เมนู

อื่น ชื่อว่ารักษาตนไว้ได้อย่างไรเล่า ? บุคคลเมื่อรักษาผู้อื่น ชื่อว่า
รักษาตนไว้ได้ด้วยขันติ ด้วยความไม่เบียดเบียน ด้วยความมีเมตตา
จิต และด้วยมีความเอ็นดู. การป้องกันวัตถุ มีผ้านุ่งผ้าห่มและเรือนเป็น
ต้น ชื่อว่า อาวรณะการป้องกัน. การคุ้มครองเพื่อห้ามอุปัทวันตรายมีโจร
เป็นต้น ชื่อว่า คุตฺติ การคุ้มครอง. อธิบายว่า ท่านจงจัดแจงกิจการทั้ง
หมดนั้น คือให้เป็นไป ให้ดำรงอยู่ด้วยดี. บัดนี้ เมื่อทรงแสดงสิ่งที่พึง
จัดการรักษาป้องกันคุ้มครอง ฤาษีจึงกล่าวว่า อนฺโตลนสฺมึ เป็นต้น
ความย่อในคำนั้นมีดังต่อไปนี้.-

วัตรของพระเจ้าจักรพรรดิ์



เจ้าจงยังบุตรและภรรยา กล่าวคือชนภายในของเจ้า ให้ตั้งอยู่
ในศีลสังวร จงให้วัตถุมีผ้าดอกไม้และของหอมเป็นต้น แก่พวกบุตร
และภรรยานั้น และจงป้องกันอุปัทวะทั้งหมดให้แก่เขา. แม้ในเหล่า
ทหารเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่มีข้อแตกต่างกันดังนี้. เหล่าทหารอัน
พระราชาควรสงเคราะห์ด้วยการเพิ่มบำเหน็จรางวัลให้ ไม่ให้ล่วงเลยกาล
เวลา. กษัตริย์ผู้ได้รับการอภิเษก ควรสงเคราะห์ด้วยการให้รัตนะมีม้า
อาชาไนยอันสง่างามเป็นต้น. กษัตริย์ที่เป็นประเทศราช ควรให้ยินดี
แม้ด้วยการมอบให้ยานพาหนะอันสมควรแก่ความเป็นกษัตริย์นั้น. พราหมณ์
ทั้งหลายควรให้ยินดีด้วยไทยธรรมมีข้าวน้ำและผ้าเป็นต้น.
พวกคฤหบดี ควรสงเคราะห์ ด้วยการให้พันธุ์ ข้าว ไถ ผาล
และโคงานเป็นต้น. ผู้อยู่ในนิคม ชื่อ เนคมะ (ชาวนิคม) และผู้อยู่

ในชนบท ชื่อว่า ชนปทา (พวกชาวชนบท) ก็เหมือนกัน (คือควร
สงเคราะห์ ด้วยการให้พันธุ์ข้าว ไถ ผาลและโคงานเป็นต้น).
พวกสมณพราหมณ์ ผู้มีบาปสงบ มีบาปลอยเสียแล้ว ควรสัก-
การะ ด้วยการถวายบริขารสำหรับสมณพราหมณ์. หมู่เนื้อและนก
ควรให้โปร่งใจเสียได้ด้วยการให้อภัย. บทว่า วิชิเต คือในถิ่นฐานที่
อยู่ในอำนาจปกครองของตน. บทว่า อธมฺมกาโร คือการกระทำที่ไม่
ชอบธรรม. บทว่า มา ปวตฺติตฺถ อธิบายว่า จงยังการกระทำอันเป็น
อธรรมนั้น ไม่ให้เป็นไป.
บทว่า สมณพฺราหฺมณา ได้แก่ผู้มีบาปสงบ คือมีบาปลอยเสีย
แล้ว. บทว่า มทปฺปมาทา ปฏิวิรตา คือ งดเว้นจากความเมาด้วยอำนาจ
มานะ 9 อย่าง และจากความประมาท กล่าวคือการปล่อยจิตไปในกาม-
คุณ 5. บทว่า ขนฺติโสรจฺเจ นิวิฏฺฐา ความว่า ดำรงอยู่ในอธิวาสน-
ขันติและในความเป็นผู้สงบเสงี่ยม. บทว่า เอกมตฺตานํ ความว่า สมณ-
พราหมณ์ทั้งหลายท่านกล่าวว่า ย่อมฝึกตน สงบ ระงับ ดับตนผู้เดียว
ด้วย การข่มกิเลสมีราคะเป็นต้นของตน. บทว่า กาเลน กาลํ คือทุกเวลา.
บทว่า อภินิวชฺเชยฺยาสิ ความว่า พึงเว้นเสียซึ่งอกุศล ซึ่ง
เปรียบเหมือนคูถ เหมือนยาพิษ ละเหมือนไฟด้วยดี. บทว่า สมาทาย
คือ พึงยึดถือ กุศล ซึ่งเปรียบเหมือนพวกดอกไม้ ที่มีกลิ่นหอม และ
เปรียบเหมือนน้ำอำมฤต แล้วปฏิบัติโดยชอบ. บัณฑิตตั้งอยู่ในกุศลธรรม
นี้ แล้วพึงนำวัตรมาปฏิบัติสม่ำเสมอ.
วัตรนั้นมี 10 ประการ อย่างนี้ คือ วัตรที่พึงปฏิบัติในหมู่
ทหารที่เป็นชนภายใน 1 ในพวกกษัตริย์ 1 ในกษัตริย์ประเทศ

