เมนู

อรรถกถาอุทุมพริกสูตร



อุทุมพริกสูตร เริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้.
ในอุทุมพริกสูตรนั้น มีการพรรณนาตามลำดับบท ดังต่อไปนี้.
บทว่า ปริพฺพาชโก หมายเอาฉันนปริพาชก. บทว่า อุทุมฺ-
พริกาย ปริพฺพาชการาเม
ได้สก่ ในอารามปริพาชก ในสำนักของนาง
อุทุมพริกาเทวี.
คำว่า สนฺธาโน เป็นชื่อของคฤหบดีนั้น. คฤหบดีผู้นี้มีอานุภาพ
มาก เป็นยอดบุรุษในจำนวนอุบาสก 500 คน ผู้แวดล้อมเที่ยวไป เป็น
พระอนาคามี ( ด้วย). พระผู้มีพระภาคเจ้าได้สรรเสริญเขาในท่ามกลาง
มหาบริษัทว่า สันธานคฤหบดีประกอบด้วยองค์ 6 ประการ มีความ
เชื่อมั่นในพระตถาคต ดำรงตนอยู่ในพระสัทธรรม. องค์ 6 ประการ
เป็นไฉน. คือ ด้วยความเลื่อมใสไม่คลอนแคลนในพระพุทธเจ้า ใน
พระธรรม ในพระสงฆ์ ด้วยอริยศีล ด้วยอริยญาณ ด้วยอริยวิมุตติ. ภิกษุ
ทั้งหลาย สันธานคฤหบดีประกอบด้วยองค์ 6 ประการเหล่านี้แล จึงชื่อ
ว่า มีความเชื่อมั่นในพระตถาคต ดำรงตนอยู่ในพระสัทธรรม. สัน-
ธานคฤหบดีนั้น อธิษฐานองค์อุโบสถแต่เช้าตรู่แล้ว ในเวลาเช้า ก็
ถวายทานแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. เมื่อพวกภิกษุไปวิหาร
แล้ว เกิดความรำคาญ เพราะเสียงรบกวนของเด็กเล็กและเด็กใหญ่ ใน
บ้าน จึงออกไปด้วยคิดว่า จักฟังธรรมในสำนักพระศาสดา. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากรุงราชคฤห์ตอนบ่าย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิวาทิวสฺเสว ได้แก่ เวลาเลยเที่ยง
ไป ชื่อว่า เวลาบ่าย. อธิบายว่า สันธานคฤหบดีนั้นได้ออกไป ในเวลาบ่าย

คือพอเลยเที่ยงไป. บทว่า ปฏิสลฺลีโน ได้แก่ รวบรวมจิตจากอารมณ์มี
รูปเป็นต้นนั้น ๆ หลีกเร้นอยู่ คือถึงความเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
ด้วยอำนาจแห่งความเสวยความยินดีในฌาน. บทว่า มโนภาวนียานํ
คือ ผู้ยังใจให้เจริญ ได้แก่ จิตของผู้ระลึกถึง กระทำไว้ในใจ ย่อม
เป็นจิตอันปราศจากนิวรณ์ คือจิตฟูขึ้น เจริญขึ้น.
บททั้งหลายมีบทว่า อุนฺนาทินิยา เป็นต้น พึงทราบตามนัย
โดยพิสดารในโปฏฐปาทสูตรนั่นแล.
บทว่า ยาวตา คือ มีจำนวนเท่าใด. บทว่า อยนฺเตสํ อญฺญตโร
ความว่า บรรดาสาวกเหล่านั้น สันธานคฤหบดีนี้นับเนื่องอยู่ภายในสาวก
เหล่านั้น หรือเป็นสาวกคนหนึ่ง. ได้สดับว่า เหล่าสาวกของพระผู้มี
พระภาคเจ้า เฉพาะคฤหัสถ์ซึ่งเป็นพระอนาคามี มีจำนวน 500 คน
อาศัยอยู่ในกรุงราชคฤห์. นิโครธปริพาชกกล่าวว่า อยํ เตสํ อญฺญตโร
ดังนี้เป็นต้น หมายถึงเหล่าอุบาสกแต่ละคนมีบริวารคนละ 500 คน.
นิโครธปริพาชกปรารถนาการเข้ามาของคฤหบดีนั้น จึงกล่าวว่า อปํเปว
นาม
ดังนี้. ก็เหตุแห่งความปรารถนาได้กล่าวไว้แล้วในโปฏฐปาทสูตร
นั่นแล.
บทว่า เอตทโวจ ได้แก่ สันธานคฤหบดีกำลังเดินมา ได้กล่าว
คำนี้ว่า อญฺญถา โข อิเม เป็นต้น เพราะตนได้สดับถ้อยคำของปริ-
พาชกเหล่านั้น ในระหว่างทางนั่นแล. ในบทเหล่านั้น บทว่า อญฺญติตฺถิยา
ความว่า ที่ชื่อว่าอัญญเดียรถีย์ เพราะเป็นเดียรถีย์เหล่าอื่น ด้วยการเห็น
บ้าง. มารยาบ้าง กิริยาบ้าง อาจาระบ้าง การอยู่บ้าง อิริยาบถ
บ้าง. บทว่า สงฺคมฺม สมาคมฺม ได้แก่ ในสถานที่ (พวกปริพาชก)
ไปมารวมกันนั่งเป็นกลุ่ม. บทว่า อรญฺเญ วนปฏฺฐานิ ได้แก่ ราวไพร

