เมนู

เทวดาทั้งหลายแล้ว จึงดักใจได้ว่า ใจของท่านอย่างนี้ ใจของท่าน
เป็นอย่างนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้. เขาดักใจได้มากอย่างทีเดียว
ว่า เรื่องนั้นต้องเป็นเหมือนอย่างนั้นแน่นอน เป็นอย่างอื่นไปไม่
ได้. นี้วิธีแห่งการดักใจคน ข้อที่ 2.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง คนบางคนในโลกนี้
มิได้ดักใจได้ด้วยนิมิต ทั้งมิได้ฟังเสียงของมนุษย์หรืออมนุษย์ หรือ
เทวดาทั้งหลายดักใจได้เลย ต่อได้ฟังเสียงละเมอของผู้วิตกวิจาร จึง
ดักใจได้ว่า ใจของท่านอย่างนี้ ใจของท่านเป็นอย่างนี้ จิตของท่าน
เป็นดังนี้. เขาดักใจได้มากอย่างทีเดียวว่า เรื่องนั้นต้องเป็นเหมือน
อย่างนั้นแน่นอน เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้. นี้วิธีแห่งการดักใจคน
ข้อที่ 3.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง คนบางคนในโลกนี้
มีได้ดักใจได้ด้วยนิมิต มิได้ฟังเสียงของมนุษย์หรืออมนุษย์ หรือ
เทวดาทั้งหลายดักใจได้เลย ทั้งมิได้ฟังเสียงละเมอของผู้วิตกวิจาร
ดักใจได้เลย แต่ย่อมกำหนดรู้ใจของผู้ได้สมาธิ ซึ่งยังมีวิตกวิจารด้วย
ใจได้ว่า มโนสังขารของท่านผู้นี้ตั้งอยู่ด้วยประการใด เขาจะต้องตรึก
ถึงวิตกชื่อนี้ ในลำดับจิตนี้ ด้วยประการนั้น เขาดักใจได้มากอย่าง
ทีเดียวว่า เรื่องนั้นต้องเป็นเหมือนอย่างนั้นแน่นอน เป็นอย่างอื่น
ไปไม่ได้. นี้วิธีการดักใจคนข้อที่ 4.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้ก็เป็นข้อธรรมที่เยี่ยม ในวิธีการ
ดักใจคน.

ว่าด้วยทัศนสมาบัติ



[79] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อ

ธรรมที่เยี่ยม คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมในทัศนสมาบัติ.
ทัศนสมาบัติ 4 อย่างเหล่านี้ คือ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้
อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัย
ความประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดย
ชอบแล้ว ได้บรรลุเจโตสมาธิที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมพิจารณากายนี้
แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังห่อหุ้มโดยรอบ
เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ คือ ผม
ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ
ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำดี
เสลด น้ำเหลือ เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก
ไขข้อ มูตร นี้ทัศนสมาบัติข้อที่ 1.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์
บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียร
ที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัย
มนสิการโดยชอบ แล้วได้บรรลุเจโตสมาธิที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อม
พิจารณากายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนัง-
ห่อหุ้มโดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า มีอยู่
ในกายนี้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก
ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหาร
เก่า น้ำดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว
น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร เธอพิจารณาเห็นกระดูก ก้าวล่วงผิวหนัง
เนื้อและเลือดของบุรุษเสีย นี้ทัศนสมาบัติข้อที่ 2.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคน
ในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งม่น
อาศัยความประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดย
ชอบ แล้วได้บรรลุเจโตสมาธิ ที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้
แหละแต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังห่อหุ้มโดยรอบ เต็มไป
ด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ คือผม ขน เล็บ ฟัน
หนัง เนื้อเอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังพืด ไต ปอด ไส้-
ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ
มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร เธอพิจารณาเห็น
กระดูก ก้าวล่วงผิวหนังเนื้อและเลือดของบุรุษเสีย และย่อมรู้กระแส
วิญญาณของบุรุษซึ่งกำหนดแล้วโดยส่วนสอง คือทั้งที่ตั้งอยู่ในโลกนี้ ทั้งที่
ตั้งอยู่ในปรโลกได้ นี้ทัศนสมาบัติข้อที่ 3
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคน
ในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัย
ความประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ
แล้วได้บรรลุเจโตสมาธิที่ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ
แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังห่อหุ้มโดยรอบ เต็มไปด้วย
ของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน
หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด
ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำดี เสลด น้ำเหลือง เลือด
เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร เธอย่อมพิจารณา
เห็นกระดูก ก้าวล่วงผิวหนังเนื้อเละเลือดของบุรุษเสีย และย่อมรู้กระแสวิญ-
ญาณของบุรุษซึ่งกำหนดแล้วโดยส่วนสอง คือทั้งที่ไม่ตั้งมั่นอยู่ในโลกนี้ ทั้งที่

ไม่ตั้งอยู่ในปรโลกได้ นี้ทัศนสมาบัติข้อที่ 4. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็น
ธรรมที่เยี่ยมในทัศนสมาบัติ.

ว่าด้วยบุคคล 7 โพชฌงค์ 7 ปฏิปทา 4



[80] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่
เยี่ยม คือ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในฝ่ายบุคคลบัญญัติ. บุคคล 7
พวก เหล่านี้คือ อุภโตภาควิมุต 1 ปัญญาวิมุต 1 กายสักขิ 1 ทิฏฐิ-
ปัตตะ 1 สัทธาวิมุต 1 ธรรมาสุสารี 1 สัทธานุสารี 1. ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ นี้เป็นธรรมที่เยี่ยม ในฝ่ายบุคคลบัญญัติ.
[81] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อธรรม
ที่เยี่ยม คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมในฝ่ายธรรมเป็นที่ตั้งมั่น.
โพชฌงค์ 7 เหล่านี้ คือ สติสัมโพชฌงค์ 1 ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ 1
วิริยสัมโพชฌงค์ 1 ปิติสัมโพชฌงค์ 1 ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ 1 สมาธิ-
สัมโพชฌงค์ 1 อุเบกขาสัมโพชฌงค์ 1 ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็น
ธรรมที่เยี่ยมในฝ่ายธรรมที่ตั้งมั่น.
[82] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่
เยี่ยม คือ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในฝ่ายปฏิปทา. ปฏิปทา 4
เหล่านี้ คือ
1. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิปทาที่ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้
ได้ข้า
2. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิปทาที่ปฏิบัติลำบาก แต่
รู้ได้เร็ว
3. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิปทาที่ปฏิบัติได้สะดวก แต่
รู้ได้ช้า