ราช 1 ในพราหมณ์สละคฤหบดี 1 ในชาวนิคม และชาว
ชนบท 1 ในสมณพราหมณ์ 1 ในหมู่มฤคและเหล่าปักษา 1 การห้าม
การกระทำอันไม่เป็นธรรม 1 การมอบทรัพย์ให้แก่ผู้ไม่มีทรัพย์ 1 การ
เข้าไปหาสมณพราหมณ์แล้วถามปัญหา 1 แต่เมื่อถือเอาคฤหบดีและ
เหล่าปักษาชาติเป็นแผนกหนึ่งแล้วก็จะมี 12 อย่าง. บัณฑิตผู้ถือเอาคำที่
มิได้กล่าวไว้ในครั้งก่อน พึงทราบว่าวัตรมี 12 อย่าง โดยอาศัยการละ
ราคะที่ไม่เป็นธรรมและวิสมโลภ โลภะที่ไม่สม่ำเสมอเป็นต้น.
ข้อว่า อิทํ โข ตาต ตํ ดังนี้ ความว่า วัตร ทั้ง 10 อย่าง
และ 12 อย่างนี้ ชื่อว่า วัตรปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์ อันประเสริฐ.
บทว่า วตฺตมานสฺส คือบำเพ็ญให้บริบูรณ์. คำเป็นต้นว่า ตทหุโปสเถ
ได้กล่าวไว้แล้วในมหาสุทัสสนสูตร.
บทว่า สมเตน คือตามมติของตน. คำว่า สุทํ เป็นเพียงนิ-
บาต. บทว่า ปสาสติ คือ ปกครอง. มีคำกล่าวอธิบายไว้ว่า พระรา-
ชา ทรงสละราชวงศ์ดั้งเดิม ได้แก่ราชธรรม อันเป็นราชประเพณีเสีย
แล้ว ดำรงอยู่ในธรรมเพียงเป็นมติของตน ปกครองประเทศ. เมื่อ
เป็นเช่นนั้น พระราชาพระองค์นี้ จึงเป็นพระราชาองค์สุดท้าย ซึ่งเป็น
ผู้ตัดวงศ์ของพระเจ้าทัฬหเนมิ ประดุจผู้ให้เกิดความด่างพร้อยแก่วงศ์มฆ-
เทพฉะนั้น. บทว่า ปุพฺเพนาปรํ คือในกาลต่อมา ชาวประชาราษฎร์
ไม่รุ่งเรือง คือไม่เจริญ เหมือนกับกาลก่อน. ข้อว่า ยถา ตํ ปุพฺพกานํ
ความว่า ประชาราษฎร์ เจริญแล้วเป็นดุจเดียวกัน ทั้งในรัชกาลต้น
และรัชกาลหลังของพระราชาองค์ก่อน ๆ ฉันใด จะเจริญรุ่งเรืองฉัน
นั้นหามิได้ คือในที่ไหน ก็ว่างเปล่า ถูกโจรปล้นสดมภ์ อธิบายว่า แม้
โอชา ในน้ำมันน้ำผึ้งน้ำอ้อยเป็นต้น และในยาคูภัตรเป็นต้น ก็เสื่อม

