เมนู

อรรถกถาอาฏานาฏิยสูตร



เอวมฺเม สุตนฺติ อาฏานาฏิยสุตฺตํ


ต่อไปนี้ เป็นการพรรณนาบทตามลำดับในสูตรนั้น. บทว่า ตั้งการ
รักษา ในทิศทั้ง 4
ความว่า ตั้งอารักขาแก่ท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดา
ทั้งหลายในทิศทั้ง 4 เพื่อป้องกันทัพอสูร. บทว่า ตั้งกองทัพ คือ ตั้งกอง
กำลัง. บทว่า ตั้งผู้ตรวจตรา คือตั้งหน่วยรักษาการณ์ในทิศทั้ง 4. อธิบายว่า
ท้าวมหาราชทั้ง 4 ได้จัดการอารักขาเป็นอย่างดี แก่ท้าวสักกะผู้เป็นเทวราช
อย่างนี้ ประทับนั่ง ในอาฏานาฏานคร ปรารภถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
7 พระองค์ แล้วผูกเครื่องป้องกันนี้ แล้วประกาศว่า ผู้ใดไม่เชื่อฟังธรรม
อาชญา ของพระศาสดา และราชอาชญาของเรา เราจักทำสิ่งนี้ สิ่งนี้แก่
ผู้นั้น ดังนี้ แล้วจัดอารักขาด้วยเสนา. เหล่า มียักขเสนาใหญ่เป็นต้น
ในทิศทั้ง 4 ของตนเมื่อราตรีล่วงไปแล้ว ฯลฯ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
อภิกกันตศัพท์ในบทนี้ว่า เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว ดังนี้ ย่อมปรากฏใน
ความว่า สิ้นไปดี งามยิ่ง ยินดียิ่ง เป็นต้น. อภิกกันตศัพท์ในบทนั้น
ปรากฏในความสิ้นในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญราตรีสิ้นแล้ว
ยามแรกผ่านไปแล้ว หมู่ภิกษุนั่งนานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรง
สวดพระปาฏิโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายเถิดพระพุทธเจ้าข้า. ในความว่าดีในบท
มีอาทิอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาค นี้ดีกว่าและประณีตกว่าบุคคล 4 เหล่านี้
ดังนี้. ในความว่า รัศมีงาม ในบทมีอาทิว่า
ใครรุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ด้วยยศ มีรัศมีงามยิ่งนัก ยังทิศทั้งหมดให้สว่าง
ไสว ไหว้เท้าของเราดังนี้. ในความว่า น่ายินดียิ่งนักในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่ายินดียิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่ายินดียิ่งนัก
ดังนี้. แต่อภิกกันตศัพท์ในที่นี้เป็นไปในความว่า สิ้นไป. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เมื่อราตรีล่วงไปคือ เมื่อราตรีสิ้นไปดังนี้.
อภิกกันตศัพท์ในบทนี้ว่า มีรัศมีงามยิ่งนัก เป็นไปในรูปงามยิ่ง. แต่
วัณณศัพท์ ย่อมปรากฏในความว่า ผิว สรรเสริญ ตระกูล เหตุ สัญฐาน
ประมาณ รูปายตนะ เป็นต้น. ในบททั้งหลายนั้น วัณณศัพท์ เป็นไป
ในความว่า ผิว ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์
มีผิวดุจทองคำ. วัณณศัพท์ เป็นไปในความว่า สรรเสริญ ในบทมีอาทิอย่าง
นี้ว่า ดูก่อนคหบดี ก็การสรรเสริญ พระสมณโคดมของท่านจะปรากฏได้
เมื่อไรดังนี้. เป็นไปในความว่าชาติตระกูล ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระ
โคดมผู้เจริญ ชาติตระกูล 4 เหล่านี้ดังนี้. เป็นไปในความว่า เหตุ ในบทมี
อาทิอย่างนี้ ว่า เออก็ด้วยเหตุไรหนอท่านจึงกล่าวว่าเป็นผู้ขโมยกลิ่น. เป็น
ไปไนความว่าสัณฐาน ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า เนรมิต สัณฐาน เท่าพระยา
ช้างใหญ่. เป็นไปในความว่า ประมาณในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ประมาณของ
บาตร 3 อย่าง. เป็นไปในความว่า รูปายตนะในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า รูป
กลิ่น รส โอชะดังนี้. วัณณศัพท์นั้น ในที่นี้พึงทราบว่า เป็นไปในความว่า
ผิว. ด้วยเหตุนี้ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า มีรัศมีงามนัก คือมีผิวงามยิ่งดังนี้
เกวลศัพท์ ในบทว่า เกวลกัปปะนี้ มีความไม่น้อยเป็นต้นว่า ไม่
มีส่วนเหลือ โดยมากไม่มีเจือปน ไม่ยิ่งไปกว่า แน่วแน่ แยกกัน. มีอธิบาย
ด้วยประการนั้น คือ เกวลศัพท์ความว่า ไม่มีส่วนเหลือในบทมีอาทิอย่างนี้
ว่า พรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. มีความว่า โดยมากในบทมีอาทิ
อย่างนี้ว่า ชาวเมืองอังคะ และชาวเมืองมคธ ส่วนมากเป็นผู้ใคร่จะถือเอา