ในป่า คือเสนาสนะที่ไกลพ้นจากเขตบ้าน. เสนาสนะที่สงัด คือ
สถานที่อยู่ไกลห่างจากแดนของมนุษย์.
บทว่า อปฺปสทฺทานิ คือมีเสียงเบาบาง แม้แต่เสียงคนเดินทาง
ซึ่งเดินผ่านไปใกล้ที่อยู่. บทว่า อปฺปนิคฺโฆสานิ คือมีเสียงเบา ๆ
โดยไม่มีเสียงกึกก้อง. บทว่า วีชนวาตานิ คือปราศจากวาทะของคนผู้
สัญจรไปในภายใน. บทว่า มนุสฺสราหเสยฺยากานิ ได้แก่ สมควร
คือเหมาะแก่การทำกรรมอันเร้นลับของมนุษย์. บทว่า ปฏิสลฺลานสารุปฺ-
ปานิ
ได้แก่ เหมาะแก่การอยู่คนเดียว. เพราะฉะนั้น สันธานคฤหบดี
จึงคิดว่า โอ พระศาสดาของเราเสพเสนาสนะเห็นปานนี้ จึงประคอง
อัญชลีไว้เหนือศีรษะแล้ว นั่งเปล่งอุทานนี้.
คำว่า เอวํ วุตฺเต ความว่า เมื่อสันธานคฤหบดีเปล่งอุทาน
อย่างนี้ นิโครธปริพาชกจึงคิดว่า คฤหบดีนี้ แม้นั่งในสำนักเรา ก็ยัง
ชมเชยยกย่องพระศาสดาของตนองค์เดียว แต่ไม่สำคัญเราว่ามีอยู่ เราจะ
ให้ความกำเริบที่เกิดขึ้นในคฤหบดีนั้นตกไปในเบื้องบนของพระสมณโค-
ดม จึงได้กล่าวคำนี้กับสันธานคฤหบดี. คำว่า ยคฺเฆ เป็นนิบาต ใช้
ในอรรถว่าทักท้วง. บทว่า ชาเนยฺยาสิ แปลว่าควรรู้ ควรเห็น.
บทว่า เกน สมโณ โคตโม สลฺลปติ ความว่า พระสมณโคดมย่อม
เจรจา พูด กล่าวกับใคร ด้วยเหตุไร. มีคำอธิบายอย่างไร มีคำอธิ-
บายว่า ผิว่า เหตุแห่งการเจรจาอะไร ๆ จะพึงมี หรือ ผิว่า ใคร ๆ มี
ความต้องการเจรจา พึงไปสำนักพระสมณโคดม พึงเจรจา แต่ไม่มีเหตุ
ใคร ๆ ก็ไม่ไปหาท่าน. พระสมณโคดมนั้นจะเจรจาก้มใครเล่า เมื่อไม่
ได้เจรจาก็จักบันลือพระสีหนาทอย่างได้. บทว่า สากจฺฉํ คือสนทนา
ร่วมกัน. บทว่า ปญฺญาเวยฺยตฺติยํ ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาดในญาณ
โดยอุตตรนัยและปัจจุตตรนัย.

บทว่า สุญฺญาคารตา คือหายไปแล้วในสุญญาคาร. นิโครธ
ปริพาชกแสดงว่า เพราะพระสมณโคดม ได้บรรลุพระปัญญาเพียงนิด
หน่อยที่โคนโพธิ์ เมื่อพระสมณโคดมพระองค์เดียวนั่งที่สุญญาคาร พระ
ปัญญานั้นก็หายไป แต่ถ้าพระสมณโคดมนั้น พึงนั่งคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
เหมือนเรา พระปัญญาของพระองค์ก็จะไม่พึงหายไป. บทว่า อปริสาวจโร
ได้แก่ ไม่อาจเข้าสู่ที่ประชุมได้ เพราะไม่กล้า. บทว่า นาลํ สลฺลาปาย
คือ ไม่สามารถเจรจาปราศัยได้. บทว่า อนฺตปนฺตาเนว ความว่า
พระสมณโคดมกลัวต่อปัญหา ว่าใคร ๆ พึงถามปัญหากะเรา ดังนี้ จึง
เสพที่อันสงัด ณ ภายในอย่างเดียว คือเสนาสนะอันสงัด. บทว่า โค-
กาณา ได้แก่ แม่โคมีตาบอดข้างเดียว ได้ยินว่า แม่โคบอดนั้นเที่ยววน
เวียนเสพที่อันสงัดภายในเท่านั้น ได้สดับมาว่า แม่โคบอดนั้น แม้มุ่ง
หน้าไปราวป่า ก็ไม่สามารถไปได้ เพราะเป็นโคตาบอด. ถามว่า เพราะ
เหตุไร ? ตอบว่า เพราะแม่โคบอดนั้นย่อมกลัวต่อใบไม้ กิ่งไม้ หรือ
หนามกระทบเอา. ย่อมไม่สามารถจะอยู่เฉพาะหน้าฝูงโคได้. ถามว่า
เพราะเหตุใด ตอบว่า เพราะแม่โคบอดนั้นย่อมกลัวต่อเขาโค หูโค
หรือหางกระทบเอา.
ศัพท์ว่า อิงฺฆ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่าทักท้วง. บทว่า สํสา-
เทยฺยาม
ได้แก่ เราพึงทำความเหยียดหยาม คือให้ถึงความกระอัก
กระอ่วนเท่านั้น ด้วยการถามปัญหาข้อหนึ่ง. บทว่า ตุจฺฉกุมฺภึว นํ
ได้แก่ (พึงบีบรัด) พระสมณโคดมนั้น เหมือนบุคคลบีบรัดหม้อเปล่า
ฉะนั้น. บทว่า โอโรเธยฺยาม คือ พึงบีบรัด. จริงอยู่ หม้อที่เต็มแล้ว
กลิ้งไปข้างโน้นข้างนี้ บุคคลบีบรัดไม่ได้ ส่วนหม้อที่เปล่า บุคคล
จะสามารถพลิกกลับบีบรัดตามความชอบใจได้ ฉันใด นิโครธปริพาชก
นี้ย่อมกล่าวว่า เราจักบีบรัดพระสมณโคดม เหมือนกับบีบรัดหม้อที่เปล่า

โดยรอบด้าน ด้วยการบีบคั้นด้วยวาทะ เพราะพระองค์มีปัญญาถูกขจัด
เสียแล้ว.
ปริพาชก เมื่อไม่เห็นวงพระนลาฏสีทองของพระศาสดา จึงแสดง
กำลังของตนในที่ลับหลังพระทศพล คำรามเปล่า ๆ ปรี้ ๆ มีประการ
ต่าง ๆ เหมือนบุตรคนจัณฑาลเสียดสีขัตติยกุมาร ซึ่งมิได้เจือปนโดย
ชาติ และเหมือนสุนัขจิ้งจอกเสียดสีพญาไกสรสีหราชแท้ ๆ ด้วยกำลัง
ฉะนั้น. แม้อุบาสกก็คิดว่า ปริพาชกผู้นี้ขู่ตะคอกเกินไป พยายามโดยไม่
มีประโยชน์ เหมือนเหยียดเท้าไปเพื่อสัมผัสอเวจี เหยียดมือไปเพื่อจับ
ภวัคคพรหม ฉะนั้น ถ้าพระศาสดาของเราพึงมาสู่ที่นี้ พระองค์พึงลดธง
คือมานะที่ปริพาชกนี้ยกขึ้นจนถึงภวัคคพรหมโดยฐานะทีเดียว. แม้พระผู้
มีพระภาคเจ้าก็ได้ทรงสดับการสนทนาปราศัยนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า อสฺโสสิ โข อิมํ กถาสลฺลาปํ ดังนี้.
บทว่า สุมาคธาย ความว่า บุรุษคนใดคนหนึ่งนั่งที่ฝั่งสระ
โบกขรณีชื่อสุมาคธา ได้เห็นหมู่พวกอสูรกำลังเข้าไปยังภพอสูร ทางก้าน
ดอกบัว.
อาหารท่านเรียกว่า นิวาปะ ในคำว่า โมรนิวาเป นี้ อธิบายว่า ได้
แก่สถานที่ ๆ บุคคลให้เหยื่อพร้อมทั้งให้อภัยแก่นกยูง. บทว่า อพฺโภกาเส
คือในสถานที่เป็นเนิน. บทว่า อสฺสาลปฺปตฺตา ได้แก่ ได้ประสบความ
ยินดี คือประสบความโสมนัส. บทว่า อชฺฌาสยํ คือ เป็นนิสัยแห่งมรรค
ชั้นสูง. บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยํ ได้แก่ อริยมรรค กล่าวคือพรหมจรรย์ชั้น
ต้น. นิโครธปริพาชกได้กล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสาวก
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำแล้ว บำเพ็ญอริยมรรคอันเป็นอาทิพรหม-
จรรย์ด้วยอัธยาศัยแล้ว ถึงความปลอดโปร่ง ย่อมรู้เฉพาะ ด้วยการบรรลุ
พระอรหัตด้วยธรรมชื่ออะไร.