ไป. สองบทว่า อมจฺจา ปาริสชฺชา คือเหล่าอำมาตย์ และผู้เที่ยวไป
ในบริษัท. บทว่า คณกมหามตฺตา ได้แก่เหล่าโหรผู้ชำนาญในปาฐะ
มีอัจฉินทิกะ ทำนายผ้าขาดเป็นต้น และเหล่าอำมาตย์ชั้นผู้ใหญ่. บทว่า
อนีกฏฺฐา คือพวกอาจารย์ทั้งหลายมีหัตถาจารย์เป็นต้น. บทว่า โทวา-
ริกา
คือผู้รักษาประตู. ปัญญาเรียกว่ามนต์ ในบทว่า มนฺตสฺสาชิวิโน.
อำมาตย์ผู้ใหญ่เหล่าใด กระทำปัญญานั้นให้เป็นเครื่องอาศัยเป็นอยู่ อำ
มาตย์ผู้ใหญ่เหล่านั้น ชื่อว่าบัณฑิต คำว่า มนฺตสฺสาชิวิโน นั้นเป็น
ชื่อแห่งมหาอำมาตย์เหล่านั้น. บทว่า โน จ โข อธนานํ ความว่า แก่
มนุษย์ผู้ไร้ทรัพย์ คือ ผู้ยากจน เพราะตนมีความโลกรุนแรง. บทว่า
ธเน นานุปฺปทิยมาเน ความว่า อันเขาไม่มอบทรัพย์ให้. อีกอย่างหนึ่ง
บาลีก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน. บทว่า ทาลิทฺทิยํ แปลว่า ความเป็นผู้ยาก
จน. บทว่า อตฺตนา จ ชีวาหิ ความว่า จงเป็นอยู่ คือจงยังอัตภาพ
ให้เป็นไปเอง. บทว่า อุทฺธคฺคิกํ มีวิเคราะห์ว่า ผลของทักษิณนั้นไป
ในเบื้องบน ด้วยอำนาจให้ผล ในภูมิสูง ๆ ขึ้นไป เหตุนั้น ทักษิณานั้น
จึงชื่อว่ามีผลไปในเบื้องบน. ทักษิณาชื่อว่า โสวคฺคิกา เพราะเป็นประ
โยชน์เกื้อกูลต่อสวรรค์ เพราะให้อุบัติเกิดในสวรรค์นั้น. ทักษิณา ชื่อ
ว่ามีวิบากเป็นสุข เพราะมีวิบากเป็นสุข ในที่ที่ตนบังเกิดแล้ว. ทักษิณา
ชื่อว่าเป็นไปเพื่อสวรรค์ เพราะให้บังเกิดผลวิเศษ 10 อย่างมี วรรณะ
อันเป็นทิพย์เป็นต้นที่ล้ำเลิศด้วยดี. อธิบายว่า ท่านจงยังทักษิณาทานเห็น
ปานนี้ ให้ดำรงอยู่.
บทว่า ปวฑฺฒิสฺสติ คือ จักเจริญ คือ จักมีมาก. บทว่า
สุนิเสธํ นิเสเธยฺยํ ความว่า เราจะทำการห้าม คือพึงปฏิเสธเด็ดขาด.
บทว่า มูลฆจฺฉํ คือถอนราก. บทว่า ขุรสฺสเรน คือ มีเสียงหยาบ.
บทว่า ปณเวน คือ กลองพิฆาต.

บทว่า สิสานิ เนสํ ฉินฺทิสฺสามิ ความว่า โดยที่สุด พวก
เรานำ แม้เผือกมัน เพียงกำมือเดียวของผู้ใดไป เราจักตัดศีรษะของ
ผู้นั้นโดยประการที่ใคร ๆ จักไม่รู้แม้เรื่องที่เราฆ่า บัดนี้ ในที่นี้ จะมี
ประโยชน์อะไรแก่พวกเรา แม้พระราชา เสด็จลุกขึ้นอย่างนั้นแล้ว รับ
สั่งให้ฆ่าบุคคลอื่น. พึงทราบอธิบาย แห่งคำเหล่านั้น ดังกล่าวมานี้.
บทว่า อุปกฺกมึสุ คือ เริ่มแล้ว. บทว่า ปนฺถทูหนํ ความว่า ดัก
ปล้นคนเดินทาง. คำว่า น หิ เทว ความว่า เล่ากันว่า บุรุษนั้นคิดว่า พระ
ราชานี้รับสั่งให้ประหารตามที่ให้การสารภาพว่า จริงพระเจ้าข้า เอาเถิด
เราจะให้การเท็จ ดังนี้แล้ว เพราะกลัวตายจึงทูลว่า ไม่จริงพระเจ้าข้า.
คำว่า อิทํ ในคำว่า เอกีทํ นี้เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า สัตว์พวก
หนึ่ง. บทว่า จาริตฺตํ ได้แก่ความประพฤติผิด. บทว่า อภิชฺฌาพฺยา-
ปาทา
ได้แก่ อภิชฌาและพยาบาท.
บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิ ได้แก่ ทิฏฐิที่เป็นข้าศึก มีอันคคาหิกทิฎฐิ
มีอาทิว่า "ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล" ดังนี้. บทว่า อธมฺมราโค
ได้แก่ ความกำหนัดในฐานะอันไม่สมควร เป็นต้นว่า มารดา 1 น้ำ
หญิง 1 บิดา 1 อาหญิง 1 ป้า 1. บทว่า วิสมโลโภ
ได้แก่ ความโลภที่รุนแรงในฐานะแม้ที่ควรบริโภค. บทว่า มิจฺฉาธมฺ-
โม
ความว่า ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจระหว่างชายกับชาย
หญิงกับหญิง. ในบทว่า อมตฺเตยฺยตา เป็นต้น มีวิเคราะห์ว่า ผู้
เกื้อกูลมารดา ชื่อมัตเตยยะ ภาวะแห่งมัตเตยยะนั้นชื่อ มัตเตยยตา.
คำว่า มตฺเตยฺยตา นั้น เป็นชื่อแห่งการปฏิบัติชอบในมารดา ความ
ไม่มีแห่งมัตเตยยตานั้น สละความเป็นปฎิปักษ์ต่อมัตเตยยตานั้น ชื่อว่า
อมตฺเตยฺยตา. แม้ใน อเปตฺเตยฺยตา เป็นต้น ก็นัยนี้นั่นเอง.

