เมนู

อธิบายญาณทัสสนะ


[11] บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ชานโต อหํ เป็นต้นดังต่อ
ไปนี้. บทว่า ชานโต คือรู้อยู่. บทว่า ปสฺสโต คือเห็นอยู่. บทแม้
ทั้งสองมีเนื้อความอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นที่ต่างกัน. เมื่อเป็นเช่น
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงถึงบุคคล โดยมุ่งถึงลักษณะของญาณด้วย
บทว่า ชานโต. ความจริง ญาณมีความรู้เป็นลักษณะ. ทรงแสดงบุคคล
โดยมุ่งถึงอำนาจของญาณด้วยบทว่า ปสฺสโต. ความจริง ญาณมีอำนาจ
ในการเห็น. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยญาณ ย่อมเห็นธรรมที่พระพุทธเจ้า
ทรงเปิดเผยไว้ด้วยญาณนั้นแล เปรียบเหมือนคนตาดีมองเห็นรูปด้วยจักษุ
ฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง เพื่อให้โยนิโสมนสิการเกิดขึ้น อโยนิโสมนสิการ
จะไม่เกิดขึ้นแก่ผู้เห็นอยู่ เหมือนจะไม่เกิดขึ้นแก่ผู้รู้อยู่ฉะนั้น สารสำคัญ
ในคำทั้ง 2 นี้มีเพียงเท่านี้. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวเยิ่นเย้อไว้มาก.
ข้อความเหล่านั้นไม่เหมาะในอรรถนี้.
บทว่า อาสวานํ ขยํ ความว่า การละอาสวะ คือการเกิดความสิ้น
ไปโดยไม่มีเหลือ ได้แก่อาการคือการสิ้นไป หมายความว่าภาวะคือการ
ไม่มีแห่งอาสวะทั้งหลาย. ขยะ ศัพท์นี้แล มีความหมายว่าสิ้นอาสวะ
ทั้งในสูตรนี้ และทั้งในประโยคเป็นต้นว่า อาสวานํ ขยา อนาสวญฺเจโต-
วิมุตฺตึ.
ส่วนในสูตรอื่น แม้มรรค-ผล-นิพพาน ท่านเรียกว่าธรรมเป็น
ที่สิ้นไปแห่งอาสวะ. จริงอย่างนั้น มรรคท่านเรียกว่า ธรรมเป็นที่สิ้น
อาสวะ (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า

ในเพราะการสิ้นไปแห่งอาสวะของพระเสขบุคคล
ผู้กำลังศึกษา ผู้ดำเนินตามทางสายตรง (คือมรรค
มีองค์ 8) ญาณ (สัมมาทิฏฐิ) ย่อมเกิดก่อน
ต่อแต่นั้น อรหัตตผลจึงมีในลำดับต่อไป ดังนี้.

ผล ท่านกล่าวว่า ธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า
บุคคลเป็นสมณะได้เพราะการในรูปแห่งอาสวะ. นิพพานท่านกล่าวว่า
ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า
อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้ตามเห็นโทษ
ของผู้อื่น ผู้มีปกติเพ่งโทษเป็นนิจนั้น เขาย่อมอยู่
ห่างไกลจากธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ ดังนี้.

บทว่า โน อชานโต น อปสฺสโต ความว่า ก็ผู้ใดไม่รู้อยู่ไม่เห็นอยู่
เราตถาคตไม่กล่าวการสิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลนั้น. ชนเหล่าใด กล่าว
ถึงความบริสุทธิ์ด้วยสังวรเป็นต้น แม้ของบุคคลผู้ไม่รู้ไม่เห็น ชนเหล่านั้น
เป็นอันท่านคัดค้านด้วยบทว่า โน ชานโต โน ปสฺสโต นี้. อีกอย่างหนึ่ง
ด้วย 2 บทแรก (ชานโต ปสิสโต) เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ตรัสอุบายไว้แล้ว, ด้วย 2 บทหลังนี้ (โน อชานโต อปสฺสโต) เป็น
อันพระองค์ได้ตรัสการปฏิเสธอุบายไว้แล้ว เพราะฉะนั้น ในที่นี้ ญาณ
เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่าเป็นธรรมเครื่องปิดกันอาสวะ
ทั้งหลายโดยสังเขป.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระประสงค์จะทรงแสดงธรรม
ที่เมื่อภิกษุรู้อยู่จึงมีความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย จึงทรงเริ่มปุจฉาว่า
กิญฺจิ ภิกฺขเว ชานโต ดังนี้. ในบทว่า กิญฺจิ ภิกขเว ชานโต นั้น