บทว่า วิปฺปกถา ได้แก่ ที่ค้างอยู่ยังไม่จบ เพราะการมาของ
เราเป็นปัจจัย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยินยอมแบบพระสัพพัญญูว่า
เธอจงกล่าวไปเถิด เราจักแสดงธรรมนั้นให้จบให้ถึงที่สุด. บทว่า ทุชฺ-
ชานํ โข
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับคำของปริพาชกแล้ว ทรง
ดำริว่า ปริพาชกนี้ย่อมถามถึงธรรมที่เราแสดงพระสาวก อันเป็น
ข้อปฏิบัติที่พระสาวกเหล่านั้นพึงบำเพ็ญ หากเราจักกล่าวธรรมนั้นแต่ต้น
แก่เขา เขาจักไม่รู้ธรรมแม้ที่เรากล่าวแล้ว ก็ปริพาชกนี้เป็นผู้มีวาทะ
รังเกียจบาปด้วยความเพียร เอาเถอะ เราจะให้เขาถามปัญหาในวิสัย
แห่งวาทะนั้นเท่านั้น แล้วจะแสดงความไม่มีประโยชน์แห่งลัทธิของสมณ-
พราหมณ์เป็นอันมาก ครั้นแล้ว จักพยากรณ์ปัญหานี้ในภายหลัง จึงตรัสว่า
ทุชฺชานํ โข เอตํ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเก อาจริยเก คือไม่ลัทธิอา-
จารย์ขอตน. บทว่า อธิเชคุจฺเฉ คือ ในการเกลียดบาปด้วยความ
เพียร. บทว่า กถํ สนฺตา คือ เป็นอย่างไร. บทว่า ตโปชิคุจฺฉา
ได้แก่ การเกลียดบาป คือการหน่ายบาปด้วยความเพียร. บทว่า ปริปุณฺ-
ณา
คือบริสุทธิ์แล้ว. คำว่า กถํ อปริปุณฺณา ได้แก่ เธอจงถามอย่าง
นี้ว่า ไม่บริสุทธิ์อย่างไร. บทว่า ยตฺร หิ นาม คือ โย นาม.
บทว่า อปฺปสทฺเท กตฺวา ได้แก่ ให้ไม่มีเสียงดัง คือ ให้
มีเสียงเบา. ได้สดับว่า ปริพาชกนั้น คิดว่า พระสมณโคดมย่อมจะไม่
บอกเพียงปัญหาข้อเดียว แม้การสนทนาปราศัยของพระสมณโคดมนั้นไม่
มากนัก ก็ชนเหล่านี้ ย่อมคล้อยตามและสรรเสริญพระสมณโคดมตั้งแต่ต้น
เอาเถอะ เราจะทำชนเหล่านี้ให้เงียบเสียงพูดเสียเอง. ปริพาชกได้ทำ
ตามนั้นแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อปฺปสทฺเท กตฺวา เป็นต้น.
ในคำเป็นต้นว่า ตโปชิคุจฺฉวาทา ความว่า เรากล่าวการเกลียดบาปด้วย

ตบะ ย่อมยึดถือการเกลียดบาปด้วยตบะนั้น โดยความเป็นสาระ ด้วย
ใจบ้าง ย่อมแนบแน่น การเกลียดบาปด้วยตบะนั้น ประกอบความเพียร
ในการทรมานตนเอง ซึ่งมีประการต่าง ๆ แล้วอยู่ด้วยกายบ้าง. บทว่า
ตปสฺสี คือ อาศัยตบะ. คำว่า อเจลโก เป็นต้น พึงทราบโดย
นัยพิสดารในสีหนาทสูตร.
บทว่า ตปํ สมาทิยติ ได้แก่ ยึดถือตบะมีความเป็นอเจลกะ
เป็นต้น คือถืออย่างมั่นคง. บทว่า อตฺตมโน โหติ ความว่า ปริพา-
ชกดีใจว่า มีใครอื่นในตบะนี้เช่นเรา. บทว่า ปริปุณฺณสงฺกปฺโป
ได้แก่ มีความดำริสิ้นสุดลงอย่างนี้ว่า เพียงนี้ก็พอ. ก็คำนี้มาด้วยอำนาจ
แห่งพวกเดียรถีย์ พึงแสดงแม้ด้วยสามารถการเกี่ยวข้องทางศาสนา. จริง
อยู่ คนบางคนสมาทานธุดงค์ เขาย่อมยินดีด้วยธุดงค์นั้นว่า คนอื่น
ใครเล่าจะทรงธุดงค์เช่นเรา ชื่อว่ามีความดำริบริบูรณ์แล้ว. คำว่า
ตปสฺสิโน อุปกฺกิเลโส โหติ ได้แก่ นี้คืออุปกิเลสของผู้มีตบะทั้งสอง
ประการนั้น. เราย่อมกล่าวว่า ตบะเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลนั้น ด้วยเหตุ
เพียงเท่านั้น.
บทว่า อตฺตานุกฺกํเสติ ได้แก่ ยกตน คือชูตนว่า ใครจะ
เป็นเช่นเรา. บทว่า ปรํ วมฺเภติ ได้แก่ ขู่ คือดูหมิ่นคนอื่นว่า ผู้นี้
ไม่เหมือนเรา. บทว่า มชฺชติ คือ มัวเมาด้วยความเมาคือมานะ. บท
ว่า มุจฺฉติ ได้แก่ ลืมสติ คือติดอยู่ได้แก่ข้องอยู่. บทว่า มทมาปชฺชติ
ได้แก่ ถึงความมัวเมาว่า สิ่งนี้เท่านั้นเป็นสาระ. ปริพาชกนี้ แม้บวช
ในศาสนาแล้ว เป็นผู้มีธุดงค์บริสุทธิ์ ไม่ใช่มีกัมมัฏฐานบริสุทธิ์. ย่อม
ยึดถือธุดงค์เท่านั้น โดยความเป็นสาระ เหมือนยึดถือพระอรหัต. ใน
คำว่า ลาภสกฺการสิโลกํ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