บทว่า น กุเลเชฏฺฐาปจายิตา ความว่า ภาวะคือการไม่กระ
ทำ ความยำเกรง คือการประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้เจริญในตระกูล.
บทว่า ยํ อิเมสํ คือ ในสมัยใด แห่งมนุษย์เหล่านี้. บทว่า
อลํปเตยฺย ความว่า ควรให้แก่ผัว. บทว่า อิมานิ รสานิ ความว่า
รสเหล่านี้ เป็นรสที่เลิศในโลก. บทว่า อติพฺยาทีปิสฺสนฺติ ได้
แก่ จักรุ่งเรืองอย่างยิ่ง. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า
กุสลนฺติปิ น ภวิสฺสติ ความว่า แม้ชื่อนี้ "กุศล" ดังนี้ก็จักไม่มี.
อธิบายว่า แม้เพียงบัญญัติจักไม่ปรากฏ. บทว่า ปุชฺชา จ ภวิสฺสนฺติ
ปาสํสา
ความว่า จักเป็นผู้ควรบูชา และควรสรรเสริญ. เล่ากัน
ว่า ในสมัยนั้น พวกมนุษย์คิดกันว่า บุคคลชื่อโน้นประหารมารดา
ประหารบิดา ปลงชีวิตสมณพราหมณ์ น่าสังเวชหนอ บุรุษย่อมไม่ทราบ
แม้ความที่ผู้เจริญในตระกูลมีอยู่ ดังนี้แล้ว จักบูชาและจักสรรเสริญบุรุษนั้น
นั่นเอง. ข้อว่า น ภวิสฺสติ มาตาติ วา ความว่า จิตที่ประกอบด้วยความ
เคารพว่า " ผู้นี้เป็นมารดาของเรา จักไม่มีเลย. มนุษย์ทั้งหลายเมื่อกล่าว
ถ้อยคำอสัตบุรุษ ชนิดต่าง ๆ ดุจกล่าวกะมาตุคามในเรือน ก็จักเข้าไปหา
โดยอาการไม่เคารพ. แม้ในญาติทั้งหลาย มีน้าหญิงเป็นต้น ก็นัยนี้
เหมือนกัน. ก็ในคำว่า มาตุจฺฉา เป็นต้นนี้ คือน้องชื่อว่า มาตุจฺฉา ได้แก่
น้องสาวของแม่ ชื่อว่า มาตุลานี ได้แก่ภรรยาของลุง. ชื่อว่า อาจริยภริยา
ได้แก่ภรรยาของอาจารย์ ผู้ให้ศึกษาศิลปวิทยา. บทว่า ครูนํ ทารา ได้แก่
ภรรยาของญาติมีอาและลุงเป็นต้น. บทว่า สมฺเภทํ ความว่า ภาวะที่เจือ
ปน หรือว่า การทำลายประเพณี. บทว่า ติพฺโต อาฆาโต ปจฺจุปฏฺฐิโต
ภวิสฺสติ
ความว่า ความโกรธที่รุนแรงจักเกิดขึ้นเฉพาะ โดยที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ
สองบทหลัง ก็เป็นไวพจน์ของความโกรธนั้นทั้งนั้น. จริงอยู่ความโกรธ

ย่อมทำจิตให้ผูกอาฆาต เหตุนั้นจึงชื่อว่า อาฆาต. ความโกรธย่อมทำประ-
โยชน์เกื้อกูล และความสุขของตนและบุคคลอื่นให้เสียหาย เหตุนั้นจึงชื่อ
ว่า พยาบาท จะกล่าวว่า ความประทุษร้ายแห่งใจก็ได้ เพราะประทุษ
ร้ายใจ. บทว่า ติพฺพํ วธกจิตฺตํ ความว่า จิตคิดจะฆ่าเพื่อให้ผู้อื่นตาย
ย่อมมีได้แม้แก่มีใจรักใคร่กัน. เพื่อจะแสดงเรื่องแห่งจิตคิดจะฆ่ากันนั้น
จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า มาตุปิ ปุตฺตมฺหิ ดังนี้. บทว่า มาควิกสฺส ได้
แก่ พรานล่าเนื้อ.
บทว่า สตฺถนฺตรกปฺโป ความว่า กัปที่พินาศในระหว่างด้วย
ศาสตรา คือยังไม่ทันถึงสังวัฏฏกัป โลกก็พินาศเสียในระหว่าง. ก็ชื่อว่า
อันตรกัป นี้มี 3 อย่างคือ ทุพภิกขันตรกัป กัปที่โลกพินาศในระหว่าง
ด้วยทุพภิกขภัย 1 โรคันตรกัป กัปที่โลกพินาศในระหว่างด้วยโรค 1
สัตถันตรกัป กัปที่โลกพินาศในระหว่างด้วยศาสตรา 1. ในกัปเหล่านั้น
ทุพภิกขันตรกัป มีขึ้นได้แก่หมู่สัตว์ที่หนาด้วยความโลภ. โรคันตรกัป มี
ขึ้นได้แก้หมู่สัตว์ที่หนาด้วยความโมหะ. สันถันตรกัป มีขึ้นได้แก่หมู่สัตว์
ที่หนาด้วยโทสะ.
ในกัปเหล่านั้น เหล่าสัตว์ที่ฉิบหาย เพราะทุพภิกขันตรกัป ย่อม
เกิดขึ้นในปิตติวิสัยแห่งเปรตเสียโดยมาก. เพราะอะไร ? เพราะมีความ
อยากในอาหารเป็นกำลัง. เหล่าสัตว์ที่ฉิบหายเพราะโรคันตรกัป บังเกิด
ในสวรรค์โดยมาก. เพราะอะไร ? เพราะสัตว์เหล่านั้นเกิดเมตตาจิตขึ้นว่า
โอหนอ โรคเห็นปานนี้ไม่พึงมีแก่สัตว์เหล่าอื่น. เหล่าสัตว์ที่ฉิบหายเพราะ
สัตถันตรกัป ย่อมเกิดในนรกโดยมาก เพราะอะไร ? เพราะมีความอาฆาต
ต่อกันและกันอย่างรุนแรง. บทว่า มิคสญฺญํ ความว่า มนุษย์เกิดความ
สำคัญขึ้นว่า ผู้นี้ เป็นเนื้อ ผู้นี้เป็นเนื้อ. บทว่า ติณฺหานิ สตฺถานิ หตฺเถสุ

