เมนู

สมฺนาสมฺพุทฺโธ) นี้ พระพุทธโฆษาจารย์ได้อธิบายไว้แล้วโดยพิสดารใน
การพรรณนาพุทธานุสสติในวิสุทธิมรรค.

ปริญญาตวาระ


ก็ในบทว่า ปริญฺญาตนฺตํ ตถาคตสฺส นี้ พึงทราบอธิบายว่า วัตถุ
(ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่ง) การสำคัญยึดถือนั้น พระตถาคตกำหนดรู้แล้ว ดังนี้
ก็ได้. วัตถุนั้นชื่อว่า ตถาคตกำหนดรู้แล้ว คือมีวาระอันพระองค์ทรงรู้
อย่างรอบตอบแล้ว มีที่สุดอันพระองค์ทรงรู้อย่างรอบคอบแล้ว อธิบายว่า
ทรงรอมรู้อย่างไม่มีอะไรเหลือ.
อันที่จริง พระพุทธเจ้าทั้งหลายกับเหล่าพระสาวกไม่มีความแตกต่าง
กันในการละกิเลสด้วยมรรคนั้น ๆ ก็จริง ถึงกระนั้นก็ยังมีความแตกต่าง
กัน อยู่ในเรื่องปริญญา (ความรอบรู้) เพราะว่า เหล่าพระสาวกพิจารณา
ธาตุ 4 เพียงบางส่วนเท่านั้นก็บรรลุนิพพานได้ แต่สำหรับพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย สังขารแม้มีประมาณน้อย ที่ยังมิได้เห็น ยังมิได้ไตร่ตรอง
ยังมิได้พิจารณา ยังมิได้ทำให้แจ้งด้วยพระญาณ ย่อมไม่มี.
ส่วนวาระว่าด้วยนิพพาน คือวาระมีอาทิว่า นันทิ (ความเพลิด-
เพลิน)
เป็นมูลรากของทุกข์ นี้ใด ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้ว วาระนั้น
ควรขยายความให้พิสดารแม้ในวาระว่าด้วยปฐวีธาตุ เป็นต้น วาระนี้เป็น
วาระว่าด้วยสิ่งที่ทรงกำหนดรู้ และเมื่อจะขยายความให้พิสดารออกไป วาระ
ที่ว่า ปริญฺญาตนฺตํ ตถาคตสฺส ควรประกอบเข้ากับบททุกบท (ทั้ง)
คำว่า นันทิ เป็นมูลรากของทุกข์ เป็นต้น ก็ควรประกอบเข้ามาอีก ส่วน
เทศนา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่อไว้ด้วยทรงสำคัญว่า วัตถุ (ซึ่ง

เป็นที่ตั้งแห่งการสำคัญยึดถือ) เป็นอันกล่าวไว้ในทุกบททีเดียว.

แก้บท นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูลํ


อนึ่ง ในบทว่า นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูลํ เป็นต้น พึงทราบอธิบาย
ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า นนฺทิ ได้แก่ตัณหาครั้งแรก. บทว่า ทุกฺขํ ได้แก่เบญจ-
ขันธ์ ทว่า มูลํ ได้แก่รากเหง้า. บทว่า อิติ วิทิตฺวา ความว่า
เพราะทราบนันทิ (ความเพลิดเพลิน, ยินดี ) ในภพครั้งแรกนั้นอย่าง
นี้ว่า เป็นมูลรากของทุกข์นี้. บทว่า ภวา ได้แก่เพราะกรรมภพ.
บทว่า ชาติ ได้แก่วิบากขันธ์ (ขันธ์ที่เป็นวิบาก คือ เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ). แท้จริง วิบากขันธ์เหล่านั้น เพราะเหตุที่เกิด ฉะนั้น
จึงตรัสเรียกว่า ชาติ. อีกอย่างหนึ่ง เทศนาน พระผู้มีพระภาคเจ้า
แสดงไว้โดยยกถึงชาติ (การเกิดของวิบากขันธ์) เป็นหัวข้อ. แม้เมื่อ
เป็นอย่างนี้จึงควรประกอบเข้ากับคำนี้ว่า อิติ วิทิตฺวา. ก็ในคำนี้ มีอธิบาย
ดังนี้ว่า ก็เพราะทราบอย่างนี้ว่า เพราะกรรมภพ (เจตนาที่ทำกรรม)
จึงมีอุปปัตติภพ. บทว่า ภูตสฺส แปลว่า ของสัตว์. บทว่า ชรามรณํ
แปลว่า ชราและมรณะ. มีคำอธิบายอย่างนี้ว่า ก็เพราะทราบอย่างนี้ว่า
ชราและมรณะย่อมมีแก่ขันธ์ของสัตว์ผู้เกิดมาแล้ว เพราะอุปปัตติภพนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งโดยอปราชิตบัลลังก์ ณ โคนต้นโพธิ์
ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทใด จึงได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เพราะทรง
แทงตลอดซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั้น เมื่อจะทรงแสดงเหตุแห่งความไม่มีแห่ง
ความสำคัญยึดถือทั้งหลาย จึงทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทนั้นแล ซึ่งมีสังเขป