ของเคี้ยว ของบริโภค จนเพียงพอแล้วหลีกไปดังนี้. มีความว่า ไม่มีเจือปน
ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า เป็นเหตุเกิดแห่งกองทุกข์ล้วน ๆ มีความว่า ไม่ยิ่งกว่า
ในบทมิอาทิอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุนี้ เพียงมิศรัทธาไม่ยิ่งไปกว่า. มีความว่า
แน่วแน่ ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า พระพาหิกะ สัทธิวิหาริกของท่าน
อนุรุทธะตั้งอยู่ในสังฆเภทอย่างแน่วแน่. มีความว่า แยกกันในบทมีอาทิ
อย่างนี้ว่า อุดมบุรุษ แยกกันอยู่ดังนี้. แต่ในที่นี้ เกวลศัพท์ท่านประสงค์
เอาความ คือ ไม่มีส่วนเหลือ.
อนึ่ง กัปปศัพท์นี้มีความหลายอย่าง เป็นต้นว่า ความเชื่ออย่างยิ่ง
โวหาร กาล บัญญัติ การตัด วิกัป เลส ความเป็นโดยรอบ. มีอธิบายด้วย
ประการนั้น คือกัปปศัพท์มีความว่า ความเชื่ออย่างยิ่ง ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า
โดยที่พระโคดมผู้เจริญ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าควรไว้ใจได้
มีความว่า โวหาร ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
เพื่อบริโภคผลไม้ด้วยโวหารของสมณะ 5. มีความว่า กาลในบทมีอาทิ
อย่างนี้ว่า ได้ยินว่าเราอยู่ตลอดกาลเป็นนิจ. มีความว่า บัญญัติในบทมีอาทิ
อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ เป็นผู้บัญญัติไว้ด้วยประการฉะนี้. มีความว่า
ตัดในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ตกแต่งแล้ว คือ ตัดผมและโกนหนวด. มีความ
ว่า วิกัป ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ประมาณ 2 นิ้ว จึงควร. มีความว่า
เลสในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า หาเลส เพื่อจะนอนมีอยู่. มีความว่า ความเป็น
โดยรอบ ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ยังพระเวฬุวัน ให้สว่างไสว โดยรอบ
ก็ในที่นี้ท่านประสงค์ กัปปศัพท์ มีความว่า ความเป็นโดยรอบ. เพราะ
ฉะนั้น ในบทนี้ว่า ยังภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้นให้สว่างไสวดังนี้ พึงเห็นความ
อย่างนี้ว่า ยังเขาคิชฌกูฏให้สว่างไสวโดยรอบ ไม่มีส่วนเหลือ.

บทว่า ให้สว่างไสว ความว่า แผ่พระรัศมีพวยพุ่งจาก สรีระประดับ
ด้วยผ้าและดอกไม้. อธิบายว่า กระทำให้มีแสงสว่างเป็นอันเดียว ให้
รุ่งเรือง เป็นอันเดียว ดุจพระจันทร์และพระอาทิตย์. บทว่า เอกมนฺติ
นิสีทึสุ
ความว่า ชื่อว่าที่นั่ง ในสำนักพระทศพลของเทวดาทั้งหลาย
ไม่มาก. แต่ในพระสูตรนี้ พวกเทวดานั่งด้วยความเคารพพระปริต.
บทว่า ท้าวเวสวัณ ความว่า ท่าวมหาราชทั้ง 4 เสด็จมาก็จริง
แต่ท้าวเวสวัณ เป็นผู้คุ้นเคยของพระทศพล ฉลาดในการกราบทูล มีการ
ศึกษาเป็นอย่างดี เพราะฉะนั้น ท้าวเวสวัณมหาราช จึงได้กราบทูลกะ
พระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า ชั้นสูง คือเป็นผู้มีศักดิ์ใหญ่ถึงพร้อมด้วย
อานุภาพ. บทว่า เพื่อเว้นจากปาณาติบาต ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงโทษอันเป็นไปในปัจจุบันและภพหน้า ในปาณาติบาต แล้วทรง
แสดงธรรม เพื่อเว้นจากปาณาติบาตนั้น. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้แล. บทว่า
ยักษ์ชั้นสูงบางพวกมักอยู่ในป่านั้นก็มี ความว่า ในเสนาสนะเหล่านั้น
มียักษ์ชั้นสูงมักอยู่เป็นประจำ. บทว่า อาฏานาฏิยะ ความว่า ชื่ออย่างนี้
เพราะผูกขึ้นใน อาฏานาฏานคร. ถามว่า ชื่อว่าธรรมที่ไม่แจ่มแจ้งมีอยู่แก่
พระผู้มีพระภาคเจ้าหรือ. ตอบว่า ไม่มี. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นเพราะ
เหตุไร ท้าวเวสวัณ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี
พระภาคโปรดเรียน อาฏานาฏิยรักษ์เถิดพระเจ้าข้า ดังนี้. ตอบว่า เพื่อ
หาโอกาส. ด้วยว่า ท้าวเวสวัณนั้นคอยโอกาสเพื่อจะให้ได้ฟังพระปริตนี้
กะพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกราบทูลอย่างนี้. โบราณกบัณทิตกล่าวว่า เมื่อ
ท้าวเวสวัณกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วพระปริตนี้จักเป็นครูดังนี้

บ้าง. บทว่า เพื่อความอยู่สำราญ ความว่า เพื่ออยู่เป็นสุข ในอิริยาบถ
ทั้ง 4 มีเดิน ยืน เป็นต้น.
บทว่า มีจักษุ ความว่า ไม่ใช่พระวิปัสสีพุทธเจ้าเท่านั้น มีจักษุ
แม้พระพุทธเจ้า 7 พระองค์ ก็มีจักษุ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ๆ
ย่อมมีชื่อ เจ็ดอย่างเหล่านี้. แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็มีจักษุ ผู้ทรง
อนุเคราะห์สัตว์ทั่วหน้า ผู้ทรงชำระกิเลส เพราะมีกิเลสอันทรงชำระแล้ว
ทรงย่ำยีมารและเสนามาร ทรงอยู่จบพรหมจรรย์ ทรงพ้นวิเศษแล้ว มี
พระนามว่า อังคีรส เพราะรัศมีออกจากพระวรกาย. อนึ่ง ชื่อทั้งเจ็ด
เหล่านี้ มิใช่ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย โดยสิ้นเชิง. ท่านกล่าวว่า ท่านผู้
แสวงหาคุณใหญ่ ด้วยมีคุณย่อมมีชื่อนับไม่ถ้วน. ก็ท้าวเวสวัณกล่าวอย่างนี้
ด้วยสามารถพระนามอันปรากฏแก่ตน.
ในบทว่า ชนเหล่านั้นนี้ ท่านประสงค์ถึง ชนผู้เป็นขีณาสพ.
บทว่า ไม่ส่อเสียด นี้เพียงเป็นยอดของเทศนา. อธิบายว่า ไม่พูดเท็จ
ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบ พูดพอประมาณ. บทว่า มหตฺตา ความว่า
ถึงความเป็นผู้ยิ่งใหญ่. บาลีว่า มหนฺตา ดังนี้บ้าง. ความว่า ใหญ่
บทว่า ปราศจากความครั่นคร้าม คือ ไม่มีความครั่นคร้าม ปราศจาก
ขนพองสยองเกล้า. บทว่า ประโยชน์เกื้อกูล คือเป็นประโยชน์ด้วยการ
แผ่เมตตา. ค่าว่า ยํ ในบทนี้ว่า ยํ นมสฺสนฺติ เป็นเพียงนิบาต.
บทว่า มหตฺตํ ได้แก่ ใหญ่. อีกประการหนึ่ง บาลีก็เป็นอย่างนี้ เป็นอัน
ท่านกล่าวบทนี้ไว้ว่า บทว่า พระพุทธเจ้าเหล่าใด ผู้ดับแล้วในโลก
ความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ดับแล้วด้วยการดับกิเลสทรงเห็นแจ้งตาม