ปาตุภวิสฺสนฺติ ความว่า เล่ากันว่า สำหรับมนุษย์เหล่านั้น วัตถุอะไร ๆ
พอจะเอามือหยิบฉวยได้ โดยที่สุดตระทั่งใบหญ้าที่จะกลายเป็นอาวุธไป
เสียทั้งนั้น. ข้อว่า มา จ มยํ กญฺจิ ความว่า พวกเราอย่าปลงแม้บุรุษ
ผู้หนึ่งไร ๆ เสียจากชีวิตเลย. ข้อว่า มา จ อมฺเห โกจิ ความว่า บุรุษ
ผู้หนึ่งไร ๆ อย่าปลงแม้พวกเราเสียจากชีวิตเลย. คำว่า ยนฺนูน มยํ ความ
ว่า เหล่าสัตว์จักสำคัญคิดอย่างนี้ว่า ความพินาศแห่งโลกนี้ ปรากฏเฉพาะ
แล้ว อันเราทั้งหลายสองคนอยู่ในที่เดียวกันไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้. บทว่า
วนคหนํ ความว่า ที่รกชัฎด้วยพฤกษขาดมีพุ่มหญ้าและเถาวัลลิ์เป็นต้น
อันนับว่าป่า. บทว่า รุกขคหนํ คือ รกชัฎด้วยต้นไม้คือที่เข้าไปยาก.
บทว่า นทีวิทุคฺคํ คือที่ซึ่งไปลำบาก ในที่ซึ่งมีเกาะอยู่ระหว่างเป็นต้น
แห่งแม่น้ำทั้งหลาย. บทว่า ปพฺพตวิสมํ คือ ที่อันไม่สม่ำเสมอไปด้วยภู
เขาทั้งหลาย หรือว่า ที่อันขลุขละในภูเขาทั้งหลาย. บทว่า สภาคายิสฺสนฺติ
ความว่า เหล่าสัตว์จักทำคนเหล่านั้นให้เสมอกับตน ด้วยถ้อยคำที่ชวนให้
บันเทิงอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เราเป็นอยู่โดยประการใด สัตว์
ทั้งหลายท่านก็พบเห็นแล้ว แม้ท่านก็เป็นอยู่โดยประการนั้น. บทว่า อายตํ
คือ มาก. บทว่า ปาณาติปาตา วิรเมยฺยาม ความว่า พวกเราควรลด
ปาณาติบาตลงเสีย. อาจารย์บางพวกสวดว่า ปาณาติปาตํ วิรเมยฺยาม ก็
มี. ในคำนั้นมีอธิบายว่า พวกเราควรละปาณาติบาต. บทว่า วีสติวสฺสายุกา
ความว่า มารดาบิดางดเว้นจากปาณาติบาต เพราะเหตุใด บุตรทั้งหลายจึง
มีอายุเพียง 20 ปี. เพราะมีเขตบริสุทธิ์. แท้จริง มารดาบิดาแห่งบุตร
เหล่านั้น เป็นผู้มีศีล ดังนั้น พวกเขาจึงมีอายุยืน เพราะเขตบริสุทธิ์นี้
เหตุที่พวกบุตรเจริญในครรภ์ของผู้มีศีล. ก็สัตว์เหล่าใด ทำกาละเสียใน
ที่นี้ แล้วเกิดในที่นั้นนั่นเอง สัตว์เหล่านั้นมีอายุยืนด้วยสมบัติคือศีลของตน

