เมนู

ว่าโดยบรรยายที่จำแนกอาสวะทั้งหลายมีมา 5 อย่าง คือ ภิกษุทั้งหลาย
อาสวะซึ่งเป็นเหตุยังสัตว์ให้เข้าถึงนรกก็มีอยู่ อาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไป
สู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มีอยู่ อาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่วิสัยแห่งเปรต
ก็มีอยู่ อาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่มนุษยโลกก็มีอยู่ และอาสวะอันเป็น
เหตุยังสัตว์ให้ไปสู่เทวโลกก็มี. ในฉักกนิบาต อาสวะมีมา 6 อย่าง โดยนัย
เป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่ต้องละด้วยสังวรมีอยู่. ส่วนในสูตรนี้
อาสวะ 6 เหล่านั้นนั่นแล พร้อมด้วยอาสวะที่ต้องละด้วยทัสสนะ มีมา
(รวม) เป็น 7 อรรถพจน์ และประเภท (แห่งอาสวะ) ในบทว่า
อาสวะ มีเพียงเท่านี้ก่อน.

อธิบายสังวร


ส่วนในบทว่า สังวร มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ที่ชื่อว่า สังวร
เพราะอรรถว่า สังวร อธิบายว่า ปิด คือห้าม ได้แก่ไม่ให้เป็นไป. สมจริง
ดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคต
อนุญาตให้ภิกษุผู้ต้องการพักผ่อนในกลางวัน ต้องปิดประตูเสียก่อนแล้วจึง
พักผ่อนดังนี้. พระอาจารย์กล่าว สังวร ด้วยอรรถว่า ปิดในคำเป็นต้นว่า
ตถาคต เรากล่าวสติว่าเป็นเครื่องห้ามกระแส กระแส
เหล่านั้นบุคคลย่อมปิดกั้นได้ด้วยปัญญา ดังนี้.

สังวรนั้นมี 5 อย่างคือ สีลสังวร สติสังวร ญาณสังวร ขันติ-
สังวร วิริยสังวร.
บรรดาสังวรเหล่านั้น สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุประกอบ
ด้วยปาฏิโมกขสังวรนี้ นี้ชื่อว่าสีลสังวร. ความจริงปาฏิโมกขศีลท่าน