ความเป็นจริง อนึ่ง เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย นอบน้อมพระโคดม ผู้ทรง
เกื้อกูล แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงถึงพร้อมด้วยคุณธรรม มีวิชชา
เป็นต้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายแม้เหล่านั้น ไม่ตรัสส่อเสียด ขอความนอบ
น้อมจงมีแด่พระพุทธเจ้า แม้เหล่านั้น. แต่ในอรรถกถากล่าวว่า บทว่า
ชนทั้งหลายเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ส่อเสียด ความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
เหล่านั้นเป็นผู้ไม่ส่อเสียดดังนี้. ท้าวเวสวัณมหาราชกล่าวสรรเสริญ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ด้วยคาถาบทแรกอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ท้าวเวสวัณ.
มหาราชกล่าวคาถาบทแรกด้วยอำนาจของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย 7 พระ-
องค์. บทว่า พระโคดมในคาถาที่สองนี้เป็นเพียงมุขของเทศนา. พึงทราบ
คาถาที่สองนี้ว่า ท้าวเวสวัณมหาราชกล่าวด้วยอำนาจของพระพุทธเจ้าทั้ง
7 พระองค์เหมือนกัน. ก็ในบทนี้มีอธิบายดังนี้ว่า เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย ผู้เป็นบัณฑิตในโลก ย่อมนอบน้อมพระโคดมพระองค์ใด ขอความ
นอบน้อมจงมีแด่พระโคดมนั้น และพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่มีมาก่อน แต่
พระโคดมนั้น. บทว่า ยโต อุคฺคจฺฉติ ความว่า ย่อมขึ้นแต่ที่ใด.
บทว่า พระอาทิตย์ ได้แก่บุตรของพระอาทิติ. หรือว่าบทนี้เป็น
เพียงไวพจน์ของ สุริยศัพท์. พระอาทิตย์ชื่อว่า มัณฑลีมหา เพราะมี
มณฑลใหญ่. บทว่า ยสฺส จุคฺคจฺฉมานสิส ความว่า ครั้นพระอาทิตย์ใด
ขึ้นอยู่. บทว่า สํวรีปิ นิรุชฺฌติ ความว่า กลางคืนย่อมหายไป. บทว่า
ยสฺส จุคฺคเต ความว่า ครั้นพระอาทิตย์ขึ้นแล้ว. บทว่า รหโท ความว่า
ห้วงน้ำ. บทว่า ในที่นั้น ความว่า ในที่ที่พระอาทิตย์ขึ้น. บทว่า สมุทฺโท
คือ สมุทรใด ท่านกล่าวว่า ห้วงน้ำ สมุทรนั้นไม่ใช่อื่น คือสมุทรนั้น

เอง. บทว่า มีน้ำแผ่เต็มไป คือน้ำไหลเอ่อ ความว่า แม่น้ำทั้งหลาย
มีประการต่าง ๆ แผ่เต็มไปหรือไหลเข้าไปในน้ำของสมุทรนั้น เพราะเหตุ
นั้น จึงชื่อว่า สมุทรมีน้ำแผ่เต็มไป. บทว่า ชนทั้งหลายย่อมรู้จักห้วง
น้ำนั้นในที่นั้นอย่างนี้
ความว่า ย่อรู้ห้วงน้ำนั้นในที่นั้นอย่างนี้. ถามว่า
รู้จักว่าอย่างไร. ตอบว่า รู้จักอย่างนี้ว่า สมุทรมีน้ำแผ่ไปเต็มดังนี้. บทว่า
แต่นี้ไป ความว่า แต่ภูเขาสิเนรุหรือ แต่ที่ที่พวกเทวดาเหล่านั้นนั่ง. บทว่า
ชโน คือ มหาชนนี้. บทว่า มีชื่อเดียว คือมีชื่อเดียวว่า อินทะ. ได้ยินว่า
ท้าวมหาราชทั้ง 4 ได้ตั้งชื่อของท้าวสักกเทวราชให้เป็นชื่อของโอรส
เหล่านั้นทุกพระองค์. บทว่า อสีติ ทส เอโก จ คือบุตร 91 พระองค์
บทว่า อินทนามะ คือมีชื่ออย่างนี้ว่า อินทะ อินทะ. บทว่า พระพุทธเจ้า
ผู้ตื่นแล้ว ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์
ความว่า ผู้ตื่นแล้ว เพราะ
ปราศจากความหลับ คือกิเลส ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ เพราะความเป็น
ผู้มีโคตรเสมอด้วยพระอาทิตย์. บทว่า พระองค์ทรงตรวจดูมหาชนด้วย
ความฉลาด
ความว่า ทรงตรวจดูมหาชนด้วยพระสัพพัญญุตญาณ อัน
ไม่มีโทษ หรือละเอียด. บทว่า แม้อมนุษย์ทั้งหลายก็พากันถวายบังคม
พระองค์
ความว่า แม้อมนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงตรวจดู
มหาชน ด้วยสัพพัญญุตญาณแล้ว ก็พากันถวายบังคมพระพุทธเจ้าพระองค์
นั้น บทว่า สุตํ เนตํ อภิณฺหโส ความว่า ความข้อนั้นข้าพระองค์
ทั้งหลายได้ฟังเนือง ๆ. บทว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถวายบังคม
พระชินโคดม
ความว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถามเขาว่า พวกท่าน
ถวายบังคมพระชินโคดมหรือ เขาพากันตอบว่า ถวายบังคมพระชินโคดม.
บทว่า ตายแล้ว ชนทั้งหลายพากันกล่าวว่า จงนำออกไปโดยทิศใด