ชื่อว่าลาภ เพราะอรรถว่าได้ปัจจัย 4. ปัจจัยเหล่านั้นแหละที่
ตกแต่งทำไว้อย่างดีได้มา ชื่อว่า สักการะ. การกล่าวสรรเสริญ ชื่อว่า
สิโลกะ. บทว่า นิพฺพตฺเตติ ความว่า ลาภเป็นอันมาก ย่อมเกิดขึ้น
เพราะอาศัยความเป็นอเจลกเป็นต้น หรือการทำสมาทานธุดงค์ของเขา
เพราะฉะนั้นปริพาชกจึงกล่าวว่า นิพฺพตฺเตติ ดังนี้. คำที่เหลือในที่นี้
พึงทราบด้วยอำนาจแห่งผู้มีตบะทั้งสองประเภท โดยนัยที่กล่าวไว้ครั้งก่อน
นั่นแล.
บทว่า โวทาสมาปชฺชติ ได้แก่ ถึง 2 ส่วน คือทำให้เป็น
2 ส่วน. บทว่า ขมติ คือ ชอบใจ. บทว่า น ขมติ คือไม่ชอบใจ.
บทว่า สาเปกฺโข ปชหติ ได้แก่ ผู้มีความอยากย่อมละ. ถามว่า อย่างไร.
ตอบว่า ตอนเช้า เขาบริโภคนม. ทีนั้น ทายกได้นำเนื้อไปให้เขาอีก.
เขามีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ เมื่อไรเราจักได้อย่างนี้อีก. ถ้ารู้อย่างนี้เรา
จะไม่ควรบริโภคนมตอนเช้า เราสามารถทำอะไรได้ จึงมุ่งสละเหมือนการ
สละชีวิตด้วยการกล่าวว่าไปเถิด ท่านผู้เจริญ ท่านนั่นแหละจงบริโภค.
บทว่า คธิโต คือ กำหนัดแล้ว. บทว่า มุจฺฉิโต ได้แก่
หลงลืมแล้ว เพราะความอยากมีกำลัง คือเป็นผู้มีสติหลงลืม. บทว่า
อชฺฌาปนฺโน คือข้องอยู่ในอามิส. ไม่ทำแม้เพียงการเชื้อเชิญโดยธรรม
ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ท่านจักบริโภค กระทำให้เป็นคำใหญ่ ๆ. บทว่า
อนาทีนวทสฺสาวี คือไม่เห็นแม้เพียงโทษ. การรู้จักประมาณ ชื่อว่า
นิสสรณะ ในคำว่า อนิสฺสรณปญฺโญ นี้. เขาไม่ทำแม้เพียงการพิจารณา
และการบริโภค. บทว่า ลาภสกฺการสิโลกนิกฺกนฺติเหตุ คือ
เพราะเหตุแห่งความอยากในลาภเป็นต้น. บทว่า สํภกฺเขติ แปลว่า
เคี้ยวกิน. บทว่า อสนีวิจกฺกํ คือมีสัณฐานคมเหมือนสายฟ้า. มีคำ
อธิบายว่า ปลายฟันของบุคคลนี้คมประดุจสายฟ้า มิใช่จะไม่บริโภค

พืชอะไรในบรรดาพืชอันเกิดแต่รากเป็นต้น ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ชนทั้ง
หลาอยู่อมรู้จักว่าเขาว่าเป็นสมณะ ด้วยการตู่ว่าเป็นสมณะ. เขาย่อมรุกราน
คือดูหมิ่น ด้วยอาการอย่างนี้. ข้อนี้มาด้วยอำนาจพวกเดียรถีย์. แต่ด้วยอำ-
นาจพระภิกษุ ในข้อนี้มีคำอธิบายประกอบดังต่อไปนี้ว่า ภิกษุนี้ ตน
เองได้ทรงธุดงค์ เขาย่อมรุกรานผู้อื่นอย่างนี้ว่า ชนเหล่านี้จะชื่อว่า
เป็นสมณะได้อย่างไร แต่กล่าวว่า พวกเราเป็นสมณะ ดังนี้ แม้คุณ
เพียงธุดงค์ก็ไม่มี คนเหล่านี้เมื่อแสวงหาอาหารมีอุทเทสภัตเป็นต้น ชื่อ
ว่ามักมากด้วยปัจจัยเที่ยวไป.
บทว่า ลูชชีวึ ได้แก่ ผู้มีความเป็นอยู่เศร้าหมอง ด้วยความ
เป็นอเจลกะเป็นต้น หรือด้วยอำนาจธุดงค์. บทว่า อิสฺสามจฺฉริยํ ได้แก่
ความริษยามีการริดรอนสมบัติมีสักการะเป็นต้นของผู้อื่นเป็นลักษณะ และ
ความตระหนี่มีความไม่ยอมทำสักการะเป็นต้นเป็นลักษณะ. บทว่า อาปา-
ถกนิสาที โหติ
ได้แก่ นั่งอยู่ในทางเดิน คือในที่ที่เห็นมนุษย์ทั้งหลาย.
บุคคลผู้มีตบะยืนอยู่ในสถานที่ที่ชนทั้งหลายจะเห็นได้ ย่อมสอนวัคคุลิ-
วัตร (ข้อปฏิบัติดุจค้างคาว) บำเพ็ญตบะ 5 อย่าง ยืนด้วยเท้าข้างเดียว
ไหว้พระอาทิตย์. แม้ภิกษุผู้บวชในศาสนาแล้ว ได้สมาทานธุดงค์นอนหลับ
ตลอดคืนแล้ว บำเพ็ญตบะในทางที่คนแลเห็น เวลาเย็น ทำจีวรกุฏีบน
ที่นอนใหญ่ เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นก็เก็บ พอทราบว่า พวกมนุษย์มาหา
ก็เคาะระฆัง วางจีวรไว้บนศีรษะเดินจงกรม (ต่อมา) ก็จักไม้กวาด กวาด
ลานวิหาร. บทว่า อตฺตานํ ได้แก่ ซึ่งคุณของตน. อ อักษรในคำว่า
อทสฺสยมาโน เป็นเพียงนิบาต. ความว่า แสดงอยู่. บทว่า อิทมฺปิ
เม ตปสฺมึ
ได้แก่ กรรมแม้นี้อยู่ในตบะของเรา. อีกนัยหนึ่ง บทว่า
ตปสฺมึ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในอรรถปฐมาวิภัตติ. อธิบาย
ว่า กรรมแม้นี้เป็นตบะของเรา. จริงอยู่ คนมีตบะนั้น ได้ยินว่า
นักบวชอเจลกะผู้ทอดทิ้งอาจาระมีอยู่ที่โน้น เป็นต้น ก็พูดว่า นี่เป็นตบะ

