เมนู

พระญาณอันฉลาด แม้พวกอมนุษย์ก็ถวาย
บังคมพระองค์.
ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับอย่างนั้นมาเนือง ๆ
ฉะนั้น จึงกล่าวเช่นนั้น พวกข้าพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายถามเขาว่า พวกท่านถวายบังคม
พระชินโคดมหรือ พวกเขาก็พากันตอบว่า
ถวายบังคมพระชินโคดม ข้าพระพุทธเจ้าทั้ง-
หลายขอถวายบังคมพระพุทธโคดมผู้ถึงพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะ.


ว่าด้วยวิธีป้องกันอมนุษย์



[214] ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อาฏานาฏิยรักษ์นี้นั้น เพื่อคุ้มครอง
เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่อสุขสำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
อุบาสิกาทั้งหลาย. ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ผู้ใดผู้หนึ่ง ภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม
อุบาสกก็ตาม อุบาสิกาก็ตาม จักเป็นผู้ยึดถือด้วยดี เรียนครบบริบูรณ์ซึ่ง
อาฏานาฏิยรักษ์นี้ หากว่า อมนุษย์ เป็นยักษ์ เป็นยักษิณี เป็นบุตรยักษ์
เป็นธิดายักษ์ เป็นมหาอำมาตย์ยักษ์ เป็นบริษัทยักษ์ เป็นยักษ์ผู้รับใช้
เป็นคนธรรพ์ เป็นนางคนธรรพ์ เป็นบุตรคนธรรพ์ เป็นธิดาคนธรรพ์
เป็นมหาอำมาตย์ของคนธรรพ์ เป็นคนธรรพ์บริษัท เป็นคนธรรพ์ผู้รับใช้
เป็นกุมภัณฑ์ เป็นนางกุมภัณฑ์ เป็นบุตรกุมภัณฑ์ เป็นธิดากุมภัณฑ์
เป็นมหาอำมาตย์ของกุมภัณฑ์ เป็นกุมภัณฑ์บริษัท เป็นกุมภัณฑ์ผู้รับใช้
เป็นนาค เป็นนางนาค เป็นบุตรนาค เป็นธิดานาค เป็นมหาอำมาตย์

ของนาค เป็นนาคบริษัท หรือเป็นนาคผู้รับใช้ เป็นผู้มีจิตประทุษร้าย
พึงเดินตามภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้เดินไปอยู่ หรือ พึงยืน
ใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้ยืนอยู่ หรือพึงนั่งใกล้ภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้นั่งอยู่ หรือพึงนอนใกล้ภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกา ผู้นอนอยู่. ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อมนุษย์นั้นไม่พึง
ได้สักการะ หรือ ความเคารพ ในบ้านหรือในนิคม ของข้าพระพุทธเจ้า.
ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อมนุษย์นั้นไม่พึงได้วัตถุ หรือการอยู่ในราชธานี
ชื่อว่าอาฬกมันฑา ของข้าพระพุทธเจ้า. ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อมนุษย์นั้น
ไม่พึงได้ เพื่อเข้าสมาคมของพวกยักษ์ ของข้าพระพุทธเจ้า. อนึ่ง
อมนุษย์ทั้งหลาย ไม่พึงทำการอาวาหะ และวิวาหะกะอมนุษย์. อนึ่ง
อมนุษย์ทั้งหลายพึงบริภาษอมนุษย์นั้นด้วยความดูหมิ่น ครบบริบูรณ์
ดังกล่าวแล้วโดยแท้. อนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลาย พึงครอบบาตรเปล่าบนศีรษะ
อมนุษย์นั้นโดยแท้. อนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลาย พึงผ่าศีรษะอมนุษย์นั้นออก.
7 เสี่ยงโดยแท้.
ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อมนุษย์ทั้งหลาย ดุร้าย ร้ายกาจ ทำเกินเหตุ
มีอยู่ อมนุษย์เหล่านั้นไม่เชื่อท้าวมหาราช ไม่เชื่อยักษ์เสนาบดี ของท้าว
มหาราช ไม่เชื่อถ้อยคำของรองยักขเสนาบดีของท้าวมหาราช. ข้าแต่ท่าน
ผู้นิรทุกข์ อมนุษย์เหล่านั้นแล ท่านกล่าวว่า ชื่อว่าเป็นข้าศึกศัตรูของ
ท้าวมหาราช. เหมือนโจรทั้งหลาย ในแว่นแคว้นของพระราชามคธ โจร
เหล่านั้น ไม่เชื่อพระราชามคธ ไม่เชื่อเสนาบดีของพระราชามคธ ไม่เชื่อ
ถ้อยคำของเสนาบดีของพระราชามคธ ไม่เชื่อรองเสนาบดีของพระราชา-
มคธ ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ มหาโจรเหล่านั้น ท่านกล่าวว่าชื่อว่า เป็นข้าศึก

