เมนู

พระมุนีทั้งหลายมีวิปัสสีพุทธเจ้าเป็นต้น ได้เสด็จมา
ถึงความเป็นพระสัพพัญญูในโลกนี้ โดยประการใด
แม้พระศากยมุนีก็เสด็จมาโดยประการนั้น ด้วยเหตุ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีจักษุ ท่านจึงเรียกว่า
พระตถาคต ดังนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้ว โดยประการนั้น ดังพรรณนามา
อย่างนี้ ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า พระตถาคต.

ตถาคตผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น


ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้นามว่า ตถาคต เพราะเสด็จ
ไปแล้ว อย่างนั้น อย่างไร ?
ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนานว่า กัสสปะ ประสูติได้ครู่เดียวก็เสด็จ
ดำเนินไปได้ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราก็เสด็จดำเนินไปได้ฉันนั้น
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรานั้น เสด็จดำเนินไปได้อย่างไร ?
(อย่างนี้คือ) ประสูติได้ครู่เดียว ประทับยืนอยู่บนพื้นปฐพี ด้วย
พระบาทอันเรียบเสมอ ผินพระพักตร์ตรงต่อทิศอุดร ย่างพระบาทดำเนิน
ไปได้ 7 ก้าว เหมือนอย่างที่พระองค์ตรัสไว้ว่า อานนท์ พระโพธิสัตว์
ประสูติได้ครู่เดียว ประทับยืนบนปฐพีอยู่ด้วยพระบาทอันเรียบเสมอ
ผินพระพักตร์ต่อทิศอุดร ย่างพระบาทดำเนินไปได้ 7 ก้าว โดยมี
เทวดากั้นเศวตฉัตรติดตามไป ทรงตรวจดูรอบทิศ เปล่งอาสภิวาจาว่า
เราเป็นผู้เลิศ เป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลก ชาตินี้เป็น

ชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว ดังนี้
ก็การเสด็จไปนั้นของพระองค์นั้น เป็นอย่างนั้น ไม่ผิดจากนั้น
โดยเป็นบุพพนิมิตแห่งการบรรลุคุณวิเศษอย่างมากมาย.
ก็ข้อที่พระองค์ประสูติได้ครู่หนึ่ง และประทับยืนอยู่บนพื้นปฐพี
ด้วยพระบาทอันเรียบเสมอนี้นั้น เป็นบุพพนิมิตแห่งการได้อิทธิบาท 4.
ข้อที่พระองค์หันพระพักตร์ไปทางทิศอุดรนั้น เป็นบุพพนิมิตแห่ง
ความที่พระองค์เป็นผู้ข้ามพ้นโลกทั้งหมด.
การย่างพระบาทดำเนินได้ 7 ก้าว เป็นบุพพนิมิตแห่งการได้รัตนะ
คือโพชฌงค์ 7 ประการ.
การยกจามร ที่กล่าวไว้ในบทว่า จามรมีด้ามเป็นทองผ่านไปดังนี้
ขึ้น เป็นบุพพนิมิตแห่งการย่ำยีพวกเดียรถีย์ทั้งหมด.
การที่ทรงเศวตฉัตร เป็นบุพพนิมิตแห่งการได้เศวตฉัตรอันประ-
เสริฐวิเศษ ปราศจากมลทิน คือการหลุดพ้นด้วยอำนาจความเป็นพระ
อรหันต์.
การที่ทรงตรวจดูไปทั่วทิศนั้น เป็นบุพพนิมิตแห่งการได้ญาณอัน
ประเสริฐ คือพระสัพพัญญุตญาณ.
การที่ทรงเปล่งอาสภิวาจา เป็นบุพพนิมิตแห่งการประกาศธรรมจักร
อันประเสริฐไม่มีใครคัดค้านได้.
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เสด็จไปโดยประการนั้น และการเสด็จไป
ของพระองค์นั้น เป็นอย่างนั้น ไม่ผิดจากนั้น โดยเป็นบุพพนิมิตแห่งการได้
บรรลุคุณวิเศษมากมาย. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า:-

พระโคดมนั้นนพอประสูติแล้วครู่เดียวเท่านั้น ก็
เหยียบพื้นพสุธาด้วยพระบาทอันเรียบเสมอแล้ว
เสด็จดำเนินไปได้ 7 ก้าว เหมือนโคผู้นำฝูงเดินนำ
หน้าฝูงโคไปฉะนั้น และหมู่เทวดาทั้งหลาย ก็ได้กาง
กั้นเศวตฉัตรถวายพระโคดมนั้น ครั้นย่างพระบาท
ไปได้ 7 ก้าวแล้ว ทรงตรวจดูทั่วทุกทิศอย่างสม่ำ
เสมอโดยรอบ ได้เปล่งพระสุรเสียงอันประกอบด้วย
องค์ 8 เหมือนพญาราชสีห์ยืนอยู่บนยอดภูเขาเปล่ง
สีหนาทฉะนั้น ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้วโดยประการนั้น
ดังพรรณนามาอย่างนี้ ฉะนั้นพระองค์จึงทรงพระนาม
ว่า ตถาคต.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า กัสสปะ เป็นฉันใด พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ของเราแม้นี้ก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน คือพระองค์ทรงละ
กามฉันท์ด้วยเนกขัมมะเสด็จไปแล้ว, ทรงละพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท
ทรงละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ทรงละอุทธจัจกุกกุจจะด้วยความไม่
ฟุ้งซ่าน ทรงละวิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรมเสด็จไปแล้ว. ทรงทำลาย
อวิชชาด้วยญาณเสด็จไปแล้ว, ทรงบรรเทาความไม่ยินดีด้วยความปราโมทย์
ทรงเพิกถอนเครื่องกั้นคือนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ยังความมืดคือวิตก
วิจารให้สงบระงับด้วยทุติยฌาน ทรงสำรอกปีติด้วยตติยฌาน ทรงละสุข
และทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ทรงล่วงพ้นรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา และนานัตต-
สัญญาด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ทรงล่วงพ้นอากาสานัญจายตน-

สัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ทรงล่วงพ้นวิญญาณัญจายตนสัญญาด้วย
อากิญจัญญายตนสมาบัติ ทรงล่วงพ้นอากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนว-
สัญญานาสัญญายตนสมาบัติเสด็จไปแล้ว, ทรงละนิจจสัญญาด้วย
อนิจจานุปัสสนาญาณ ทรงละสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนาญาณ ทรง
ละอัตตคสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนาญาณ ทรงละความเพลิดเพลินด้วย
นิพพิทานุปัสสนาญาณ ทรงละราคะด้วยวิราคานุปัสสนาญาณ ทรงละ
สมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนาญาณ ทรงละการถือมั่นด้วยปฏินิสัคคานุปัสสนา
ญาณ ทรงละฆนสัญญาด้วยขยานุปัสสนาญาณ ทรงละการประมวลมา
ด้วยวยานุปัสสนาญาณ ทรงละธุวสัญญาด้วยวิปริณามานุปัสสนาญาณ ทรง
ละนิมิตตสัญญาด้วยอนิมิตทานุปัสสนาญาณ ทรงละความปรารถนาด้วย
อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ ทรงละอภินิเวสด้วยสุญญมานุปัสสนาญาณ ทรง
ละการยึดถือโดยเป็นสาระด้วยอธิปัญญาธัมมวิปัสสนาญาณ ทรงละการ
ยึดมั่นเพราะความหลงด้วยยถาภูตญาณทัสสนญาณ ทรงละความยึดถือด้วย
ความอาลัยด้วยอาทีนวานุปัสสนาญาณ ทรงละการไม่พิจารณาด้วย
ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ทรงละการยึดมั่นด้วยอำนาจสังโยชน์ด้วยวิวัฏฏา-
นุปัสสนาญาณ ทรงหักรานกิเลสในปัจจุบันด้วยโสดาปัตติมรรค ทรงละ
กิเลสอย่างหยาบด้วยสกทาคามิมรรค ทรงเพิกถอนกิเลสซึ่งยังเหลืออยู่
เล็กน้อยด้วยอนาคามิมรรค ทรงตัดขาดกิเลสทุกอย่างด้วยอรหัตตมรรค
เสด็จไปแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้วอย่างนั้น ด้วยอาการ
ดังพรรณนามาอย่างนี้ ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต.

ตถาคตผู้เสด็จมาสู่ลักษณะอันแท้จริง


ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ตถาคต เพระเสด็จ
มาสู่ลักษณะอันแท้จริงนั้น อย่างไร?
ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จมาแล้ว คือถึงโดยไม่ผิด
ได้แก่บรรลุโดยลำดับ ซึ่งลักษณะแห่งปฐวีธาตุว่าเป็นความเข้มแข็ง
อย่างถูกต้องไม่ผิด ซึ่งลักษณะแห่งอาโปธาตุว่าเป็นเครื่องไหล ลักษณะ
แห่งเตโชธาตุว่าเป็นของร้อน ลักษณะแห่งวาโยธาตุว่าเคลื่อนไหว
ลักษณะอากาสธาตุว่าถูกต้องไม่ได้ ลักษณะแห่งวิญญาณธาตุว่าเป็นเครื่องรู้
ลักษณะแห่งรูปว่าการย่อยยับไป ลักษณะแห่งเวทนาว่าการเสวยอารมณ์
ลักษณะสัญญาว่าความจำได้ ลักษณะแห่งสังขารว่าเป็นเครื่องปรุงแต่ง
ลักษณะแห่งวิญญาณว่าความรู้แจ้ง ลักษณะของวิตกว่าการยกจิตขึ้นสู่
อารมณ์ ลักษณะของวิจารว่าการเคล้าอารมณ์ ลักษณะปีติว่าการแผ่ซ่าน
ไป ลักษณะแห่งสุขว่าความยินดี ลักษณะแห่งจิตเอกัคคตาว่าความไม่
ฟุ้งซ่าน ลักษณะแห่งผัสสะว่าการถูกต้อง ลักษณะของสัทธินทรีย์ว่าการ
น้อมใจเชื่อ ลักษณะของวิริยินทรีย์ว่าการประคองจิต ลักษณะของสติน-
ทรีย์ว่าความปรากฏชัด ลักษณะแห่งสมาธินทรีย์ว่าความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน
ลักษณะของปัญญินทรีย์ว่าการที่จิตรู้ชัด ลักษณะของสัทธาพละว่าความที่
จิตไม่หวั่นไหวในเพราะสิ่งไม่ควรเชื่อ ลักษณะของวิริยพละว่าความที่จิต
ไม่หวั่นไหวในเพราะความเกียจคร้าน ลักษณะแห่งสติพละว่าความที่จิต
ไม่หวั่นไหวในเพราะความหลงลืมสติ ลักษณะแห่งสมาธิพละว่าความที่จิต
ไม่หวั่นไหวในเพราะอุทธัจจะ ลักษณะแห่งปัญญาพละว่าความที่จิตไม่