ความว่า ชนตายแล้วชื่อว่าเปรต ชนทั้งหลายพากันกล่าวว่า จงนำชน
ผู้ตายแล้วเหล่านั้นออกไปโดยทิศใด. บทว่า พูดส่อเสียดกัดเนื้อข้าง
หลัง
ความว่า ผู้กล่าวคำส่อเสียดนั่นแล เป็นดุจกัดเนื้อข้างหลัง และ
ติเตียนลับหลัง ชนทั้งหลายพากันกล่าวว่า จะนำชนเหล่านี้ออกไปโดยทิศ
ใด. ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายนำคนเหล่านั้น แม้ทั้งหมดออกทาง
ทิศทักษิณ จงเผา หรือจงทำลาย หรือจงฆ่า ด้านทิศทักษิณของพระนคร
ดังนี้.
บทว่า แต่นี้ไปทิศที่ชนเรียกกันว่า ทิศทักษิณนั้น ความว่า
ชนทั้งหลายพากันกล่าวว่า จงนำคนที่กล่าวส่อเสียดเป็นต้น ที่ตายไปแล้ว
ออกไปโดยทิศาภาคใด แต่นี้ไปทิศที่ชนเรียกกันว่า ทิศทักษิณนั้น. บทว่า
แต่นี้ไป ความว่า แต่ภูเขาสิเนรุ หรือแต่ที่ที่เทวดาเหล่านั้นนั่ง. บทว่า
เป็นเจ้าเป็นใหญ่ของพวกกุมภัณฑ์ ความว่า ได้ทราบว่า เทาดาเหล่านั้น
เป็นผู้มีท้องใหญ่. อนึ่ง ลูกอัณฑะของเทวดาเหล่านั้นใหญ่ดุจหม้อ เพราะ
ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า กุมภัณฑ์. บทว่า พระอาทิตย์ตกในที่ใด ความว่า
พระอาทิตย์อัสดงคตโดยทิศาภาคใด โดยทิศาภาคนั้น. บทว่า มหาเนรุ คือ
ภูเขาหลวงชื่อสิเนรุ. บทว่า ดูงดงาม คือ ดูงาม เพราะสำเร็จด้วยทอง.
ด้วยว่า ข้างทิศปราจิน ของภูเขาสิเนรุ สำเร็จด้วยเงิน ข้างทิศทักษิณ
สำเร็จด้วยแก้วมณี ข้างทิศปัจฉิมสำเร็จด้วยแก้วผลึก ข้างทิศอุดรสำเร็จ
ด้วยทอง ข้างทิศอุดรนั้นเป็นข้างที่ดูเพลิน เพราะฉะนั้น ภูเขาสิเนรุ เป็น
ภูเขาที่ดูงดงาม โดยทิศาภาคใด นี้เป็นใจความในภูเขาสิเนรุนี้. บทว่า
มนุสฺสา ตตฺถ ชายนฺติ ความว่า มนุษย์ทั้งหลายเกิดในอุตตรกุรุทวีปนั้น.

บทว่า ไม่ยึดถือว่าเป็นของตน ความว่า เว้นจากความยึดถือว่าเป็นของเรา
แม้ในผ้าอาภรณ์ น้ำดื่ม และของบริโภคเป็นต้น. บทว่า ไม่หวงแหนกัน
คือ ไม่หวงแหนด้วยความหวงแหนในหญิง. อธิบายว่า ได้ยินว่า มนุษย์
เหล่านั้นไม่มีความหวงแหนว่า นี้ภรรยาของเรา. ความกำหนัดด้วยความ
พอใจ ย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะเห็นมารดาหรือน้องสาว. บทว่า ไม่ต้อง
นำไถออกไถ
ความว่า แม้ไถก็ไม่ต้องนำออกไปสู่นาด้วยความประสงค์ว่า
เราจักทำการกสิกรรมในนานั้น. บทว่า ข้าวสาลีอันผลิตผลในที่ไม่ต้อง
ไถ
ความว่า ข้าวสาลีเกิดขึ้นเองในป่าอันเป็นพื้นที่ที่ไม่ต้องไถ. บทว่า
เป็นเมล็ดข้าวสาร คือ ข้าวสารนั้นแล เป็นผลของพื้นที่นั้น บทว่า
หุงในเตาอันปราศจากควัน คือ เกลี่ยข้าวสาร ลงไปในหม้อ แล้วหุง
ด้วยไฟ อันปราศจากควัน และเถ้า. ได้ยินว่า ในที่นั้น ชื่อ โชติกปาสาณะ
ที่นั้นชนทั้งหลายวางหิน 3 ก้อน แล้วยกหม้อขึ้นตั้ง ไฟตั้งขึ้นจากหินแล้ว
หุงข้าว. บทว่า บริโภคข้าวจากหม้อนั้นนั่นเอง ความว่า บริโภค
โภชนะนั้นเองจากหม้อข้าวนั้น. ไม่แกงหรือผัดอย่างอื่น. อนึ่ง รสของข้าว
นั้นเป็นรสบำรุงใจของผู้บริโภคอย่างดี. ชนเหล่านั้นย่อมให้แก่ผู้มาถึงที่นั้น
ทุกคน ชื่อว่าจิตตระหนี่ย่อมไม่มี. แม้พระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้า
เป็นต้น ทรงฤทธิ์มาก เสด็จไป ณ ที่นั้น ย่อมรับบิณฑบาต.
บทว่า ทำแม่โคให้มีกีบเดียว ความว่า ยักษ์ทั้งหลาย ผู้รับใช้
ท้าวเวสวัณ จับแม่โค ให้มีกีบเดียวเป็นพาหนะ เหมือนม้าแล้วขี่แม่โคนั้น
ติดตามไป สู่ทิศน้อยทิศใหญ่ คือ เที่ยวตามไปในทิศนั้น ๆ. บทว่า กระทำ
ปศุสัตว์ให้มีกีบเดียว ความว่า กระทำปศุสัตว์ 4 เท้า ที่เหลือเว้นแม่โค
ให้มีกีบเดียว เป็นพาหนะ แล้วติดตามไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่. บทว่า กระทำ