ความรู้มีหลายอย่าง ความจริงภิกษุลางรูปผู้มีชาติฉลาดย่อมรู้วิธีทำกลด
ลางรูปย่อมรู้วิธีทำจีวรเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อภิกษุนั้นดำรงอยู่ใน
ข้อวัตรกระทำกรรมเช่นนี้อยู่ ความรู้เช่นนั้นไม่ควรจะกล่าวว่า ไม่เป็น
ปทัฏฐานของมรรคและผล. ส่วนภิกษุใดบวชในศาสนาแล้วรู้วิธีทำเวช-
กรรมเป็นต้น เมื่อภิกษุนั้นรู้อย่างนี้ อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญขึ้นทีเดียว.
เพราะฉะนั้น เมื่อภิกษุรู้เห็นธรรมใด ความสิ้นอาสวะจึงเกิดมีได้ เมื่อ
จะทรงแสดงธรรมนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า โยนิโส จ
มนสิการํ อโยนิโส จ มนสิการํ
ดังนี้.
โยนิโสมนสิการกับอโยนิโสมนสิการทั้ง 2 อย่างนั้น ที่ชื่อว่า โยนิโส
มนสิการ ได้แก่การทำไว้ในใจโดยถูกอุบาย=การทำไว้ในใจโดยถูกทาง
=การนึก=การน้อมนึก=การผูกใจ=การใฝ่ใจ=การทำไว้ในใจ ซึ่งจิตใน
อนิจจลักษณะเป็นต้น โดยนัยเป็นต้นว่า ไม่เที่ยง หรือโดยสัจจานุโลมิก-
ญาณ
นี้เรียกว่า โยนิโสมนสิการ ที่ชื่อว่า อโยนิโสมนสิการ ได้แก่
การทำไว้ในใจโดยไม่ถูกอุบาย ได้แก่การทำไว้ในใจโดยไม่ถูกทาง คือ
การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย=การทำไว้ในใจโดยผิดทาง ในสิ่งที่ไม่เที่ยง
ว่าเที่ยง ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตาว่าเป็นอัตตา หรือ
คือการนึก=การน้อมนึก=การผูกใจ=การใฝ่ใจ=การทำไว้ในใจซึ่งจิตโดย
การกลับกันกับสัจจะ นี้เรียกว่าอโยนิโสมนสิการ ความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย ย่อมมีแก่ภิกษุผู้รู้อยู่ เพื่อยังโยนิโสมนสิการให้เกิดขึ้น และ
แก่ภิกษุผู้เห็นอยู่ โดยประการที่อโยนิโสมนสิการจะไม่เกิดขึ้น ดังที่
พรรณนามานี้.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงข้อยุติแห่งเนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า อโยนิโส ภิกฺขเว ฯเปฯ ปหียฺยนฺติ.
ถามว่า ด้วยคำว่า อโยนิโส ภิกฺขเว ฯเปฯ ปหียนฺติ นั้น ท่าน
กล่าวอธิบายไว้อย่างไร.
ตอบว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เพราะอาสวะทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น
แก่ภิกษุผู้ใส่ใจโดยไม่แยบคาย เมื่อภิกษุใส่ใจโดยแยบคาย เธอย่อมละ
อาสวะทั้งหลายได้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงเข้าใจว่า ความในรูปแห่ง
อาสวะทั้งหลาย ย่อมมีแก่ภิกษุผู้รู้อยู่ เพื่อยังโยนิโสมนสิการให้เกิดขึ้น
และแก่ภิกษุผู้เห็นอยู่ โดยประการที่อโยนิโสมนสิการจะไม่เกิดขึ้น ดัง
ที่พรรณนามาน. ในข้อนี้มีการพิจารณาโดยสังเขปเพียงเท่านี้ก่อน ส่วน
ความพิสดารมีดังต่อไปนี้. พระสูตรทั้งสิ้นข้างหน้ามีความเกี่ยวเนื่องกันกับ
ด้วย 2 บทนี้ คือ โยนิโส อโยนิโส ก่อน. ความจริง พระสูตรทั้งหมด
ข้างหน้า ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจวัฏฏะและวิวัฏฏะ. ก็วัฏฏะมีการไม่ใส่ใจ
โดยแยบคายเป็นมูลราก. วิวัฏฏะมีการใส่ใจโดยแยบคายเป็นมูลราก. คือ
อย่างไร ? อธิบายว่า การใส่ใจโดยไม่แยบคายเมื่อเจริญขึ้นย่อมให้ธรรม
2 อย่าง คือ อวิชชา และภวตัณหาบริบูรณ์. ก็เมื่อมีอวิชชา สังขาร
ทั้งหลายจึงเกิดมีขึ้นเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย ฯลฯ กองทุกข์จึงมีการ
เกิดขึ้น. เมื่อมีตัณหา อุปาทานก็เกิดมี เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย ฯลฯ
กองทุกข์จึงมีการเกิดขึ้น. ฉะนั้น บุคคลผู้มากด้วยการไม่ใส่ใจโดยแยบคาย
อย่างนี้ ย่อมเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพกำเนิด คติ ฐิติ และ สัตตาวาส
อยู่ร่ำไป เปรียบเหมือนเรือซึ่งถูกแรงลมพัดทำให้โคลง และเปรียบเหมือน
ฝูงโคซึ่งตกลงไปในแม่น้ำไหลวน และเหมือนโคพลิพัทที่เขาเทียมรถไว้