ของเรา อเจลกะนั่นเป็นอันเตวาสิกของเรา เป็นต้น ได้ฟังว่า ภิกษุ
ผู้ทรงผ้าบังสุกุลอยู่ในที่โน้นเป็นต้น ก็พูดว่า นี้เป็นตบะของเรา ภิกษุ
นั้นเป็นอันเตวาสิกของเรา เป็นต้น. บทว่า กิญฺจิเทว ได้แก่ โทษหรือ
ทิฏฐิอะไร ๆ. ทว่า ปฏิจฺฉนฺนํ เสวติ ได้แก่ ย่อมเสพโดยประการ
ที่ชนเหล่าอื่นจะไม่รู้. บทว่า อกฺขมมานํ อาห ขมติ ได้แก่ ย่อมกล่าว
ถึงสิ่งที่ตนไม่ชอบใจว่า เราชอบใจ. คนมีตบะย่อมบัญญัติโทษที่ตนทำ
แล้วมากมายว่ามีจำนวนน้อย แต่แสดงโทษที่คนอื่นทำแล้วเพียงแต่อาบัติ
ทุกกฏว่าเป็นเหมือนต้องอาบัติปาราชิก. บทว่า อนุญฺเญยฺยํ ได้แก่ พึง
ทราบ คือพึงอนุโมทนา. บทว่า โกธโน โหติ อุปนาหิ ได้แก่ผู้ประ
กอบด้วยโกธะ มีความขัดเคืองเป็นลักษณะ และด้วยอุปนาหะมีการไม่
สละคืนเวรเป็นลักษณะ. บทว่า มกฺขี โหติ ปลาสี ได้แก่ประกอบด้วยมัก-
ขะ มีการลบหลู่คุณคนอื่นเป็นลักษณะ และด้วยปลาสะ มีการตีเสมอ
เป็นลักษณะ. บทว่า อิสฺสุกี โหติ มจฺฉรี ได้แก่ ประกอบด้วยความ
ริษยาในสักการะของผู้อื่นเป็นต้นเป็นลักษณะ และด้วยความตระหนี่
5 อย่าง มีความตระหนี่ในอาวาส ตระกูล ลาภ วรรณะและธรรมเป็น
ลักษณะ. บทว่า สโฐ โหติ มายาวี ได้แก่ประกอบด้วยสาเถยยะมี
ความโอ้อวดเป็นลักษณะ และมายามีการปกปิดกรรมที่ทำแล้วเป็นลักษณะ.
บทว่า ถทฺโธ โหติ อติมานี ได้แก่ ประกอบด้วยถัมกะมีความดื้อรั้น
ซึ่งขาดเมตตาและกรุณาเป็นลักษณะ และอติมานะมีการดูหมิ่นล่วงเกิน
ผู้อื่นเป็นลักษณะ. บทว่า ปาปิจฺโฉ โหติ ได้แก่ ประกอบด้วยความ
ปรารถนาลามก มีการยกย่องและปรารถนาอสัตบุรุษเป็นลักษณะ. บทว่า
ปาปิกานํ คือลุอำนาจความอยากที่ลามกเหล่านั้นนั่นแล. บทว่า มิจฺฉา-
ทิฏฺฐิโก
คือประกอบด้วยทิฏฐิที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นไปตามนัยว่า ทาน
ที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล เป็นต้น. บทว่า อนฺตคฺคาหิกาย ได้แก่ ทิฏฐิ

นั้นนั่นแล ท่านเรียกว่า อนฺตคฺคาหิกา เพราะเขายึดถือความขาดสูญ
อธิบายว่า ผู้ประกอบด้วยอันตัคคาหิกทิฏฐินั้น. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า
สนฺทิฏฺฐิปรามาสี เป็นต้น ดังต่อไปนี้- การเห็นด้วยตนเอง ชื่อว่า
สนฺทิฏฐิ ผู้ใดจับต้องยึดถือสันทิฏฐินั้นนั่นแลเที่ยวไป เหตุนั้น ผู้นั้น
ชื่อว่า สันทิฏฐิปรามาสี. การตั้งไว้ด้วยดี มั่นคงดี เรียกว่า อาธานะ.
ผู้ใดยึดถือไว้อย่างมั่นคง ผู้นั้นชื่อว่า อาธานัคคาหี. ผู้ใดไม่สามารถจะ
สละการ ยึดถือมั่นนั้น เหมือนอริฏฐะสามเณร เหตุนั้น ผู้นั้นชื่อว่า
ทุปปฏินิสสัคคี. ศัพท์ว่า ยทิเม ตัดเป็น ยทิ อิเม.
บทว่า อิธ นิโคฺรธ ตปสฺสี ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงพระบาลีฝ่ายที่เศร้าหมอง คือทรงแสดงลัทธิที่พวกอัญญเดียรถีย์ถือเอา
ตบะที่พวกเดียรถีย์เหล่านั้นรักษาว่าเป็นสิ่งเศร้าหมองทั้งหมดแล้ว บัดนี้
เพื่อแสดงบาลีฝ่ายบริสุทธิ์ เมื่อเริ่มเทศนา จึงตรัสว่า อิธ นิโคฺรธ
ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น อตฺตมโน เป็นต้น พึง
ทราบด้วยอำนาจบทที่ตรงกันข้ามจากที่กล่าวแล้ว. ในวาระบททุก ๆ บท
พึงประกอบข้อความด้วยอำนาจผู้มีตบะเศร้าหมองและผู้ทรงธุดงค์. บทว่า
เอวํ โส ตสฺมึ ฐาเน ปริสุทฺโธ โหติ ความว่า ผู้มีตบะนั้น เป็น
ผู้บริสุทธิ์ คือไร้อุปกิเลส เพราะมีความพอใจด้วยตบะนั้น ก็หาไม่
เพราะเหตุกล่าวคือความดำริบริบูรณ์ ก็หาไม่. ผู้มีตบะนี้ เมื่อพยายาม
ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ก็เป็นผู้มีกรรมฐานบริสุทธิ์ ย่อมบรรลุพระอรหัตได้.
พึงทราบเนื้อความในวาระทุก ๆ บท โดยนัยนี้. บทว่า อทฺธา โข
ภนฺเต
ความว่า ปริพาชกย่อมรู้ตามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ
เป็นอย่างนี้ วาทะที่เกลียดบาปด้วยความเพียรย่อมบริสุทธิ์ โดยส่วน
เดียว. อนึ่ง ปริพาชกนั้นไม่รู้ยอดและแก่นอื่นจากนี้ จึงกล่าวว่า
อคฺคปฺปตฺตา สารปฺปตฺตา จ ดังนี้. ทีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อ