เท่านั้น. บทว่า อสฺสาม แปลว่าพึงมี. บทว่า จตฺตาลีสวสฺสายุกา
ความว่า ส่วนที่เป็นเบื้องต้นบัณฑิตพึงทราบ ด้วยอำนาจบุคคลผู้เว้นขาด
จากอทินนาทานเป็นต้น.
บทว่า อิจฺฉา ความว่า ตัณหาซึ่งเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พวกท่านจงให้
อาหารแก่เรา. บทว่า อนสนํ ความว่า ไม่มีการกิน คือ ภาวะที่ไม่เบิก
บาน ได้แก่ ความเกียจคร้านทางกาย คือ ความประสงค์จะนอน เพราะ
ปัจจัยคือความเมาในอาหารของผู้บริโภคอาหาร. อธิบายว่า ภาวะที่กายมี
กำลังทราม เพราะการบริโภค. บทว่า ชรา ได้แก่ ความชราปรากฏ.
บทว่า กุกกุฏสมฺปาติกา มีวิเคราะห์ว่า ความตกพร้อมแห่งไก่ กล่าวคือ
การที่ไก่ตัวบินขึ้นจากหลังคา บ้านหนึ่งแล้วตก ลงบนหลังคา อีกบ้านหนึ่งมี
อยู่ในคามนิคมและราชธานีเหล่านี้ เหตุนั้นคามนิคมเละราชธานีเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นที่ระยะไก่บินตก. บาลีว่า สมฺปาทิกา ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า
ความถึงพร้อมแห่งไก่ กล่าวคือการเดินไปด้วยเท้าแห่งไก่จากระหว่างบ้าน
หนึ่งไปยังอีกระหว่างบ้านหนึ่งมีอยู่ในคามนิคมและราชธานีเหล่านี้. ท่าน
แสดงความที่สัตว์อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มนั่นแลแม้ทั้งสองนั้น. บทว่า อวีจิ
มญฺเญ ผุโฏ ภวิสฺสติ
ความว่า จักเต็มแน่นขนัดประดุจอเวจีมหานรก.
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งอายุ สัตว์ที่เจริญว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายในเวลามนุษย์มีอายุ 80,000 ปี พระผู้มีพระภาคเจ้า
นามว่า เมตตรัย จักอุบัติขึ้นในโลก. เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อม
ไม่บังเกิดในเวลาสัตว์ที่มีอายุเจริญแต่ย่อมเกิดในเวลาสัตว์มีอายุเสื่อม. อธิ-
บายว่า เพราะเหตุนั้นเวลาใด อายุนั้น เจริญแล้ว ถึงความเป็นอสงไขย
แล้ว กลับตกไปอีก จักตั้งอยู่ในกาลที่สัตว์มีอายุ 80,000 ปี ในกาลนั้น
พระพุทธเจ้าจักอุบัติขึ้น. ก็บทว่า ปริหริสฺสติ นี้ ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถ

แห่งสัตว์ที่เที่ยวแวดล้อมไป. บทว่า ยูโป ได้แก่ปราสาท. บทว่า รญฺญา
มหาปนาเทน การาปิโต ความว่า มีพระราชาผู้เป็นต้นเหตุ ท้าวสักกะ-
เทวราช จึงส่งพระวิษณุกรรมเทพบุตรไปให้สร้างปราสาท เพื่อประโยชน์
แก่พระราชาพระองค์นั้น.
เล่ากันว่า เมื่อก่อน บิดากับบุตรสองคน เป็นช่างสานช่วยกันเอา
ไม้อ้อและไม้มะเดื่อสร้างบรรณศาลาถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วนิมนต์
ให้ท่านอยู่ในที่นั้นบำรุงด้วยปัจจัย 4. ครั้นทำกาละแล้วก็บังเกิดในเทว-
โลก. ในสองบิดาและบุตรนั้น บิดายังอยู่ในเทวโลกนั่นเอง. บุตรจุติ
จากเทวโลกแล้วบังเกิดในพระครรภ์ของพระนางสุเมธาเป็นเทวีของพระ-
เจ้าสุรุจิต เป็นพระราชกุมารพระนามว่ามหาปนาทะ. ภายหลัง ท้าวเธอ
รับสั่งให้ยกฉัตร ได้เป็นพระราชานามว่ามหาปนาทะ. ลำดับนั้น ด้วย
บุญญานุภาพของท้าวเธอ ท้าวสักกะเทวราช จึงส่งพระวิษณุกรรมเทพบุตร
ให้ไปสร้างปราสาทถวายพระราชา. พระวิษณุกรรมเทพบุตรนั้นเนรมิต
ปราสาทถวายท้าวเธอสูงถึง 25 โยชน์ 7 ชั้น ล้วนแล้วด้วยรัตนะทั้ง 7
ประการ ซึ่งท่านหมายเอากล่าวไว้ในชาดกว่า
พระราชาพระนามว่าปนาทะ มีปราสาทล้วนแล้ว
ด้วยทอง กว้าง 16 ชั่วลูกธนู ชนทั้งหลายกล่าวส่วน
สูงถึงพันชั่วธนู ปราสาทนั้น 7 ชั้น สูงพันชั่วลูกธนู
สะพรั่งไปด้วยธง แพรวพราวไปด้วยแก้วสีเขียว นัก
ฟ้อน 6 พัน แบ่งเป็น 7 พวก ได้ฟ้อนอยู่ในปราสาท
นั้น ดูก่อนภัททชิเศรษฐี ท่านกล่าวไว้ โดยประการใด
เหตุนั้นได้มีในกาลนั้น โดยประการนั้น ครั้งนั้นเราได้
เป็นท้าวสักกะ ผู้ทำการขวนขวายให้แก่ท่าน ดังนี้.