ศัตรูของพระราชามคธ ฉันใด ก็อมนุษย์ทั้งหลาย ดุร้าย ร้ายกาจ ทำเกิน
กว่าเหตุมีอยู่ อมนุษย์เหล่านั้น ไม่เชื่อท้าวมหาราช ไม่เชื่อยักขเสนาบดี
ของท้าวมหาราช ไม่เชื่อถ้อยคำของรองยักขเสนาบดีของท้าวมหาราช ข้าแต่
ท่านผู้นิรทุกข์ อมนุษย์เหล่านั้นแล ท่านกล่าวว่าเป็นข้าศึกศัตรูของท้าว.
มหาราชฉันนั้น. ก็อมนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นยักษ์ เป็นยักษิณี เป็นบุตรยักษ์
เป็นธิดายักษ์ เป็นมหาอำมาตย์ของยักษ์ เป็นยักขบริษัท เป็นยักษ์ผู้รับใช้
เป็นคนธรรพ์ เป็นนางคนธรรพ์ เป็นบุตรคนธรรพ์ เป็นธิดาคนธรรพ์
เป็นมหาอำมาตย์ของคนธรรพ์ เป็นคนธรรพ์บริษัท เป็นคนธรรพ์ผู้รับใช้
เป็นกุมภัณฑ์ เป็นนางกุมภัณฑ์ เป็นบุตรกุมภัณฑ์ เป็นธิดากุมภัณฑ์ เป็น
มหาอำมาตย์ของกุมภัณฑ์ เป็นกุมภัณฑ์บริษัท เป็นกุมภัณฑ์ผู้รับใช้ เป็น
นาค เป็นนางนาค เป็นบุตรนาค เป็นธิดานาค เป็นมหาอำมาตย์ของนาค
เป็นนาคบริษัท หรือเป็นนาคผู้รับใช้ เป็นผู้มีจิตประทุษร้าย พึงเดินตาม
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้เดินอยู่ พึงยินใกล้ ภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้ยืนอยู่ พึงนั่งใกล้ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรือ
อุบาสิกา ผู้นั่งอยู่ พึงนอนใกล้ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้นอนอยู่.
พึงยกโทษ พึงคร่ำครวญ พึงร้อง แก่ยักษ์ มหายักษ์ว่า ยักษ์นี้สิง ยักษ์นี้
ติดตาม ยักษ์นี้รุกราน ยักษ์นี้เบียดเบียน ยักษ์นี้ทำให้เดือดร้อน ยักษ์นี้
ทำให้เกิดทุกข์ ยักษ์นี้ไม่ปล่อย ดังนี้.
[215] ยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดี มหาเสนาบดี เหล่าไหน คือ
อินทะ โสมะ วรุณะ ภารทวาชะ ปชาปติ
จันทนะ กามเสฏฐะ กินนุมัณฑุ นิฆัณฑุ.

ปนาทะ โอปมัญญะ เทวสูตะ มาตลิ
จิตตเสนะ คันธัพพะ มโฬราชาชโนสภะ
สาตาคิระ เหมวตะ ปุณณกะ กริติยะ คุละ
สิวกะ มุจจลินทะ เวสสามิตตะ ยุคันธระ.
โคปาละ สุปปเคธะ หิริ เนตตะ มันทิยะ
ปัญจาลจันทะ อาลวกะ ปชุณณะ สุมุขะ
มธิมุขะ มณี มานิจระ ทีฆะ และ เสรีสกะ.