ฉะนั้น. วัฏฏะมีการไม่ใส่ใจโดยแยบคายเป็นมูลรากดังว่ามานี้ก่อน.
ส่วนการใส่ใจโดยแยบคาย เมื่อเจริญขึ้นย่อมทำมรรคมีองค์ 8 มี
สัมมาทิฏฐิเป็นข้อแรกให้บริบูรณ์ เพราะพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ผู้สมบูรณ์ด้วยการใส่ใจโดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ คือ เธอก็จักเจริญ
อริยมรรคมีองค์ 8 จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ 8. ด้วยบทว่า
ยา จ สมฺมาทิฏฺฐิ สา วิชชา นี้ บัณฑิตพึงทราบวิวัฏฏะซึ่งมีการใส่ใจ
โดยแยบคายเป็นมูลรากอย่างนี้ว่า เพราะอวิชชาเกิดขึ้น และอวิชชาดับไป
ความดับแห่งสังขารจึงเกิดมีแก่ภิกษุนั้น ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้. พระสูตรทั้งหมดข้างหน้ามีความ
เกี่ยวเนื่องกันด้วยบททั้ง 2 นี้ดังกล่าวมานี้. ก็ในสูตรนี้ที่เกี่ยวเนื่องกัน
อย่างนี้ เพราะเหตุที่แสดงการละอาสวะไว้ก่อนแล้ว จะกล่าวการเกิดขึ้น
ทีหลังไม่เหมาะ เนื่องจากว่าอาสวะที่ละได้แล้วย่อมไม่เกิดขึ้นอีก แต่ที่ถูก
( คือกล่าว) การละอาสวะทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว (ต่างหาก ) ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อโยนิโส ภิกฺขเว มนสิกโรโต เป็นต้น
แม้โดยย้อนอุทเทศ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโยนิโส มนสิกโรโต
ความว่า ผู้ยังการใส่ใจโดยไม่แยบคายมีประการดังกล่าวแล้วให้เกิดขึ้น.
ในบทว่า อุปฺปนฺนา เจว อาสวา อุปฺปชฺชนฺติ นี้ ความว่า เมื่อภิกษุ
ได้ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น ซึ่งตนไม่เคยได้มาก่อน หรือได้วัตถุอันน่าพอใจ
อย่างใดอย่างหนึ่งของอุปัฏฐาก สัทธิวิหาริกและอันเตวาสิกแล้ว ไม่
ใส่ใจโดยแยบคายซึ่งปัจจัยหรือวัตถุนั้นว่า งาม เป็นสุข ก็หรือเมื่อภิกษุ
ไม่ใส่ใจโดยแยบคายซึ่งอารมณ์อย่างอื่น ๆ ซึ่งตนไม่เคยไค้เสวยมาก่อน
โดยประการใดประการหนึ่ง อาสวะเหล่าใดย่อมเกิดขึ้น. อาสวะเหล่านั้น