สตรีให้เป็นพาหนะ ความว่า กระทำมาตุคามมีครรภ์ให้เป็นพาหนะแล้วนั่ง
บนหลัง มาตุคามนั้นเที่ยวไป. นัยว่า หลังของหญิงมีครรภ์นั้นอดกลั้นเมื่อ
จะก้มลง. หญิงนอกนี้ใช้เทียมยาน. บทว่า กระทำชายให้เป็นพาหนะ
ความว่า จับชายให้เทียมยาน. อนึ่ง เมื่อจับไม่สามารถจับชนผู้เป็นสัมมาทิฐิ
ได้. โดยมากจับพวกที่อยู่ชายแดน และคนป่าเถื่อน. ได้ยินว่า ชาวชนบท
คนใดคนหนึ่ง ในจำพวกนี้นั่งหลับใกล้พระเถระรูปหนึ่ง. พระเถระถามว่า
อุบาสกท่านหลับไปหรือ. เขาตอบ ท่านขอรับวันนี้ผมเพลีย เพราะรับใช้
ท้าวเวสวัณตลอดคืน ขอรับ. บทว่า ทำเด็กหญิงให้เป็นพาหนะ ความว่า
จับเด็กหญิงทำให้เป็นพาหนะเทียมรถ. แม้ในการจับเด็กชายให้เป็นพาหนะ
ก็มีนัยนี้แล. บทว่า บรรดานางบำเรอของพระราชานั้น ความว่า หญิง
ผู้เป็นนางบำเรอของพระราชานั้น. บทว่า ยานช้าง ยานม้า ความว่า
ไม่ใช่ยานโค อย่างเดียวเท่านั้น ขี่แม้ยานช้าง ยานม้า เป็นต้น เที่ยวไป
บทว่า ยานทิพย์ ความว่า ยานทิพย์มากอย่างแม้ อื่น ก็ได้ปรากฏแก่มนุษย์
เหล่านั้น. ยานเหล่านี้เป็นยานเข้าไปถึงมนุษย์เหล่านั้นก่อน. ก็มนุษย์
เหล่านั้นนอนบนที่นอนอันประเสริฐที่ปราสาทและนั่งบนตั่งและวอเป็นต้น
เที่ยวไป. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปราสาทและวอดังนี้. บทว่า ปรากฏ
แก่ท้างมหาราชผู้ทรงยศ
ความว่า ยานเหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นแก่ท้าวมหาราช
ผู้ทรงยศ ผู้ถึงพร้อมด้วยอนุภาพอย่างนี้.
บทว่า และท้าวมหาราชนั้นได้ทรงนิรมิตนครไว้บนอากาศ
ความว่า พระราชานั้นได้ทรงนิรมิตนครมี อาฏานาฏานครเป็นต้น เหล่านั้น
ไว้บนอากาศ คือ นครทั้งหลายได้มีแล้ว. ก็นครหนึ่งของท้าวมหาราชนั้น
ได้ชื่อ อาฏานาฏา นครหนึ่งชื่อ กุสินาฏา นครหนึ่งชื่อ ปรกุสินาฏา

นครหนึ่งชื่อ นาฏปริยาย นครหนึ่งชื่อ ปรกุสิฏนาฏา. บทว่า ทางทิศ
อุดรมีกปีอันตนคร
ความว่า ตรงทิศอุดรมีนครอื่นชื่อ กปีวันตนคร
ตั้งอยู่ในทิศอุดรนั้น. บทว่า อีกนครหนึ่งชื่อ ชโนฆะ ความว่า ใน
ภาคอื่นของทิศอุดรนั้น มีนครอื่นชื่อ ชโนฆะ. บทว่า นวนวติยนคร
ความว่า อีกนครหนึ่งชื่อ นวนวติยะ. อีกนครหนึ่งชื่อ อัมพรอัมพรวติยะ.
บทว่า อาฬกมันทา ความว่า มีราชธานีอื่นอีกชื่อ อาฬกมันทา.
บทว่า เพราะฉะนั้น มหาชนจึงเรียกท้าวกุเวรมหาราชว่า ท้าว
เวสวัณ ดังนี้ มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ ท้าวมหาราชนี้
เป็นพราหมณ์ ชื่อ กุเวร ได้สร้างโรงหีบอ้อย ประกอบเครื่องยนต์ 7 เครื่อง
กุเวรพราหมณ์ได้ให้ผลกำไรซึ่งเกิดขึ้นที่โรงเครื่องยนต์แห่งหนึ่ง แก่
มหาชนที่มาแล้ว มาแล้วได้กระทำบุญ. ผลกำไรที่มากกว่า ได้ตั้งขึ้นในที่นั้น
จากโรงที่เหลือ กุเวรพราหมณ์เลื่อมใสด้วยบุญนั้นจึงถือเอาผลกำไรที่เกิด
ขึ้น แม้ในโรงที่เหลือ ให้ท่านตลอดสองหมื่นปี. เขาได้ถึงแก่กรรมไปเถิด
เป็น เทพบุตรชื่อกุเวร ในสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกา. ต่อมาได้ครอง
ราชสมบัติในราชธานีชื่อ วิสาณะ. ตั้งแต่นั้น จึงเรียกว่า ท้าวเวสวัณ.
บทว่า ย่อมปรากฏมีหน้าที่คนละแผนก ความว่า ยักษ์ผู้ดูแล
แว่นแคว้น 12 ตนเหล่าอื่นผู้เข้าไปพิจารณา พร่ำสอนประโยชน์ทั้งหลาย
ย่อมปรากฏมีหน้าที่คนละแผนก. ได้ยินว่า ยักษ์ผู้ดูแลแว่นแคว้นเหล่านั้น
ถือข่าวไปประกาศแก่ยักษ์ผู้รักษาประกาศ 12 ตน. ยักษ์ผู้รักษาประตูทั้งหลาย
ประกาศข่าวนั้นแก่ท้าวมหาราช. บัดนี้ท้าวมหาราช เมื่อจะแสดงชื่อของ
ยักษ์ผู้ดูแลแว่นแคว้นเหล่านั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ตโตละ ดังนี้. ได้ยินว่า
บรรดายักษ์เหล่านั้น ยักษ์ตนหนึ่งชื่อ ตโตลา ตนหนึ่งชื่อ ตัตตลา ตนหนึ่ง