[216] พึงยกโทษ พึงคร่ำครวญ พึงร้องแก่ยักษ์ มหายักษ์
เสนาบดี มหาเสนาบดี เหล่านี้ว่า ยักษ์นี้สิง ยักษ์นี้ติดตาม ยักษ์นี้รุกราน
ยักษ์นี้เบียดเบียน ยักษ์นี้ทำให้เดือดร้อน ยักษ์นี้ทำให้เกิดทุกข์ ยักษ์นี้
ไม่ปล่อย ดังนี้.
[217] ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อาฏานาฏิยรักษ์นี้แล เพื่อคุ้มครอง
เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่อความอยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย. ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ขอโอกาสบัดนี้ ข้าพระ-
พุทธเจ้าทั้งหลาย มีกิจมาก มีธุระที่จะต้องทำมาก ขอกราบทูลลาไป. ดูก่อน
ท้าวมหาราชทั้งหลาย พวกท่านจงสำคัญซึ่งกาลอันควร ณ บัดนี้เถิด.
[218] ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้ง 4 ลุกจากอาสนะถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกระทำประทักษิณ แล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง.
พวกยักษ์แม้เหล่านั้นก็ลุกจากอาสนะบางพวกก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
เจ้า กระทำประทักษิณ แล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกปราศรัย
กับพระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นผ่านสัมโมทนียกถา อันเป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว

ได้อันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าประทับ แล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกประกาศชื่อ
และโคตรแล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกนั่งนิ่งแล้วอันตรธานไป
ณ ที่นั้นเอง.
[219] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า โดยราตรีนั้นล่วงไปได้
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตลอดราตรีนี้ท้าวมหาราชทั้ง
4 ตั้งกองรักษาไว้ทั้ง 4 ทิศ ตั้งกองทัพไว้ทั้ง 4 ทิศ ตั้งผู้ตรวจตราไว้ทั้ง 4 ทิศ
ด้วยเสนายักษ์กองใหญ่ ด้วยเสนาคนธรรพ์กองใหญ่ ด้วยเสนากุมภัณฑ์
กองใหญ่และด้วยเสนานาคกองใหญ่ เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว เปล่งรัศมีงามยิ่ง
ยังภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้น ให้สว่างไสวเข้าไปหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ยักษ์เหล่านั้นแล บางพวกไหว้เราแล้วนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง บางพวกปราศรัยกับเรา ครั้นผ่านสัมโมทนียกถาอันเป็น
ที่ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประณมอัญชลีไป
ทางที่เราอยู่ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประกาศชื่อและโคตร
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนั่งนิ่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวเวสวัณมหาราช นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ยักษ์ทั้งหลายชั้นสูง บางพวก
ไม่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ทั้งหลายชั้นสูงเลื่อมใสพระผู้มี
พระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ทั้งหลายชั้นกลางไม่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี
ยักษ์ทั้งหลายชั้นกลางเลื่อมใสพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ทั้งหลายชั้นต่ำ
ไม่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ทั้งหลายชั้นต่ำเลื่อมใสพระผู้มี

พระภาคเจ้าก็มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญโดยมากยักษ์มิได้เลื่อมใสต่อพระผู้มี
พระภาคเจ้าเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงธรรมเพื่องดเว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร
จากมุสาวาท จากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ประมาท แต่โดยมากพวกยักษ์มิได้งดเว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน
จากกาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท จากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ข้อที่พระองค์ให้งดเว้นนั้น จึงไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่ชอบใจของพวกยักษ์เหล่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สาวกของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าบางพวกเสพเสนาสนะอันสงัดราวไพรในป่า มีเสียงน้อย
มีเสียงกึกก้องน้อย ปราศจากลมแต่ชนผู้เข้าออก ควรแก่การทำกรรมอัน
เร้นลับของมนุษย์ ควรแก่การหลีกเร้น ยักษ์ชั้นสูงบางพวกมักอยู่ในป่านั้น
พวกใดมิได้เลื่อมใสในคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ขอพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจะทรงเรียนอาฏานาฏิยรักษ์เพื่อให้ยักษ์พวกนั้นเลื่อมใส เพื่อความ
คุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญ ของภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรารับ
โดยดุษณีภาพ. ครั้งนั้นแล ท้าวเวสวัณมหาราชทราบการรับรองเราแล้ว
ได้กล่าว อาฏานาฏิยรักษ์นี้ในเวลานั้นว่า

