เมนู

ก็พึงตั้งอยู่ได้ถึงกัป 1 หรือเกินกว่ากัป 1. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็น
อธิบายในเรื่องอายุของภิกษุ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องวรรณะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวัง
ในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทละโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษ
เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทที่หลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้แล เป็นอธิบายในเรื่องวรรณะของภิกษุ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องสุขของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร. ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก
อยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุด
ขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิด
แต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้
ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขา
เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่อง
สุขของภิกษุ.

ว่าด้วยธรรมที่ทำให้อายุเป็นต้นเจริญ



ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องโภคะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีจิตประกอบด้วยเมตตา
แผ่ไปตลอดทิศ 1 อยู่ ทิศที่ 2 ทิศที่ 3 ทิศที่ 4 ก็เหมือนกัน ตาม
นัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยเมตตาอัน

ไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียด
เบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน. มีจิตประกอบ
ด้วยกรุณา...มุทิตา...อุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศ 1 อยู่ ทิศที่ 2 ทิศที่ 3
ทิศที่ 4 ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วย
จิตประด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้
ไม่มีเวรไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่
ทุกสถาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องโภคะของภิกษุ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องพละของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ
และปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน
ยิ่งด้วยตนเอง ในทิฏฐธรรมเทียว เข้าถึงอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล
เป็นคำอธิบายในเรื่องพละของภิกษุ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นแม้กำลังสักอย่างหนึ่งอื่น อัน
ข่มได้แสนยาก เหมือนกำลังของมารนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญนี้จะ
เจริญขึ้นได้อย่างนี้ เพราะเหตุถือมั่นกุศลธรรมทั้งหลาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. ภิกษุเหล่านั้น
ยินดีชื่นชม พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ดังนี้แล.

จบจักกวัตติสูตรที่ 3

อรรถกถาจักกวัตติสูตร



จักกวัตติสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังแล้วอย่างนี้. ในพระสูตร
นั้น มีการพรรณาบทที่ยากดังต่อไปนี้.
บทว่า มาตุลายํ ได้แก่ ในพระนครที่มีชื่ออย่างนั้น. พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงพระนครนั้นให้เป็นโคจรคาม ประทับอยู่ ณ ไพร-
สณฑ์ไม่ไกล. ในคำว่า ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ นี้มีอนุ-
ปุพพิกถาดังต่อไปนี้.
เล่ากันว่า ในสมัยที่พระสูตรนี้เกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าออก
จากมหากรุณาสมาบัติ ในเวลาย่ำรุ่ง ทรงตรวจดูสัตว์โลก ทอดพระเนตร
เห็นการตรัสรู้ธรรมของเหล่าสัตว์ 84,000 ผู้อยู่ในมาตุลนคร ด้วยการ
กล่าวพระสูตร อันแสดงถึงอนาคตวงศ์นี้ จึงพร้อมด้วยภิกษุ 20,000 รูป
เสด็จไปยังมาตุลนครแต่เช้าตรู่. เจ้ามาตุลนคร ตรัสว่า "ข่าวว่าพระผู้มี
พระภาคเจ้าเสด็จมา" จึงต้อนรับนิมนต์พระทศพลให้เสด็จเข้าสู่พระนคร
ด้วยเครื่องสักการะเป็นอันมาก ทรงตระเตรียมสถานที่ประทับนั่ง อา-
ราธนาให้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนบัลลังก์อันล้ำค่า ได้ถวาย
มหาทานแด่ภิกษุสงฆ์ อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ทรงทำภัตรกิจเสร็จทรงดำริว่า ถ้าเราจักแสดงธรรม แก่พวก
มนุษย์นี้ ในที่นี้ไซร้ สถานนี้คับแคบ พวกมนุษย์ จักไม่มีโอกาส
จะยืนจะนั่ง แต่สมาคมใหญ่แล พึงมีได้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าไม่ทรงทำภัตตานุโมทนา แก่พวกราชตระกูลเลย ทรงถือบาตร
เสด็จออกจากพระนครไป.