ซึ่งยังไม่เกิดขึ้น พึงทราบว่าย่อมเกิดขึ้น ดังนี้. ความจริง อาสวะทั้งหลาย
ที่ชื่อว่า ไม่เกิดขึ้นในสังสารวัฏซึ่งมีที่สุดแห่งเบื้องต้นที่ใครตามไปไม่รู้
แล้วโดยประการอื่น ย่อมไม่มี. อาสวะทั้งหลายของภิกษุใดในกาลก่อนไม่
เกิดขึ้นในวัตถุหรือในอารมณ์ที่ตนไม่เคยได้เสวยมาก่อนโดยความบริสุทธิ์
ตามปกติหรือด้วยอำนาจการอุทเทศ ปริปุจฉา ปริยัติ นวกรรม และ
โยนิโสมนสิการ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมเกิดขึ้นโดยฉับพลันด้วย
ปัจจัยเช่นนั้น ในภายหลัง อาสวะทั้งหลายของภิกษุนั้นพึงทราบว่า ยัง
ไม่ (เคย) เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเกิดขึ้นดังนี้. ส่วนอาสวะทั้งหลายซึ่งกำลัง
เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในวัตถุและในอารมณ์เหล่านั้นนั่นแล ท่านเรียกว่า เกิดขึ้น
แล้ว ย่อมเจริญ. ขึ้นชื่อว่า ความเจริญแห่งอาสวะทั้งหลายซึ่งเกิดขึ้น
ครั้งแรกโดยประการอื่นจากนี้ หามีไม่เลย.
ในบทว่า โยนิโส จ โข ภิกฺขเว นี้ ความว่า อาสวะทั้งหลาย
ของภิกษุใด ย่อมไม่เกิดขึ้น โดยความบริสุทธิ์ ตามปกติ หรือโดยเหตุ
มีอุทเทศ และปริปุจฉาเป็นต้น เหมือนไม่เกิดขึ้นแก่ท่านมหากัสสปะ
และนางภัททกาปิลานี ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งชัดว่า อาสวะทั้งหลายของเรา
ยังไม่ถึงการเพิกถอนด้วยมรรคหรือหนอ อยู่กระนั้นเลย เราจะปฏิบัติเพื่อ
เพิกถอนอาสวะเหล่านั้น. ต่อแต่นั้น เธอย่อมเพิกถอนอาสวะทั้งหมดนั้น
ด้วยมรรคภาวนา อาสวะทั้งหลายเหล่านั้นของเธอท่านกล่าวว่า ที่ยังไม่
เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น. ส่วนภิกษุใด มีสติอยู่ห่างไกล อาสวะทั้งหลายย่อม
เกิดขึ้นโดยเร็วพลัน เพราะความหลงลืมแห่งสติ ต่อแต่นั้น เธอนั้นก็ถึง
ความสังเวช เริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย ย่อมเพิกถอนอาสวะเหล่านั้น
ได้ อาสวะซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นเรียกว่า อันเธอย่อมละได้ เหมือน

พระมหาติสสคุตตเถระผู้ อยู่ในมัณฑลาราม.
ได้ยินว่า ท่านเริ่มอุทเทศในวิหารนั้นนั่นเอง ครั้งนั้น กิเลสก็
เกิดขึ้นแก่ท่านผู้เที่ยวบิณฑบาตในหมู่บ้านเพราะอารมณ์อันเป็นวิสภาคกัน.
ท่านข่มอารมณ์นั้นด้วยวิปัสสนาแล้วกลับไปวิหาร. อารมณ์นั้นได้ปรากฏ
แก่ท่านแม้ในความฝัน. ท่านเกิดความสังเวชขึ้นว่า กิเลสนี้เจริญขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นเรื่องทำเราให้ตกไปในอบาย ดังนี้แล้ว อำลาอาจารย์แล้วออก
จากวิหารไปเรียนอสุภกัมมัฏฐาน ซึ่งเป็นปฎิปักษ์ต่อราคะในสำนักของ
พระมหาสังฆรักขิตเถระ เข้าไปสู่ระหว่างพุ่มไม้ ลาดผ้าบังสุกุลรองนั่ง
ตัดเสียซึ่งราคะอันประกอบด้วยกามคุณ 5 ด้วยอนาคามิมรรค ลุกขึ้นแล้ว
ไหว้อาจารย์ ในวันรุ่งขึ้นได้บรรลุอุทเทสมรรค. ก็อาสวะทั้งหลายเหล่าใด
กำลังเป็นไปยังไม่เกิดขึ้น ขึ้นชื่อว่า การละอาสวะทั้งหลายเหล่านั้น ด้วย
ข้อปฏิบัติย่อมไม่มี.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาบทนี้ว่า อุปฺปนฺนา จ
อาสวา ปหิยฺยนฺติ
ดังนี้แล้ว ทรงขยายเทศนาให้พิสดาร เพื่อจะทรง
ชี้แจงเหตุแห่งการละ ซึ่งอาสวะที่ละได้ แม้อย่างอื่นโดยประการต่าง ๆ
จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่พึงละด้วย ทัสสนะ มีอยู่ ดังนี้
สมกับที่พระองค์เป็นพระธรรมราชา ผู้ฉลาดในประเภทแห่งเทศนา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสฺสนา ปหาตพฺพา ความว่า พึงละด้วย
ทัสสนะ ในทุกบทก็นัยนี้.

พรรณนาอาสวธรรมที่พึงละด้วยทัสสนะ


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะทรงจะกระทำให้แจ้งซึ่ง
บทเหล่านั้นโดยลำดับ จึงทรงตั้งปัญหาว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน
ที่ควรละด้วยทัสสนะ ดังนี้แล้ว ทรงเริ่มเทศนาอันเป็นปุคคลาธิฏฐานว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มีได้สดับในธรรมวินัยนี้ โดยนัยดังกล่าวแล้ว
ในอรรถกถามูลปริยายสูตร. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนสิกรณีเย
ธมฺเม นปฺปชานาติ
ความว่า ย่อมไม่รู้จักธรรมที่ควรน้อมนึก คือที่ควร
นำมาพิจารณา. บทว่า อนนสิกรณีเย ความว่า ย่อมไม่รู้จักธรรมที่ตรง
กันข้าม ในบทที่เหลือก็นัยนี้. ก็เพราะการกำหนดโดยธรรมว่า ธรรม
เหล่านี้ควรใส่ใจ ธรรมเหล่านี้ ไม่ควรใส่ใจ ดังนี้ ไม่มี แต่การกำหนด
โดยอาการมีอยู่ คือธรรมทั้งหลายที่ภิกษุใส่ใจอยู่โดยอาการใด จึงเป็น
ปทัฏฐานแห่งการยังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม ภิกษุไม่ควรทำ การใส่ใจ
ธรรมเหล่านั้นโดยอาการนั้น ธรรมทั้งหลายที่ภิกษุใส่ใจโดยอาการใด
จึงเป็นปทัฏฐานแห่งการนั่งเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรม ธรรมเหล่านี้ภิกษุควร
ใส่ใจโดยอาการนั้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นต้นว่า
ยสฺส ภิกฺขเว ธมฺเม มนสิกโรโต อนุปฺปนฺโน วา กามาสโว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส ความว่า อาสวะเหล่าใดของ
ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วนั้น. บทว่า นนสิกโรโต ความว่า ผู้ระลึก คือ
นำมาพิจารณา. วา ศัพท์ ในบทว่า อุปฺปนฺโน วา กามสโว นี้ มี
สมุจจยะเป็นอรรถ หาได้มีวิกัปเป็นอรรถไม้. ฉะนั้น พึงเห็นเนื้อความ
ในที่นี้ว่า กามาสวะ ที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น กามาสวะที่เกิดขึ้นแล้ว