ทรงปฏิเสธวาทะนั้นเป็นแก่นสารแก่ปริพาชกนั้น จึงตรัสว่า น โข นิโคฺรธ
เป็นต้น.
บทว่า ปปฺปฏิกมตฺตา โหติ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ย่อมทรงแสดงว่า การเกลียดบาปด้วยตบะเห็นปานนี้ เป็นเช่นกับสะเก็ด
ภายนอกพ้นจากแก่น กระพี้ เปลือก ของต้นไม้มีแก่น.
บทว่า อคฺคํ ปาเปตุ ความว่า ย่อมทูลขอกะพระทศพลว่า
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงให้ถึงยอด คือ โปรดแสดงให้ถึงแก่น
ด้วยอำนาจแห่งเทศนา.
บทว่า จาตุยามสํวรสํวุโต คือปิดแล้วด้วยความสำรวม 4 อย่าง.
บทว่า น ปาณมติปาเปติ คือ ไม่เบียดเบียนสัตว์. บทว่า น ภาวิต-
มาสึสติ
ความว่า กามคุณ 5 อย่าง ชื่อว่าเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันมา
เพราะกำหนดจดจำไว้ ไม่หวัง คือไม่เสพกามคุณเหล่านั้น. บทว่า
อทุญฺจสส โหติ ความว่า ข้อที่จะกล่าวในบัดนี้เป็นต้นว่า โส อภิหรติ
จึงเป็นลักษณะของเขา. บทว่า ตปสฺสิตาย คือ เพราะความเป็นผู้
มีตบะ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส อภิหรติ ความว่า เขาย่อม
รักษาศีลนั้นให้ยิ่ง คือบำเพ็ญให้สูงยิ่งขึ้นไป ได้แก่ไม่ยอมละความ
เพียรว่า ศีลเราบริบูรณ์แล้ว ตบะเราเริ่มแล้ว พอละ ด้วยเหตุเพียงเท่า
นี้. บทว่า โน หินายาวตฺตติ ความว่า ไม่เวียนมาเพื่อความเป็น
คนเลว คือเพื่อความเป็นคฤหัสถ์ ได้แก่ทำความเพียรเพื่อต้องการบรรลุ
คุณวิเศษยิ่งกว่าศีล. เขาเมื่อทำได้อย่างนี้ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด.
บทว่า อรญฺญํ เป็นต้น มีพิสดารอยู่แล้วในสามัญญผลสูตร. บทว่า
เมตฺตาสหคเตน เป็นต้น ท่านพรรณนาไว้ในวิสุทธิมรรค.
บทว่า ตจปฺปตฺตา คือถึงเปลือกภายในแต่สะเก็ด. บทว่า เผคฺ-
คุปฺปตฺตา
คือถึงความเป็นกระพี้ภายในแต่เปลือก อธิบายว่า เป็นเช่น

กระพี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดำว่า เอตฺตาวตา โข นิโคฺรธ ตโป-
ชิคฺจฺฉา อคฺคปฺปตฺตา จ โหติ สารปฺปตฺตา จ
นี้ ด้วยอำนาจพวก
เดียรถีย์.
จริงอยู่ ลาภและสักการะของพวกเดียรถีย์ เป็นเหมือนกับกิ่งไม้
และใบไม้. เพียงศีล 5 เช่นสะเก็ดไม้. เพียงสมาบัติ 8 เช่นเปลือกไม้.
ปุพเพนิวาสญาณและอภิญญาในที่สุด เช่นกระพี้. ก็พวกเดียรถีย์เหล่านั้น
ย่อมถือเอาทิพพจักขุว่าเป็นพระอรหัต. เพราะเหตุนั้น ความยึดถือนั้น
ของพวกเขา เช่นแก่นต้นไม้. ส่วนลาภและสักการะในพระศาสนา เป็น
เช่นกิ่งไม้และใบไม้. ความถึงพร้อมด้วยศีล เช่นกับสะเก็ด. ฌานและ
สมาบัติ เช่นกับเปลือก. โลกิยอภิญญาเช่นกระพี้. มรรคและผล
เป็นแก่น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปรียบเทียบศาสนาของพระองค์ด้วย
ต้นไม้มีผลดกที่กิ่งน้อมลงและแผ่ออก ด้วยประการฉะนี้.
เพราะพระองค์ฉลาดในการแสดงเทศนา พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้นทรงเริ่มแสดงว่า อิติ โข นิโคฺรธ เป็นต้น เพื่อแสดงความ
แปลกแห่งเทศนาของพระองค์ว่า ศาสนาของเรายิ่งกว่า ประณีตกว่า
ความถึงพร้อมด้วยแก่นของท่านนั้น ท่านจักรู้ศาสนานั้นเมื่อไร.
บทว่า เต ปริพฺพาชกา ได้แก่ ปริพาชกจำนวน 3,000 คน
เหล่านั้น เป็นบริวารของเขา. บทว่า เอตฺถ มยํ น ปสฺสาม ได้แก่
ในบาลีมีแบบแผนอเจลกะเป็นต้นนี้. ท่านกล่าวว่า แม้แบบแผนอเจลกะ ก็
ไม่มีแก่เรา แบบแผนที่บริสุทธิ์จักมีแต่ที่ไหน แม้แบบแผนที่บริสุทธิ์ของพวก
เราก็ไม่มีในที่นั้น. ความสำรวม 4 อย่างเป็นต้น จักมีแต่ที่ไหน แม้ความ
สำรวม 4 อย่าง ก็ไม่มี การอยู่ป่าเป็นต้น จักมีแต่ที่ไหน แม้การอยู่ป่า ไม่มี
การละนิวรณ์เป็นต้น จักมีแต่ที่ไหน แม้การละนิวรณ์ ไม่มี แม้พรหมวิหาร
เป็นต้น จักมีแต่ที่ไหน แม้พรหมวิหารไม่มี ปุพเพนิวาสญาณเป็นต้น