ชื่อ ตโตตลา ตนหนึ่งชื่อ โอชลี ตนหนึ่งชื่อ เตชลี ตนหนึ่งชื่อ ตโตชลี.
บทว่า สุโรราชม ความว่า ตนหนึ่งชื่อ สุโร ตนหนึ่งชื่อ ราชา ตนหนึ่งชื่อ
สุโรราชา. บทว่า อริฏฺโฐ เนมิ ความว่า ตนหนึ่งชื่อ อริฏฐะ ตนหนึ่งชื่อ
เนมิ ตนหนึ่งชื่อ อริฏฐเนมิ.
บทว่า ในวิสาณาราชธานีนั้น มีห้วงน้ำชื่อธรณี ความว่า ก็ใน
วิสาณาราชธานีนั้น มีห้วงน้ำห้วงหนึ่งชื่อ ธรณี โดยชื่อ. ท่านกล่าวว่า
มีสระโบกขรณีใหญ่กว้าง 50 โยชน์. บทว่า เป็นแดนที่เกิดเมฆ ความว่า
เมฆทั้งหลายรับน้ำจากสระโบกขรณี แล้วตกลงมา. บทว่า เกิดฝนตก
ความว่า ฝนตกท่วม. ได้ยินว่า เมื่อเมฆตั้งเค้า น้ำเก่าย่อมไหลออกจาก
สระโบกขรณีนั้น. เมฆตั้งเค้าเบื้องบนยังสระโบกขรณีนั้นให้เต็มด้วยน้ำใหม่.
น้ำเก่าเป็นน้ำมีในเบื้องต่ำ ย่อมไหลออกไป. เมื่อสระโบกขรณีน้ำเต็ม เมฆ
ย่อมเคลื่อนไป. บทว่า สภา คือ สถานที่ประชุม ณ ฝั่งโบกขรณีนั้น
มีมณฑปแก้วประมาณ 12 โยชน์ล้อมด้วยเถาวัลย์ ชื่อ ภคลวดี. นี้ท่าน
กล่าวหมายถึงมณฑปนั้น. บทว่า ปยิรุปาสนฺติ ความว่า นั่งอยู่ บทว่า
ต้นไม่มีผลมาก ความว่า มณฑปแก้ว ย่อมแสดงถึงว่า ต้นไม้มีมะม่วง
และหว้า เป็นต้น ล้อมมณฑปนั้น ในที่นั้น แผ่ไปทุกเวลา และดอกไม้
มีดอกจำปาเป็นต้น บานอยู่เป็นนิจ. บทว่า ประกอบด้วยหมู่นกนานา
ชนิด
คือ ดารดาษไปด้วยหมู่นกต่าง ๆ. บทว่า มีนกยูง นกกะเรียน
เสียงหวาน ความว่า นกยูง นกกะเรียนมีเสียงหวาน ประสานเสียง.
บทว่า ณ ที่นี้มีเสียงนกร้องว่า ชีวะ ชีวะ ความว่า ณ ที่นี้ มีเสียง
นกชื่อ ชีว ชีวกะ ร้องอย่างนี้ว่า ชีวะ ชีวะ ดังนี้. บทว่า มีเสียงปลุกใจ
ความว่า แม้นกมีเสียงปลุกใจ ก็ร้องอยู่อย่างนี้ ลุกขึ้นเถิด จิตตะ ลุกขึ้นเถิด

จิตตะ ดังนี้ ย่อมเที่ยวไป ณ ที่นั้น. บทว่า ไก่ คือ ไก่ป่า. บทว่า ปู
คือ ปูทอง. บทว่า ในป่า คือ ในสระประทุม. บทว่า โปกฺขรสาตกา
ได้แก่ พวกนกชื่อ โปกฺขรสาตกา. บทว่า สุกสาลิกสทฺเทตฺถ ความว่า
ในสระนั้น มีเสียงนกสุกะ และนกสาลิกา. บทว่า หมู่นกทัณฑมาณวก
คือนกมีหน้าเหมือนคน. ได้ยินว่า นกเหล่านั้น เอาเท้าสองจับไม่ทองคำ
แล้วเหยียบใบบัวใบหนึ่ง วางไม้ทองคำลองในบัวอันไม่มีระหว่าง เที่ยวไป.
บทว่า สพฺพกาลํ สา ความว่า สระโบกขรณีนั้นงามตลอดกาล. บทว่า
สระนพินีของท้าวกุเวร ความว่า สระนพินีของท้าวกุเวรเป็นสระปทุม
สระนั้นชื่อ ธรณี งามอยู่ตลอดเวลาทุกเมื่อ.
ท้าวเวสวัณ ยังอาฏานาฏิยรักษ์ให้สำเร็จลงแล้ว เมื่อจะแสดงการ
บริกรรม พระปริตนั้นจึงกล่าวบทนี้ว่า คนใดคนหนึ่ง. ในบทเหล่านั้น
บทว่า เรียนดีแล้ว ความว่า อาฏานาฏิยรักษ์ อันผู้ใดผู้หนึ่ง ชำระอรรถ
และพยัญชนะ และเรียนด้วยดี. บทว่า เล่าเรียนครบถ้วน ความว่า ไม่
ให้บทและพยัญชนะ เสื่อมแล้วเล่าเรียนครบถ้วน. ท่านแสดงไว้ว่า จริงอยู่
พระปริต ย่อมไม่เป็นเดช แก่ผู้กล่าวผิด อรรถบ้าง บาลีบ้าง หรือว่าไม่ทำ
ให้คล่องแคล่ว. พระปริตย่อม เป็นเดชแก่ผู้ทำให้คล่องแคล่ว ด้วยประการ
ทั้งปวง แล้วกล่าวแน่แท้. แม้เมื่อเรียนเพราะลาภเป็นเหตุ แล้วกล่าวอยู่
ก็ไม่สำเร็จประโยชน์. พระปริตย่อมมีประโยชน์แก่ผู้ตั้งอยู่ในฝ่ายแห่ง
การออกไปจากทุกข์ แล้วกระทำเมตตาให้เป็น ปุเรจาริก กล่าวอยู่นั่นแล.
บทว่า ยักขปจาระ คือผู้รับใช้ยักษ์. บทว่า วัตถุ ได้แก่ วัตถุคือ เรือน.
บทว่า ที่อยู่ได้แก่การอยู่เป็นนิจในเรือนนั้น. บทว่า สมิตึ คือ การสมาคม.

