว่า
เป็นอาสวะเพราะนับเนื่องในบาลีนี้ว่า ทสฺสนา ปหาตพฺพา อาสวา ดังนี้
เหตุนั้น ธรรนเหล่านี้ จึงเรียกว่า ปหาตัพพธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อจะทรงแสดงสักกายทิฏฐิเป็นต้นเหล่านี้ว่า เป็นอาสวะที่ชื่อว่า ทัสสน-
ปหาตัพพธรรม
จึงได้ตรัสไว้. อีกอย่างหนึ่ง สักกายทิฏฐินี้ใด ที่ท่าน
จำแนกไว้โดยสรูปนั้นแลอย่างนี้ว่า บรรดาทิฏฐิ 6 อย่าง ทิฏฐิอย่างใด
อย่างหนึ่ง เกิดขึ้น ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาสักกายทิฏฐินั้น
จึงตรัสว่า อิเม วุจฺจนฺติ ภิกฺขเว ดังนี้ . ก็เพราะสักกายทิฏฐินั้น พระ
โยคาวจรย่อมละได้พร้อมกับวิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาสที่เกิดร่วมกันและ
มีความหมายอย่างเดียวกันด้วยการละ. ความจริง เมื่อพระโยคาวจรละ
ทิฏฐาสวะได้แล้ว กามาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ในจิตที่เป็นทิฏฐิสัมปยุต

4 ดวง ซึ่งเกิดร่วมกับทิฏฐาสวะนั้น พระโยคาวจรย่อมละได้เช่นเดียวกัน.
ส่วนภวาสวะซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยสามารถแห่งความสำเร็จความปรารถนาของ
นาคและครุฑเป็นต้น ในจิตซึ่งเป็นทิฏฐิวิปปยุต 4 ดวงชื่อว่าธรรม ที่
มีความหมายอย่างเดียวกันด้วยการละ อาสวะทั้ง 3 ที่เหลืออย่างนี้ คือ
อวิชชาสวะที่สัมปยุตด้วยภวาสวะนี้ก็ดี อวิชชาสวะอันเป็นตัวทำให้บังเกิด
อกุศลกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้นในโทมนัสจิต 2 ดวงก็ดี อวิชชาสวะ
ซึ่งสัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาจิตเช่นเดียวกันก็ดี พระโยคารจรย่อมละได้โดย
ประการทั้งปวง. เพราะฉะนั้น ท่านจึงทำนิทเทศเป็นพหุวจนะไว้ฉะนี้แล.
ในที่นี้เนื้อความพึงทราบดังว่ามานี้. คำอธิบายของท่านพระโบราณาจารย์
ก็เช่นนี้.
บทว่า ทสฺสนา ปหาตพฺพา ความว่า โสดาปัตติมรรค ชื่อว่า
ทัสสนะ อธิบายว่า อาสวะเหล่านั้น อันทัสสนะนั้นพึงละ.
ถามว่า เพราะเหตุไร โสดาปัตติมรรคจึงชื่อว่า ทัสสนะ ?
ตอบว่า เพราะเห็นพระนิพพานครั้งแรก.
ถามว่า โคตรภูญาณย่อมเห็นก่อนกว่ามิใช่หรือ ?
ตอบว่า โคตรภูญาณย่อมไม่เห็นเลยก็ไม่ใช่. แต่ว่า โคตรภูญาณนั้น
ครั้นเห็นแล้วจะทำกิจที่ควรกระทำไม่ได้ เพราะละสังโยชน์ไม่ได้ ฉะนั้น
จึงไม่ควรกล่าวว่า ย่อมเห็น ดังนี้. ก็ในเรื่องนี้มีบุรุษชาวบ้านแม้ได้เห็น
พระราชาในที่บางแห่งแล้วถวายเครื่องบรรณาการกล่าวอยู่ว่า แม้ในวันนี้
เราก็ไม่ได้พบพระราชา เพราะความสำเร็จกิจตนมองไม่เห็นเป็นตัวอย่าง.

(2) อาสวะที่ละได้เพราะสังวร


พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงอาสวะอันจะพึงได้ด้วยทัสสนะ
อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงอาสวะอันพระโยคาวจรพึงละด้วยสังวรซึ่ง
ทรงแสดงไขไว้ในลำดับต่อไป จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหนที่
พระโยคาวจรพึงละด้วยสังวร ดังนี้. ในบททั้งปวงพึงทราบการสัมพันธ์
กันอย่างนี้. ก็เบื้องหน้าแต่นี้ ข้าพเจ้าจักพรรณนาเพียงเนื้อความเท่านั้น.
ถามว่า ก็ขึ้นชื่อว่า อาสวะที่พระโยคาวจรพึงละไม่ได้ด้วยกิจ 2
อย่างเหล่านี้คือ ด้วยทัสสนะและด้วยภาวนาไม่มีมิใช่หรือ ? เมื่อเป็นเช่น
นั้น เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงอาสวะที่พระโยคาวจร
พึงละด้วยกิจมีสังวรเป็นต้นไว้แผนกหนึ่งเล่า.
ตอบว่า เพราะอาสวะทั้งหลายที่พระโยคาวจรข่มไว้ได้ในส่วน
เบื้องต้นด้วยกิจมีการสังวรเป็นต้น ย่อมถึงการเพิกถอนด้วยมรรค 4
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงการละอาสวะเหล่านี้ในส่วน
เบื้องต้นแห่งมรรคเหล่านั้นด้วยการข่มไว้ด้วยอาการ 5 อย่าง จึงตรัส
อย่างนี้. ฉะนั้น โสดาปัตติมรรคข้อแรกที่พระองค์ตรัสไว้แล้วนี้ใด
และมรรค 3 ซึ่งพระองค์จักตรัสโดยชื่อว่าภาวนาในบัดนี้ กถาว่าด้วย
อาสวะที่พึงละเพราะสังวรเป็นต้นนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นบุพพภาค-
ปฏิปทาของโสดาปัตติมรรค และของมรรคทั้ง 3 เหล่านั้นแม้ทั้งหมด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ คือ ในศาสนานี้. บทว่า ปฏิสงฺขา
แปลว่า พิจารณาแล้ว. สงฺขา ศัพท์ ในบทว่า ปฏิสงฺขา นั้น ย่อมใช้
ในญาณ โกฏฐาสะ บัญญัติและการนับ. อธิบายว่า สงฺขา ศัพท์ ใช้
ในญาณ (ดุจ) ในประโยคเป็นต้นว่า พิจารณาแล้วจึงเสพปัจจัยอย่าง