จักมีแต่ที่ไหน แม้ปุพเพนิวาสญาณ ไม่มี ทิพพจักขุของพวกเราจักมีแต่
ที่ไหน พวกเราพร้อมทั้งอาจารย์ฉิบหายในที่นี้. บทว่า อิโต ภิยฺโย
อุตฺตรีตรํ ความว่า ปริพาชกเหล่านั้นย่อมกล่าวว่า พวกเรายังไม่รู้ชัด
การบรรลุคุณวิเศษอื่นที่ยิ่งไปกว่าการบรรลุทิพพจักขุญาณนี้ แม้ด้วยอำนาจ
การฟัง.
บทว่า อถ นิโคฺรธํ ปริพฺพาชกํ ความว่า สันธานคฤหบดี
นั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ปริพาชกเหล่านี้ ตั้งใจฟังภาษิตของพระผู้มี
พระภาคเจ้าในบัดนี้ ก็นิโครธปริพาชกนี้ ได้กล่าวคำจ้วงจาบอย่างกัก-
ขฬะลับหลังพระผู้มีพระภาคเจ้า บัดนี้ ปริพาชกนี้ได้เกิดอยากฟัง บัดนี้
เป็นกาลที่จะลดธงคือมานะของปริพาชกนี้ลงแล้ว ยกพระศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าขึ้น ลำดับนั้น เขาจึงได้พูดคำนั้นกะนิโครธปริพาชก
และแม้สันธานคฤหบดีนั้นก็ได้มีความคิดอื่นอีกว่า ปริพาชกนี้ เมื่อเราไม่
พูด ก็จักไม่ขอขมาพระศาสดา และการไม่ขอโทษนั้น จักเป็นไป
เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่เขา ในอนาคต แต่เมื่อเราพูดแล้ว
เขาจักขอขมา การขอขมานั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความ
สุขแก่เขาตลอดกาลนาน ดังนี้ ทีนั้น เขาจึงได้กล่าวคำนั้นกะนิโครธ-
ปริพาชก. ศัพท์ว่า ปน ในคำว่า อปริสาวจรํ ปน นํ กโรถ นี้
เป็นนิบาต. ความว่า ก็พวกท่านจงทำพระองค์ท่านไม่ให้กล้าเสด็จเที่ยว
ไปในที่ประชุม. บาลีว่า อปริสาวจเรตํ ดังนี้ ก็มี. อีกอย่างหนึ่ง
อธิบายว่า พวกท่านจงทำพระสมณโคดมนั้นไม่ให้กล้าเที่ยวไปในที่ประ
ชุม หรือจงทำให้เป็นเหมือนแม่โคตาบอดเป็นต้น ตัวใดตัวหนึ่ง. แม้
ในคำว่า โคกาณํ น มีอธิบายว่า พวกท่านจงทำพระสมณโคดมให้
เป็นเหมือนโคตาบอดเที่ยววนเวียนไป ฉะนั้น. บทว่า ตุณฺหีภูโต คือ

เข้าถึงความเป็นผู้นิ่ง. บทว่า มงฺกุภูโต คือ หมดอำนาจ. บทว่า
ปตฺตกฺขนฺโธ คือคอตก. บทว่า อโธมุโข คือ ก้มหน้า.
บทว่า พุทฺโธ โส ภควา สมฺโพธาย ความว่า พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสรู้เองแล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อให้สัตว์ทั้งหลายรู้อริยสัจ 4 ด้วย.
บทว่า ทนฺโต คือ ฝึกทางจักษุบ้าง ฯลฯ ฝึกทางใจบ้าง. บทว่า ทมถาย
ได้แก่ เพื่อต้องการฝึกสัตว์เหล่าอื่น หาใช่เพื่อวาทะ.
บทว่า สนฺโต ได้แก่ ทรงสงบแล้ว เพราะมีราคะสงบระงับ
คือทรงสงบ เพราะมีโทสะ และโมหะสงบ เพราะมีอกุศลธรรมทั้งปวง
และอภิสังขารทั้งปวงสงบ. บทว่า สมถาย คือทรงแสดงธรรมเพื่อให้
มหาชนมีราคะเป็นต้นสงบ. บทว่า ติณฺโณ คือ ข้ามพ้นโอฆะ 4 อย่าง
ได้. บทว่า ตรณาย คือ เพื่อต้องการจะให้มหาชนผ่านพ้นโอฆะ. บท
ว่า ปรินิพฺพุโต ได้แก่ เป็นผู้ดับแล้วด้วยกิเลสนิพพาน. บทว่า ปรินิพฺ-
พานาย
ได้แก่ ทรงแสดงธรรม เพื่อต้องการให้มหาชนดับกิเลสทุกอย่าง
ได้หมด.
บทว่า อจฺจโย เป็นต้น ได้กล่าวไว้แล้วในสามัญญผลสูตร.
บทว่า อุชุชาติโก ได้แก่ เว้นจากความคดทางกายเป็นต้น มีความ
ซื่อตรงเป็นสภาพ. บทว่า อหมนุสาสามิ ความว่า เราจะสั่งสอน
บุคคลเช่นท่าน และจะแสดงธรรมแก่บุคคลเช่นท่านนั้น. บทว่า สตฺตาหํ
คือตลอดเจ็ดวัน. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมุ่งถึงบุคคลผู้มีปัญญาทึบ จึง
ตรัสคำนี้ทั้งหมด. ก็ บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายาเป็นคนตรง จัก
สามารถบรรลุพระอรหัตได้ โดยกาลครู่เดียวเท่านั้น. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า คนผู้โอ้อวด คดโกง เราไม่สามารถ
สอนได้ ดังนี้ ด้วยคำเป็นต้นว่า อสฐํ ดังนี้ จึงเหมือนทรงจับปริพาชก
ที่เท้า ขว้างไปที่เชิงเขาพระสุเมรุ. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า

เพราะปริพาชกผู้นี้โอ้อวดเหลือเกิน มีจิตใจคดโกง. แม้เมื่อพระศาสดา
ตรัสอยู่อย่างนี้ ปริพาชกก็ไม่น้อมใจไปในพระพุทธ พระธรรม และ
พระสงฆ์ ไม่เงี่ยโสตไปเพื่อความเป็นผู้น้อมใจไป คงอยู่ในความหลอก
ลวง ขอขมาพระศาสดา เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ
อัธยาศัยของเธอ จึงตรัสว่า เราก็ไม่สามารถสอนคนโอ้อวดได้.
บทว่า อนฺเตวาสิกมฺยตา ได้แก่ อยากได้อันเตวาสิก คือ
ปรารถนาพวกเราเป็นอันเตวาสิก. บทว่า เอวมาเห ได้แก่ พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสคำว่า บุรุษผู้รู้ ไม่โอ้อวด จงมา เป็นต้น. บทว่า โยเอว
โว อาจริโย
ความว่า ผู้ใด ตามปกติเป็นอาจารย์ของท่าน. บทว่า
อุทฺเทสา โน จาเวตุกาโม ความว่า พระสมณโคดมปรารถนาจะให้
เราถือคำสอนของพระองค์ แล้วให้พวกเราเคลื่อนจากอุเทศของพวกเรา.
บทว่า โสเยว โว อุทิเทโส โหตุ ความว่า ตามปกติ อุเทศใดเป็น
อุเทศของท่าน อุเทศนั้นก็เป็นอุเทศของท่านนั่นแหละ เราไม่มีความ
ต้องการด้วยอุเทศของท่าน. บทว่า อาชีวา คือจากความเป็นอยู่. บท
ว่า อกุสลสงฺขาตา คือถึงส่วนว่าอกุศล. บทว่า อกุสลา ธมฺมา
ได้แก่ ธรรมคือความเกิดแห่งอกุศลจิต 12 ดวง อีกอย่างหนึ่ง โดยพิ
เศษ ก็ได้แก่ตัณหานั่นเอง. แท้จริง ตัณหานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า โปโนพฺภวิกา เพราะทำให้เกิดอีก. บทว่า สทรถา
คือประกอบด้วยความกระวนกระวายด้วยกิเลส. บทว่า ชาติชรามรณิยา
คือเป็นปัจจัยแห่งชาติ ชรา และมรณะ. บทว่า สงฺกิเลสิกา ธมฺมา คือ
ถือความเกิดแห่งอกุศลจิต 12 ดวง. บทว่า โวทานิยา ได้แก่ ธรรม
คือสมถะและวิปัสสนา. เพราะธรรมคือสมถะและวิปัสสนาเหล่านั้นย่อม
ทำให้สัตว์หมดจดได้ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น พระผู้มีพระภาค
เจ้าจึงตรัสว่า โวทานิยา. บทว่า ปญฺญาปาริปูรึ คือบริบูรณ์ด้วยมรรค