พระราชานั้น ประทับอยู่ที่ปราสาทนั้นตลอดพระชนมายุสวรรคต
แล้ว บังเกิดในเทวโลก. เมื่อท้าวเธอบังเกิดในเทวโลก ปราสาทนั้นก็จม
ลงในกระแสแม่น้ำมหาคงคา. พระนครชื่อปยาคะประดิษฐ์ เป็นอันเทวดา
นิรมิตแล้ว ณ ที่ใกล้เคียงหัวบันไดของปราสาทนั้น. บ้านชื่อโกฎิคาม
มีในที่ตรงกับยอดปราสาทพอดี.
ภายหลังต่อมา ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา เทพบุตรช่าง
สานนั้น จุติจากเทวโลก เป็นเศรษฐีชื่อภัททชิ ในถิ่นมนุษย์ บวชในสำ-
นักพระศาสดา บรรลุพระอรหัตแล้ว. พึงให้เรื่องพิสดารด้วยคำว่า "ท่าน
นั้นแสดงปราสาทนั้นแก่หมู่ภิกษุ ในวันที่เอาเรือข้ามแม่น้ำคงคา". ถาม
ว่า ก็เพราะเหตุใดปราสาทนี้จึงไม่อันตรธานไป แก้ว่า เพราะอานุภาพ
บุญเทพบุตรนอกจากนี้. กุลบุตรผู้ทำบุญร่วมกับท่านบังเกิดในเทวโลก ใน
อนาคต จักเป็นพระราชานามว่า สังขะ ปราสาทนั้นจักตั้งขึ้น สำหรับให้
พระราชานั้นใช้สอย เพราะเหตุนั้น ปราสาทจึงไม่อันตรธานไปแล้ว.
บทว่า อุสฺสาเปตฺวา ความว่า ให้ปราสาทนั้นตั้งขึ้น. บทว่า
อชฺฌาวสิตฺวา ได้แก่ ประทับอยู่ ณ ที่นั้น. บทว่า ตํ ทตฺวา วิสชฺชิตฺวา
ความว่า ให้ปราสาทนั้นด้วยอำนาจทานและสละด้วยอำนาจการบริจาค
โดยไม่เพ่ง (ผลตอบแทน). ถามว่า ถวายปราสาทอย่างนั้นแก่ใคร. แก้
ว่า แก่เหล่าสมณะเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้ว่า "ให้
ทานแก่สมณพราหมณ์คนกำพร้าคนเดินทางวณิพกยาจก". ถามว่า ก็พระ
ราชา (พระภัททชิ) นั้น จักแสดงปราสาทหลังหนึ่ง แก่ภิกษุเป็นอันมาก
อย่างไร ? แก้ว่า นัยว่า จิตของท่านจักเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ปราสาทนี้ จง
กระจัดกระจาย. ปราสาทนั้นจักกระจัดกระจายเป็นท่อนเล็กท่อนน้อย. ท้าว
เธอไม่มีจิตข้อเกี่ยวปราสาทนั้นเลย จักสละด้วยอำนาจทาน ด้วยพระดำรัส

ว่าผู้ใดปรารถนาจำนวนเท่าใด ผู้นั้นจงถือเอาจำนวนเท่านั้น ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ทานํ ทตฺวา เมตฺเตยฺยสฺส ภควโต ฯเปฯ วิหริสฺสติ
ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนุสนธิสืบต่อแห่งวัฏฏคามีกุศล ด้วย
พระดำรัสมีประมาณเท่านี้.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความสืบต่อแห่งวัฏฏคามีกุศล จึงตรัสคำว่า
อตฺตทีปา ภิกฺขเว วิหรถ เป็นต้นไว้อีก. ข้อว่า อิทํโข ภิกฺขเว
ภิกฺขุโน อายุสฺมึ
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราได้กล่าวคำใดไว้กะเธอว่า "เธอทั้งหลายจักเจริญด้วยอายุบ้าง"
คำนี้ย่อมมีในอายุของภิกษุนั้น คือ คำนี้เป็นเหตุแห่งอายุ. เพราะฉะนั้น
พวกเธอเมื่อต้องการให้อายุเจริญ ต้องเจริญอิทธิบาท 4 อย่างเหล่านี้. บท
ว่า วณฺณสฺมึ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เราได้กล่าวคำ
ใดไว้กับเธอว่า พวกเธอจักเจริญด้วยวรรณะบ้าง นี้เป็นเหตุ (เจริญ)
วรรณะในวรรณะนั้น ด้วยว่าวรรณะแห่งสรีระของผู้มีศีล ย่อมเจริญด้วย
อำนาจความไม่เดือดร้อนเป็นต้น แม้วรรณะคือคุณก็เจริญด้วยอำนาจชื่อ
เสียง เพราะฉะนั้น พวกเธอเมื่อต้องการให้วรรณะเจริญต้องมีศีลบริบูรณ์.
บทว่า สุขสฺมึ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เราได้
กล่าวคำใดไว้กับพวกเธอว่า พวกเธอจักเจริญด้วยความสุขบ้างดังนี้ คำ
นี้ย่อมมีความสุขที่เกิดจากฌานมีประการต่าง ๆ มีปีติแลสุขเกิดจากวิเวก
ในความสุขนั้น คือ เป็นต้น เพราะเหตุนั้น พวกเธอเมื่อต้องการให้เจริญ
ด้วยความสุข ต้องเจริญฌาน 4 อย่างเหล่านี้. บทว่า โภคสฺมึ ความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เราได้กล่าวคำใดไว้กับพวกเธอว่า พวก
เธอจักเจริญด้วยโภคะบ้าง ดังนี้ นี้คือโภคะได้แก่พรหมวิหารที่พึงแผ่ได้ทั่ว
ทิศอันนำซึ่งความเป็นผู้ไม่เกลียดชังเหล่าสัตว์ที่หาประมาณมิได้ มีอานิสงส์