บทว่า อนฺวยฺหํ ความว่า ไม่ควรทำการอาวาหะ. บทว่า อวิวยฺหํ ความว่า.
ไม่ควรวิวาหะกับเขา. ความว่า ไม่พึงกระทำการอาวาหะ หรือวิวาหะกับเขา.
บทว่า ด้วยคำบริภาษอันบริบูรณ์ดังกล่าวแล้ว ความว่า อมนุษย์ทั้งหลาย
พึงน้อมเข้าไป ซึ่งอัตภาพของยักษ์เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ผู้มีตาสีคล้ำ ผู้มี
ฟันเหลืองดังนี้ แล้วบริภาษด้วยคำบริภาษอันมีพยัญชนะบริบูรณ์ดังที่กล่าว
แล้ว. อธิบายว่า พึงด่าถ้อยคำของยักษ์. บทว่า บาตรแม้เปล่า ความว่า
บาตรโลหะเช่นเดียวกับบาตรของภิกษุนั้นแหละ. ครอบบาตรนั้นบนศีรษะ
ตลอดถึงก้านคอ. เอาเสาเหล็กทุบบาตรนั้นในท่ามกลาง. บทว่า จณฺฑา
คือ โกรธ รุทฺธา ได้แก่ ผิดพลาด. บทว่า รภสา คือ กระทำเกินเหตุ.
บทว่า ไม่เชื่อท้าวมหาราช คือ ไม่ถือเอาคำพูด ไม่กระทำตามข้อบังคับ.
บทว่า เสนาบดี ของท้าวมหาราช คือ เสนาบดียักษ์ 28 ตน. บทว่า
ปุริสกานํ ปุริสกานํ คือ อนุศาสน์ของยักษ์เสนาบดี. บทว่า อวรุทฺธา
นาน
ความว่า ปัจจามิตร คือ มีเวร. บทว่า พึงประกาศให้รู้ ความว่า
ผู้ไม่สามารถจะกล่าวพระปริต ให้พวกอมนุษย์หลีกไปได้ ควรประกาศให้
ยักษ์ทั้งหลายรู้ ความว่าให้ยักษ์เหล่านั้นรู้. ก็แต่ว่าพึงยืนอยู่ ณ ที่นี้แล้ว
กล่าวบริกรรมพระปริต.
อันที่จริงไม่ควรสวด อาฏานาฏิยสูตร ก่อนทีเดียว. ควรสวดพระ
สูตรเหล่านี้คือ เมตตาสูตร ธชัคคสูตร รตนสูตร ตลอด 7 วัน. หากว่า
พ้นไปได้ เป็นการดี. หากไม่พ้น ควรสวด อาฏานาฏิยสูตร. ภิกษุผู้สวด
อาฏานาฏิยสูตรนั้น ไม่ควรเคี้ยวแป้งหรือเนื้อ ไม่ควรอยู่ในป่าช้า. ถามว่า
เพราะเหตุไร. ตอบว่า พวกอมนุษย์จะได้โอกาส ที่ทำพระปริต ควรทำ
ให้มีหญ้าเขียวชะอุ่ม ปูอาสนะให้เรียบร้อย ณ ที่นั้น แล้วพึงนั่ง. ภิกษุ