ปัญญา. บทว่า เวปุลฺลตฺตญฺจ ได้แก่ ความไพบูลย์ด้วยผลปํญญา.
อีกนัยหนึ่ง ทั้งสองบทนี้เป็นไวพจน์ของกันและกัน. ท่านอธิบายไว้ว่า
เพราะเหตุนั้น พวกท่านจักทำให้แจ้งมรรคปัญญาและผลปัญญา ด้วยปัญญา
อันยิ่งของตน ในปัจจุบันนั่นแล เข้าถึงอยู่ ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงปรารภปริพาชกทั้งหลาย เมื่อจะทรงแสดงกำลังแห่งพระโอวาทา-
นุสาสนีของพระองค์ จึงยังพระธรรมเทศนาให้จบลงด้วยยอดคือพระอร-
หัต ด้วยประการฉะนี้. บทว่า ยถา ตํ มาเรน ได้แก่ พวกปริพาชก
เหล่านั้นเป็นผู้นั่งนิ่ง ฯลฯ ไม่มีปฏิภาณ เหมือนถูกมารดลใจ ฉะนั้น.
ได้ยินว่า มารคิดว่า พระศาสดาแสดงกำลังพระพุทธเจ้าคุกคามเหลือเกิน
แสดงธรรมแก่ปริพาชกเหล่านี้ น่าจะมีการตรัสรู้ธรรมบ้างในบางคราว
เอาเถอะ เราจะดลใจ ดังนี้. มารจึงดลจิตของปริพาชกเหล่านั้น. จริง
อยู่ จิตที่ยังละวิปลาสไม่ได้ จึงถูกมารกระทำตามความปรารถนา.
แม้ปริพาชกเหล่านั้นถูกมารดลใจแล้ว ก็นั่งนิ่งไม่มีปฏิภาณ เหมือน
มีอวัยวะทุกส่วนแข็งกระด้าง ฉะนั้น. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงรำพึงว่า
ปริพาชกเหล่านี้นั่งเงียบเสียงเหลือเกิน มีเหตุอะไรหนอแล ดังนี้จึง
ได้ทราบว่า พวกปริพาชกถูกมารดลใจ. ก็ถ้าเหตุแห่งการบรรลุมรรค
และผลของปริพาชกเหล่านั้นพึงมี พระผู้มีพระภาคเจ้าก็พึงห้ามมารแล้ว
แสดงธรรม แต่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงรู้แล้ว เหตุแห่งมรรคผลไม่มี
แก่ปริพาชกเหล่านั้น ปริพาชกทั้งหมดนี้เป็นคนเปล่า เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระ
ดำริว่า ปริพาชกทั้งหมดเหล่านี้เป็นโมฆบุรุษ.
ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผุฏฺฐา ปาปิมตา ได้แก่ ถูกมาร
มีมีบาปใจแล้ว. บทว่า ยตฺร หิ นาม แปลว่า ในปริพาชกเหล่าใด.
บทว่า อญฺญาณตฺถมฺปิ คือ เพื่อความรู้. บทว่า กึ กริสฺสติ สตฺตาโห

ได้แก่ เจ็ดวันที่พระสมณโคดมกำหนัดไว้แล้ว จักทำอะไรแก่พวกเราได้.
พวกปริพาชกได้กล่าวว่า พระสมณโคดมตรัสว่า นิโครธปริพาชกจัก
ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งของตนตลอดหนึ่งสัปดาห์ หนึ่งสัปดาห์นั้นจะทำ
ความไม่ผาสุกอะไรแก่เขา เอาเถอะ พวกเราจะประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อความรู้ว่า ในภายในหนึ่งสัปดาห์ พวกเราจะสามารถทำให้แจ้งธรรม
นั้นได้หรือไม่. อีกนัยหนึ่ง ในข้อนี้ มีอธิบายว่า ปริพาชกเหล่านั้นไม่ได้
เกิดความคิด เพื่อจะรู้สักครั้งเดียวว่า ในวันหนึ่งพวกเราจักรู้ธรรมของ
พระองค์เลย ก็หนึ่งสัปดาห์จัดทำอะไรแก่ปริพาชกผู้เกียจคร้านเหล่านั้น
ได้ ปริหาชกเหล่านั้น จักบำเพ็ญตลอดสัปดาห์ได้อย่างไร.
บทว่า สีหนาทํ คือบันลือแล้ว บันลือแบบไม่กลัวใคร
เป็นการทำลายวาทะผู้อื่น และเป็นการประกาศวาทะของตน. บทว่า
ปจฺจุฏฺฐาสิ คือดำรงอยู่แล้ว. บทว่า ตาวเทว แปลว่า ในขณะนั้น
นั่นเอง. บทว่า ราชคหํ ปาวิสิ ได้แก่ เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์
ก็จริง ถึงอย่างนั้น จัดเป็นปัจจัยเพื่อเป็นวาสนาแก่ประพาชกเหล่านั้น
ต่อไป. คำที่เหลือทุก ๆ บท ชัดเจนแล้วทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาอุทุมพริกสูตร
จบ สูตรที่ 2

3. จักกวัตติสูตร



เรื่อง พระเจ้าจักรพรรดิทัฬหเนมิ



[33] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค
เจ้าประทับอยู่ ณ เมืองมาตุลาในแคว้นมคธ. ณ ที่นั้นแล พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงมิตนเป็นเกาะ มีตน
เป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มิธรรมเป็นที่พึ่ง
อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีตนเป็นเกาะ
มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเป็นอย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นจิตใน
จิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสียได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรม