เมนู

(การย่นย่อ) 4 สังเขป มีสนธิ 3 สนธิ มีอัทธา (กาล) 3 อัทธา
มีอาการ 20.

อธิบายปฏิจจสมุปบาท


ถามว่า ก็ปฏิจจสมุปปบาททั้งหมดนั่น ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาค-
เจ้า
ทรงแสดงแล้วด้วยคำเพียงเท่านี้อย่างไร ?
ตอบว่า ก็ในคำว่า นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูลํ นี้ มีอธิบายว่า ศัพท์ว่า
นนฺทิ นี้เป็นสังเขปที่ 1 ทุกข์เป็นสังเขปที่ 2 เพราะพระบาลีว่า
ทุกฺขสฺส ภพเป็นสังเขปที่ 3 เพราะพระบาลีว่า ภวา ชาติ ชาติ
ชราและมรณะเป็นสังเขปที่ 4. พึงทราบสังเขป 4 ด้วยคำเพียงเท่านี้ดัง
พรรณนามาฉะนี้. (บทว่า สังเขป) อธิบายว่า ได้แก่ส่วนทั้งหลาย.
ระหว่างตัณหากับทุกข์ เป็นสนธิที่ 1 ระหว่างทุกข์กับภพเป็น
สนธิที่ 2 ระหว่างภพกับชาติเป็นสนธิที่ 3 พึงทราบสนธิ 3 ระหว่าง
สังเขป 4 ซึ่งเหมือนกับระหว่างนิ้วมือทั้ง 4 ดังพรรณนามาฉะนี้.
ในปฏิจจสมุปบาทนั้น นันทิเป็นอตีตัทธา (กาลที่เป็นอดีต)
ชาติ ชรา และมรณะ เป็นอนาคตัทธา. (กาลที่เป็นอนาคต ) ทุกข์และ
ภพ เป็นปัจจุปันนัทธา (กาลที่เป็นปัจจุบัน ) พึงทราบอัทธา 3 ดัง
พรรณนามาฉะนี้แล.
อนึ่ง ในอตีตัทธา ในบรรดาอาการ 5 ด้วยคำว่า นันทิ ตัณหา
จึงมาแล้วหนึ่ง แม้ตัณหานั้น จะยังไม่มา ( อาการ 4 คือ) อวิชชา
สังขาร อุปาทาน และภพก็เป็นอันจัดเข้าแล้วทีเดียว ด้วยลักษณะที่เป็น
ปัจจัย. อนึ่ง ด้วยคำว่า ชาติ ชรา และมรณะ เพราะเหตุที่อธิบายไว้ว่า

ขันธ์เหล่าใดมีชาติ ชราและมรณะนั้น ขันธ์เหล่านั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสไว้แล้วทีเดียวในอนาคตัทธา จึงเป็นอันรวมเอาวิญญาณ นามรูป
สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนาเข้าไว้ด้วยเช่นกัน.
ในกรรมภพซึ่งเป็นภพแรกมีธรรม 5 ประการนี้คือ โมหะ ได้แก่
อวิชชา การประมวลมา ได้แก่สังขาร ความใคร่ ได้แก่ตัณหา
การเข้าไปยึดถือ ได้แก่อุปาทาน เจตนา ได้แก่ภพ เป็นปัจจัยของ
ปฏิสนธิในปัจจุปันนัทธา ในเพราะกรรมภพซึ่งเป็นภพแรก.
ในปัจจุปันนัทธามีธรรม 5 ประการนี้คือ ปฏิสนธิ คือวิญญาณ
สิ่งที่ก้าวลงคือนามรูป ปสาทรูปคืออายตนะ. อาการที่ถูกต้องคือผัสสะ
อาการที่เสวยอารมณ์คือเวทนา เป็นปัจจัยของกรรมที่ทำไว้ก่อน ใน
เพราะอุปปัตติภพในปัจจุปันนัทธา.
แต่เพราะในปัจจุปันนัทธา อายตนะทั้งหลายเจริญได้ที่แล้วจึงมี
ธรรม 5 ประการเหล่านี้คือ โมหะคืออวิชชา การประมวลมาคือสังขาร
ความใคร่คือตัณหา การเข้าไปยึดถือคืออุปาทาน เจตนาคือกรรมภพ
เป็นปัจจัยของปฏิสนธิในอนาคตัทธา ในเพราะกรรมภพในปัจจุปันนัทธา.
ในอนาคตัทธามีธรรม 5 ประการนี้คือ ปฏิสนธิคือวิญญาณ สิ่งที่
ก้าวลง (เกิดขึ้น) คือนามรูป ปสาทรูปคืออายตนะ อาการที่ถูกต้อง
คือผัสสะ อาการที่เสวยอารมณ์คือเวทนา เป็นปัจจัยของกรรมที่ทำไว้
แล้วในปัจจุปันนัทธา ในเพราะอุปปัตติภพในอนาคตัทธา.
พึงทราบอาการ 20 เหล่านี้ ในปฏิจจสมุปบาทนี้ ซึ่งมีลักษณะ
ดังแสดงไว้แล้วอย่างนี้ ด้วยประการฉะนั้นแล.

ปฏิจจสมุปบาทซึ่งมีสังเขป 4 มีสนธิ 3 มีอัทธา 3 (และ) มี
อาการ 20 แม้ทั้งหมดพึงทราบว่า ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงแล้วด้วยพระดำรัสเพียงเท่านี้ว่า เพราะทราบอย่างนี้ว่า นันทิ
(ความเพลิดเพลิน. ยินดี) เป็นรากเหง้าของทุกข์ จึงทราบต่อไปว่า
เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ที่เกิดมาแล้วย่อมมีชราและมรณะ ด้วยประการ
ดังพรรณนามาฉะนี้.

แก้บท ขยา วิราคา ปฏินสฺสคฺคา


บัดนี้ ข้าพเจ้าจักกระทำการพรรณนาไปตามลำดับบท ในบทนี้ว่า
ตสฺมา ติห ภิกฺขเว ฯเปฯ อภิสมฺพุทฺโธติ วทามิ แล้วสรุปข้อความ
ด้วยบทโยชนา.
บทว่า ตสฺมา ติห มีอธิบายว่า ได้แก่ ตสฺมา (เพราะเหตุนั้น )
นั่นเอง. (เพราะว่า) ติ อักษร และ อักษร เป็นนิบาต. คำว่า
สพฺพโส นั่น เป็นคำกล่าวไม่มีส่วนเหลือ. บทว่า ตณฺหานํ ได้แก่ตัณหา
ทั้งหมดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า นันทิ. บทว่า ขยา
แปลว่า เพราะความสิ้นไปโดยเด็ดขาดด้วยโลกุตตรมรรค. คำว่า วิราคะ.
(สำรอก) เป็นต้น เป็นไวพจน์ของคำว่า ขยะ (ความสิ้นไป).
อธิบายว่า ตัณหาเหล่าใดในรูปแล้ว ตัณหาเหล่านั้นย่อมเป็นอันสำรอก
แล้วบ้าง ดับแล้วบ้าง สละทิ้งแล้วบ้าง สลัดคืนบ้าง. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า
ขยา นั้น เป็นคำใช้ทวีไปแก่กิจของมรรคทั้ง 4. เพราะเหตุนั้น จึงควร
อธิบายประกอบความว่า เพราะสำรอกได้ด้วยมรรคที่ 1 (โสดาปัตติมรรค)
มรรคที่ 2 (สกทาคามิมรรค) เพราะสละทิ้งได้ด้วยมรรคที่ 3 (อนา-