เมนู

สมฺนาสมฺพุทฺโธ) นี้ พระพุทธโฆษาจารย์ได้อธิบายไว้แล้วโดยพิสดารใน
การพรรณนาพุทธานุสสติในวิสุทธิมรรค.

ปริญญาตวาระ


ก็ในบทว่า ปริญฺญาตนฺตํ ตถาคตสฺส นี้ พึงทราบอธิบายว่า วัตถุ
(ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่ง) การสำคัญยึดถือนั้น พระตถาคตกำหนดรู้แล้ว ดังนี้
ก็ได้. วัตถุนั้นชื่อว่า ตถาคตกำหนดรู้แล้ว คือมีวาระอันพระองค์ทรงรู้
อย่างรอบตอบแล้ว มีที่สุดอันพระองค์ทรงรู้อย่างรอบคอบแล้ว อธิบายว่า
ทรงรอมรู้อย่างไม่มีอะไรเหลือ.
อันที่จริง พระพุทธเจ้าทั้งหลายกับเหล่าพระสาวกไม่มีความแตกต่าง
กันในการละกิเลสด้วยมรรคนั้น ๆ ก็จริง ถึงกระนั้นก็ยังมีความแตกต่าง
กัน อยู่ในเรื่องปริญญา (ความรอบรู้) เพราะว่า เหล่าพระสาวกพิจารณา
ธาตุ 4 เพียงบางส่วนเท่านั้นก็บรรลุนิพพานได้ แต่สำหรับพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย สังขารแม้มีประมาณน้อย ที่ยังมิได้เห็น ยังมิได้ไตร่ตรอง
ยังมิได้พิจารณา ยังมิได้ทำให้แจ้งด้วยพระญาณ ย่อมไม่มี.
ส่วนวาระว่าด้วยนิพพาน คือวาระมีอาทิว่า นันทิ (ความเพลิด-
เพลิน)
เป็นมูลรากของทุกข์ นี้ใด ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้ว วาระนั้น
ควรขยายความให้พิสดารแม้ในวาระว่าด้วยปฐวีธาตุ เป็นต้น วาระนี้เป็น
วาระว่าด้วยสิ่งที่ทรงกำหนดรู้ และเมื่อจะขยายความให้พิสดารออกไป วาระ
ที่ว่า ปริญฺญาตนฺตํ ตถาคตสฺส ควรประกอบเข้ากับบททุกบท (ทั้ง)
คำว่า นันทิ เป็นมูลรากของทุกข์ เป็นต้น ก็ควรประกอบเข้ามาอีก ส่วน
เทศนา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่อไว้ด้วยทรงสำคัญว่า วัตถุ (ซึ่ง