11 ประการเช่นนอนเป็นสุขเป็นต้น เพราะฉะนั้นพวกเธอเมื่อต้องการให้
โภคะเจริญ ต้องเจริญพรหมวิหารเหล่านี้. บทว่า พลสฺมึ ความว่า พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เราได้กล่าวคำใดไว้กับพวกเธอว่า พวก
เธอจักเจริญด้วยกำลังบ้างดังนี้ คำนี้คือกำลังกล่าวคืออรหัตผล ซึ่งเกิด
ขึ้นในที่สุดแห่งความสิ้นไปแห่งอาสวะ เพราะเหตุนั้น พวกเธอเมื่อต้องการ
จะให้กำลังเจริญ ต้องทำความพากเพียรเพื่อการบรรลุถึงพระอรหัต. บท
ว่า ยถยิทํ ภิกฺขเว มารพลํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า
เราย่อมไม่พิจารณาเห็นแม้กำลังอันเป็นเอกในโลกอย่างอื่น ที่ข่มยาก กำ-
จัดยาก เหมือนกำลังของเทวบุตรมารมัจจุมารกิเลสมารนี้เลย อรหัตตผล
นี้เท่านั้น ย่อมข่ม ครอบงำ ท่วมทับกำลังแม้นั้นได้ เพราะเหตุนั้น พวก
เธอควรทำความพากเพียรในพระอรหัตนี้เท่านั้น. ข้อว่า เอวมิทํ ปุญฺญํ
ความว่า แม้บุญที่เป็นโลกุตตระนี้ ย่อมเจริญจนตราบสิ้นอาสวะ. พระผู้มี
พระภาคเจ้าเมื่อยังอนุสนธิสืบต่อแห่งวัฏฏคามีกุศลให้จบลง จึงยังเทศนา
ให้จบลงด้วยยอดคือพระอรหัต. ในเวลาจบพระสูตร ภิกษุ 20,000 รูป
บรรลุพระอรหัต สัตว์ 84,000 ได้ดื่มน้ำอมฤตแล้ว แล.

จบอรรถกถาจักกวัตติสูตร ที่ 3

4. อัคคัญญสูตร



เรื่อง วาเสฏฐะภารทวาชะ



[51] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปราสาทของนาง
วิสาขามิคารมารดา ในบุพพารามกรุงสาวัตถี. ก็โดยสมัยนั้นแล วาเสฏฐ-
สามเณรสละภารทวาชสามเณร หวังความเป็นภิกษุ จึงอยู่ประจำในสำนัก
ของภิกษุ. ลำดับนั้นในเวลาเย็นวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออก
จากที่เร้นแล้ว ได้เสด็จลงจากปราสาท ทรงจงกรมอยู่ในที่กลางแจ้ง
ที่ร่มเงาปราสาท. วาเสฏฐสามเณรได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจาก
ที่เร้นลงจากปราสาทแล้ว เสด็จจงกรมอยู่กลางแจ้งที่ร่มเงาปราสาทในเย็น
วันหนึ่ง ครั้นเห็นแล้ว จึงเรียกภารทวาชสามเณรมากล่าวว่า ภารทวาชะ
ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เสด็จออกจากที่เร้นลงจากปราสาท ภารทวาชะ
จงกรมอยู่ที่กลางแจ้งที่ร่มเงาของปราสาทในเวลาเย็น ภารทวาชะผู้อาวุโส
เรามาไปกัน เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจนถึงที่ประทับ เราพึงได้
เพื่อจะฟังธรรมีกถา ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้.
ภารทวาชสามเณรก็รับคำของวาเสฏฐสามเณรว่า ตกลงท่านผู้มีอายุ.
ครั้งนั้นแล วาเสฏฐสามเณรและภารทวาชสามเณรจึงพากันเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าจนถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ได้ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้เดินจงกรมตามพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งกำลังเสด็จ
จงกรมอยู่ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกวาเสฏฐสามเณรมา
แล้วตรัสว่า ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เธอทั้งหลายแล มีชาติเป็น
พราหมณ์มีตระกูลเป็นพราหมณ์ ออกบวชจากตระกูลของพราหมณ์ ดูก่อน