เมนู

อรรถกถามูลปริยายสูตร


เอวมฺเม สุตํ ฯเปฯ สพฺพธมฺมปริยายํ


บทนมัสการพระรัตนตรัย


ข้าพเจ้าขอวันทาพระสุคตเจ้า ผู้มีความมืด คือ โมหะอันกำจัด
แล้วด้วยแสงสว่าง คือปัญญา หลุดพ้นแล้วจากคติ (ทั้งปวง) มีพระ
หฤทัยเยือกเย็นด้วยพระกรุณา เป็นครูแห่งสัตว์โลกทั้งมนุษย์และเทวดา.
แม้องค์พระพุทธเจ้าทรงเข้าถึงซึ่งพระธรรมอันปราศจากมลทินใด
จึงทรงทำให้เกิดและทำให้แจ้งซึ่งความเป็นพระพุทธ ข้าพเจ้าขอวันทา
พระธรรมอันเลิศนั้น.
ข้าพเจ้าขอวันทาพระอริยสงฆ์ คือ ชุมนุมแห่งพระอริยบุคคลทั้ง 8
ผู้เป็นพระบุตร เกิดแต่พระอุระแห่งพระสุคตเจ้า ผู้ย่ำยีมารและเสนามาร
เสียได้.
บุญอันสำเร็จด้วยการวันทาพระรัตนตรัยของข้าพเจ้า ผู้มีใจเลื่อมใส
ดังนี้อันใด ด้วยอานุภาพแห่งบุญนั้น ข้าพาเจ้าเป็นผู้มีอันตรายอันขจัดเสีย
ได้ด้วยดีแล้ว อรรถกถาอันใดที่พระอรหันต์ผู้เชี่ยวชาญ 500 องค์
สังคายนา (ร้อยกรอง) ไว้แต่เบื้องแรก และที่พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย
สังคายนา (ร้อยกรอง) เพิ่มเติมในภายหลังก็ดี เพื่อประกาศ (อธิบาย)
เนื้อความแห่งพระสูตร มัชฌิมนิกาย ในคัมภีร์นี้ อันกำหนดหมายด้วย

พระสูตรขนาดกลาง (ไม่ยาวไม่สั้น) ที่พระพุทธองค์พระสาวก
กล่าวสังวรรณนาไว้ ย่ำยีเสียได้ซึ่งลัทธิอื่น ครั้นแล้วพระมหินทมหาเถระ
ผู้เชี่ยวชาญได้นำมาสู่เกาะสีหล ฐาปนา (จารึก) ไว้ในภาษาสีหล
เพื่อประโยชน์แก่ชาวเกาะ ข้าพเจ้าจักนำภาษาสีหลออกแล้วยกขึ้นสู่ภาษา
อันเป็นที่รื่นรมย์ใจ สมควรที่จะเป็นแบบแผนได้ ปราศจากโทษ (คือ
ภาษามคธ) อีกทอดหนึ่ง ประกาศ (อธิบาย) เนื้อความมิให้ขัดมติ
ของพระเถระคณะมหาวิหารผู้เป็นประทีปแห่งเถรวงศ์ มีการวินิจฉัยละเอียด
ดี โดยเว้นความที่ซ้ำ ๆ กันเสียบ้าง เพื่อความพอใจแห่งสาธุชน และ
เพื่อความตั้งอยู่นานแห่งพระธรรม.
ส่วนข้อธรรม คือ สีลกถา ธุตธรรม (เรื่องธุดงค์) กรรมฐาน
ทุกอย่าง ฌานสมาบัติอย่างพิสดาร พร้อมทั้งจริยาวิธาน (แจงจริต
ของบุคคล) อภิญญาทั้งปวง การวินิจฉัย ปัญญาทั้งสิ้น ขันธ์ ธาตุ
อายตนะ อินทรีย์ อริยสัจ 4 การแสดง ปัจจยาการ (คือ ปฏิจจ-
สมุปบาท) มีนัยบริสุทธิ์ละเอียดดี พอเป็นแบบที่เชื่อได้ และวิปัสสนา-
ภาวนา ทั้งปวง (นี้) ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคอย่าง
หมดจดดี เหตุใด เหตุนั้น ข้าพเจ้าจักไม่วิจารณ์ข้อธรรมทั้งปวงนั้นยิ่งขึ้น
ไปละ.
วิสุทธิมรรคนั้น ข้าพเจ้ารจนาทำด้วยคิดว่า วิสุทธิมรรคจักตั้งอยู่
ในท่ามกลางแห่งนิกายทั้ง 4 แล้วประกาศเนื้อความตามที่ท่านภาษิตไว้ใน
นิกายทั้ง 4 นั้นได้ ดังนี้ เหตุนั้น ท่านทั้งหลายจงถือเอาแม้วิสุทธิมรรค
นั้นพร้อมทั้งอรรถกถานี้ ทราบเนื้อความแห่งมัชฌิมสังคีติ (คือ มัชฌิม-
นิกายทั้ง 3 ปัณณาสก์) เถิด.

ศีลกถา ธุดงคธรรม กัมมัฏฐาน ความพิสดารของฌานและ
สมาบัติ ซึ่งประกอบด้วยวิธีการคล้อยตามจริต 6 อภิญญาทั้งปวง คำ
วินิจฉัยที่ประมวลไว้ด้วยปัญญา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ อริยสัจ 4
ปัจจัยการเทศนาที่ไม่นอกแนวพระบาลี มีนัยที่ชื่อว่า มัชฌิมสังคีติ ใน
คำว่า มชฺฌิมสงฺคีติยา นั้น ว่าโดยปัณณาสก์ ได้แก่การรวบรวม
ปัณณาสก์ 3 หมวด คือมูลปัณณาสก์ มัชฌิมปัณณาสก์ และอุปริ-
ปัณณาสก์. ว่าโดยวรรค ได้แก่การรวบรวมวรรคได้ 15 วรรค เพราะ
แบ่งแต่ละปัณณสก์ออกเป็น 5 ว่าโดยสูตร มี 152 สูตร ว่าโดยบทมี
80,523 บท เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า ท่าน
กล่าวกำหนดบทไว้ 80,523 บทอย่างนี้.
แต่ว่าโดยอักษรมี 740,053 อักษร. ว่าโดยภาณวาร มี 80
ภาณวาร และกึ่งภาณวารมี 23 บท. ว่าโดยอนุสนธิโดยย่อมี 3 อนุสนธิ
คือ ปุจฉานุสนธิ อัชฌาสยานุสนธิ และ ยถานุสนธิ แต่เมื่อว่าโดย
พิสดารในเรื่องนี้มี 3,900 อนุสนธิ. เพราะเหตุนั้น ท่านโบราณาจารย์
ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า ท่านประกาศนัยอนุสนธิแห่งมัชฌิมปัณณาสก์
เหล่านั้นไว้ 3,900 อนุสนธิ.
ในปัณณาสก์เหล่านั้น มูลปัณณาสก์ เป็นปัณณาสก์ต้น. ในวรรค
ทั้งหลาย มูลปริยายวรรค เป็นวรรคต้น และในสูตรทั้งหลาย มูล-
ปริยายสูตร เป็นสูตรต้น.

อธิบายนิทานพจน์


(1) คำนิทานว่า เอวมฺเม สุตํ ที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ใน