ผู้กระทำพระปริต อันชนทั้งหลายนำออกจากวิหารไปสู่เรือน ควรล้อมด้วย
เครื่องป้องกันคือกระดาน แล้วพึงนำไป. ไม่ควรนั่งนวดในที่แจ้ง. ภิกษุ
ควรปิดประตูและหน้าต่างแล้วจึงนั่ง แวดล้อมด้วยมือเป็นอาวุธกระทำ
เมตตาจิต ในเบื้องหน้า แล้วสวด. ควรให้รับสิกขาบทก่อน แล้วสวด
พระปริตแก่ผู้ตั้งอยู่ในศีล. แม้อย่างนี้ ก็ไม่สามารถจะพ้นได้ ควรนำไปสู่
วิหารให้นอนบนลานเจดีย์ให้ทำอาสนบูชา ตามประทีป ปัดกวาดลานเจดีย์
แล้วสวดมงคลกถา. ควรประกาศให้ประชุมทั้งหมด. ใกล้วิหาร มีด้านไม้
ใหญ่ที่สุดอยู่ ควรส่งข่าวไป ณ ที่นั้นว่า หมู่ภิกษุย่อมรอการมาของพวกท่าน.
ชื่อว่าการไม่มาในที่ประชุมทั้งหมด จะไม่ได้รับ แต่นั้น ควรถามผู้ที่ถูก
อมนุษย์สิงว่า ท่านชื่อไร. เมื่อเขาบอกชื่อแล้ว ควรเรียก ชื่อทีเดียว. ท่าน
ควรปล่อยบุคคลชื่อนี้ เพราะส่วนบุญในการบูชาด้วยวัตถุมัดเอาไว้ และ
ของหอมเป็นต้น ส่วนบุญในการบูชาอาสนะ ส่วนบุญในการถวายบิณฑบาต
ของท่าน หมู่ภิกษุสวดมหามงคลกถาเพื่อประโยชน์แก่บรรณาการของท่าน
ด้วยความเคารพในหมู่ภิกษุ ขอท่านจงปล่อยเขาเถิด ดังนี้ หากอมนุษย์ไม่
ปล่อย ควรบอกแก่เทวดาทั้งหลาย ว่า พวกท่านจงรู้ไว้เถิด อมนุษย์นี้
ไม่ทำคำของพวกเรา เราจักกระทำพุทธอาชญาดังนี้
ควรสวดพระปริต นี้เป็นบริกรรมของคฤหัสถ์ก่อน ก็ถ้าภิกษุถูก
อมนุษย์สิง ควรล้างอาสนะ แล้วประกาศให้ประชุมกันทั้งหมด ให้ส่วน
บุญในการบูชามีของหอมและดอกไม้เป็นต้น แล้วพึงสวดพระปริตนี้เป็น
บริกรรมของภิกษุทั้งหลาย. บทว่า พึงประชุมกัน ความว่า พึงประกาศ
ให้เสนาบดียักษ์ 28 ตน ประชุมกันทั้งหมด. บทว่า พึงบอกกล่าว

ความว่า พึงบอกกล่าวกับเทวดาทั้งหลาย เหล่านั้นว่า ยักษ์นี้สิงดังนี้
เป็นต้น. บทว่า ติดตาม เป็นไวพจน์ของบทว่า สิง อีกอย่างหนึ่งท่าน
กล่าวว่า ติด คือ ไม่ออกไป. บทว่า เบียดเบียน ความว่า เบียดเบียน
ทำให้โรคกำเริบบ่อย ๆ. บทว่า ทำให้เกิดทุกข์ คือ ทำให้มีเนื้อและเลือด
น้อย ให้เกิดทุกข์. บทว่า ไม่ปล่อย คือเป็นผู้ถูกจระเข้คาบ ไม่ปรารถนา
จะปล่อย พึงบอกกล่าวเทวดาเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้ บัดนี้เพื่อแสดงถึง
ยักษ์ที่ควรบอกกล่าว จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า แห่งยักษ์ทั้งหลายเหล่าไหนดังนี้
ในบทเหล่านั้น บทเป็นต้นว่า อินทะ โสมะ เป็นชื่อของยักษ์
ทั้งหลาย เหล่านั้น ในยักษ์ทั้งหลายเหล่านั้น ยักษ์ตนหนึ่งอาศัยอยู่ที่ภูเขา
ชื่อว่า เวสสามิตตะ ชื่อยักษ์เวสสามิตตะ ยักษ์ที่อาศัยอยู่ที่ภูเขา ยุคนธระ
ชื่อยักษ์ ยุคนธระ ยักษ์ชื่อ หิริเนตติ มัณฑิยะ มณิ มณิวระ ฑีฆะ และ
เสรีสกะ กับยักษ์เหล่านั้น. บทว่า ควรประกาศให้ยักษ์น้อยยักษ์ใหญ่
เสนาบดี มหาเสนาบดีรู้
ความว่า พึงบอกแก่ยักษ์เสนาบดีทั้งหลาย
เหล่านั้น อย่างนั้นว่า ยักษ์นี้เบียดเบียนผู้นี้ ทำให้ผู้นี้เดือดร้อน ไม่ปล่อยผู้
นี้ดังนี้ แต่นั้น ยักษ์เสนาบดีทั้งหลายเหล่านั้น จักกระทำความขวนขวายว่า
หมู่ภิกษุย่อมกระทำธรรมอาชญาของตน แม้เราก็จะทำอาชญาของพระยา
ยักษ์ของเราทั้งหลาย. ท้าวเวสวัณมหาราชเมื่อจะแสดงว่า โอกาสของพวก
อมนุษย์จักไม่มี ด้วยอาการอย่างนี้ พุทธสาวกทั้งหลาย ก็จักอยู่สบาย จึง
กราบทูลคำเป็นอาทิว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อาฏานาฏิยรักษ์ นี้นั้นแล
ดังนี้. บททั้งหมดนั้น และบทอื่นจากนั้น มีความง่ายอยู่แล้วแล.
จบอรรถกถาอาฏานาฏิยสูตรที่ 9

10. สังคีติสูตร



เรื่อง การสังคายนาหลักธรรม



[221] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกในแคว้นมัลละ. พร้อม
ด้วยพระภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ประมาณ 500 รูปได้เสด็จถึงนครของพวกมัลล-
กษัตริย์อันมีนามว่า ปาวา. ได้ยินว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ สวน
มะม่วงของนายจุนทกัมมารบุตรใกล้นครปาวานั้น.
[222] ก็โดยสมัยนั้นแล ท้องพระโรงหลังใหม่ อันมีนามว่า
อุพภตกะ ของพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา สร้างสำเร็จแล้วไม่นาน อัน
สมณพราหมณ์ หรือใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์ยังไม่ทันเข้าอยู่อาศัย. พวกเจ้า
มัลละแห่งนครปาวาได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จจาริกใน
แคว้นมัลละ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ 500 รูป เสด็จถึง
นครปาวาโดยลำดับ ประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของจุนทกัมมารบุตร ใกล้
นครปาวา. ครั้งนั้นแล พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาได้พากันเข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคม พระผู้มีพระภาคเจ้านั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวานั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
แล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้องพระ-
โรงหลังใหม่อันมีนามว่า อุพภตกะ ของพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา สร้าง
สำเร็จแล้วไม่นาน อันสมณพราหมณ์ หรือใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์ยังไม่ทันจะ
เข้าอยู่อาศัย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสด็จใช้สอย