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อาฏานาฏิยรักษ์นี้แล เพื่อความคุ้มครอง เพื่อ
ความรักษา เพื่อความไม่เบียดเบียน เพื่อความอยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย. ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ขอโอกาสบัดนี้ พวกข้า
พระพุทธเจ้ามีกิจมาก มีธุระที่จะต้องทำมาก ขอกราบทูลลาไปดังนี้. ดูก่อน
มหาบพิตร พวกท่านจงสำคัญกาลอันควรในบัดนี้เถิด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวมหาราชทั้ง 4 ลุกจากอาสนะ
ไหว้เรา แล้วกระทำประทักษิณแล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง. แม้พวก
ยักษ์เหล่านั้นก็ลุกจากอาสนะ บางพวกไหว้เรา กระทำประทักษิณแล้ว
อันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกปราศรัยกับเรา ครั้นผ่านการปราศรัย
พอให้ระลึกถึงกันแล้ว ก็อันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกประณมอัญชลี
ไปทางที่เราอยู่ แล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกประกาศชื่อและ
โคตรแล้วอันตรธานไป บางพวกนั่งนิ่งแล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเรียนอาฏานาฏิยรักษ์ จงขวนขวายอาฏานา-
ฏิยรักษ์ จงทรงอาฏานาฏิยรักษ์ไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาฏนาฏิยรักษ์นี้
ประกอบด้วยประโยชน์ เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อความไม่เบียดเบียน
เพื่อความอยู่สำราญ แห่งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย. พระผู้
มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพุทธพจน์นี้แล้ว. ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดี พระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.
จบอาฏานาฏิยสูตรที่ 9

อรรถกถาอาฏานาฏิยสูตร



เอวมฺเม สุตนฺติ อาฏานาฏิยสุตฺตํ


ต่อไปนี้ เป็นการพรรณนาบทตามลำดับในสูตรนั้น. บทว่า ตั้งการ
รักษา ในทิศทั้ง 4
ความว่า ตั้งอารักขาแก่ท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดา
ทั้งหลายในทิศทั้ง 4 เพื่อป้องกันทัพอสูร. บทว่า ตั้งกองทัพ คือ ตั้งกอง
กำลัง. บทว่า ตั้งผู้ตรวจตรา คือตั้งหน่วยรักษาการณ์ในทิศทั้ง 4. อธิบายว่า
ท้าวมหาราชทั้ง 4 ได้จัดการอารักขาเป็นอย่างดี แก่ท้าวสักกะผู้เป็นเทวราช
อย่างนี้ ประทับนั่ง ในอาฏานาฏานคร ปรารภถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
7 พระองค์ แล้วผูกเครื่องป้องกันนี้ แล้วประกาศว่า ผู้ใดไม่เชื่อฟังธรรม
อาชญา ของพระศาสดา และราชอาชญาของเรา เราจักทำสิ่งนี้ สิ่งนี้แก่
ผู้นั้น ดังนี้ แล้วจัดอารักขาด้วยเสนา. เหล่า มียักขเสนาใหญ่เป็นต้น
ในทิศทั้ง 4 ของตนเมื่อราตรีล่วงไปแล้ว ฯลฯ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
อภิกกันตศัพท์ในบทนี้ว่า เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว ดังนี้ ย่อมปรากฏใน
ความว่า สิ้นไปดี งามยิ่ง ยินดียิ่ง เป็นต้น. อภิกกันตศัพท์ในบทนั้น
ปรากฏในความสิ้นในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญราตรีสิ้นแล้ว
ยามแรกผ่านไปแล้ว หมู่ภิกษุนั่งนานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรง
สวดพระปาฏิโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายเถิดพระพุทธเจ้าข้า. ในความว่าดีในบท
มีอาทิอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาค นี้ดีกว่าและประณีตกว่าบุคคล 4 เหล่านี้
ดังนี้. ในความว่า รัศมีงาม ในบทมีอาทิว่า
ใครรุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ด้วยยศ มีรัศมีงามยิ่งนัก ยังทิศทั้งหมดให้สว่าง
ไสว ไหว้เท้าของเราดังนี้. ในความว่า น่ายินดียิ่งนักในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า