เมนู

ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เรามีชื่อ
อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวย-
สุขเสวยทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว
ได้มาบังเกิดในภพนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ ในการก่อนได้
หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.
ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ สัตว์ทั้งหลายที่มีชาติอันไม่อาจนับได้ด้วย
วิธีคำนวณ หรือวิธีนับ ก็ยังมีอยู่ มีภพซึ่งเป็นที่ ๆ เขาเคยอาศัย อยู่
คือรูปภพ อรูปภาพ สัญญีภพ เนวสัญญีนาสัญญีภพ ก็ยังมี ย่อมตาม
ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ
พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการฉะนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นธรรมที่
เยี่ยมในฝ่ายบุพเพนิวาสานุสติญาณ.

ว่าด้วยจตูปปาตญาณ



[89] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรม
ที่เยี่ยม คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมในฝ่ายรู้จุติและอุบัติของ
สัตว์ทั้งหลาย. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลก
นี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความ
ประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้ว
บรรลุเจโตสมาธิที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว เขาย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลัง
อุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดีตกยาก ด้วย
ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไป
ตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาติ นรก ส่วน

สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน
พระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้.
เขาย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี
มีผิวพรรณทราม ได้ดีตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ
ของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการ
ฉะนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นธรรมที่เยี่ยมในฝ่ายรู้จุติและอุบัติ
ของสัตว์ทั้งหลาย.

ว่าด้วยอิทธิวิธี 2



[90] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรม
ที่เยี่ยม คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมในฝ่ายอิทธิวิธี. อิทธิ
วิธี 2 อย่าง นี้ คือ
(1) ฤทธิ์ที่ประกอบด้วยอาสวะ ประกอบด้วยอุปธิ ไม่เรียก
ว่าเป็นของพระอริยะ มีอยู่.
(2) ฤทธิ์ที่ปราศจากอาสวะ ปราศจากอุปธิ เรียกว่าเป็นของ
พระอริยะมีอยู่.
1. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฤทธิ์ที่ประกอบด้วยอาสวะ ประ-
กอบด้วยอุปธิ ที่ไม่เรียกว่าเป็นของพระอริยะนั้น เป็นไฉน. คือ
สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส
อาศัยความเพียงที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนือง ๆ อาศัยความ
ไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เมื่อจิต
ตั้งมั่นแล้ว เขาได้บรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือคนเดียวเป็นหลาย
คนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไป